พจนานุกรมไทย?
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวมคำศัพท์ภาษาไทย จาก พจนานุกรมไทย ที่ใช้บ่อย 200 คำ
- กงเกวียนกำเกวียน
หมายถึง (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน. - กระต่ายตื่นตูม
หมายถึง (สํา) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสํารวจให้ถ่องแท้ก่อน. - กระเหี้ยนกระหือรือ
หมายถึง ก. แสดงความกระตือรือล้นเอาจริงเอาจังอย่างออกนอกหน้า. - กระแนะกระแหน
หมายถึง [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า. - กลับกลอก
หมายถึง ก. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดจากลับกลอก, กลอกกลับ ก็ว่า. - กะ,กะ-
หมายถึง พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคําหน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. - การันต์
หมายถึง [การัน] น. “ที่สุดอักษร”, ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกํากับไว้ เช่นตัว “ต์” ในคําว่า “การันต์”, (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์. - กาสร
หมายถึง [-สอน] (แบบ) น. ควาย. (ส.). - กำพืด
หมายถึง น. เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, (มักใช้เป็นทํานองหยาม) เช่น รู้กําพืด. - กิตติกรรมประกาศ
หมายถึง น. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements). - กินน้ำไม่เผื่อแล้ง
หมายถึง (สํา) ก. มีอะไรใช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างหน้า. - กินสี่ถ้วย
หมายถึง ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีนํ้ากะทิใส่ชามอยู่กลาง]. - กุรุส
หมายถึง น. มาตรานับจำนวน เท่ากับ ๑๒ โหล หรือ ๑๔๔. (อ. gross). - ขัดเขมร
หมายถึง ก. ถกเขมร เช่น ทะเลาะกูกําหมัดขัดเขมร. (ดึกดําบรรพ์). - ขุนไม่ขึ้น,ขุนไม่เชื่อง
หมายถึง (สํา) ว. เลี้ยงไม่เชื่อง มีแต่เนรคุณ. - คดในข้องอในกระดูก
หมายถึง (สํา) ว. มีสันดานคดโกง. - คนดีผีคุ้ม
หมายถึง (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม. - คางคกขึ้นวอ
หมายถึง (สํา) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว. - คำนำ
หมายถึง น. คําอธิบายหรือชี้แจงเหตุที่เขียนหรือพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นขึ้น. - คำประสม
หมายถึง น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า. - คำพ้องรูป
หมายถึง น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู. - คำพ้องเสียง
หมายถึง น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย, กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์. - คำหลวง
หมายถึง น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง. - คุณค่า
หมายถึง [คุนค่า, คุนนะค่า] น. สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง. - จาบัล,จาบัลย์
หมายถึง [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว). - จูงจมูก
หมายถึง ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดยปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้ความคิดของตน. - ฉีกคำ
หมายถึง ก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์. - ชลนัยน์,ชลนา,ชลเนตร
หมายถึง (กลอน) น. นํ้าตา. - ชลาสินธุ์
หมายถึง น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย). - ดินพอกหางหมู
หมายถึง (สํา) ที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ. - ตรากตรำ
หมายถึง [ตฺรากตฺรํา] ว. ทนทําอย่างไม่คิดถึงความยากลําบาก เช่น ทํางานอย่างตรากตรํา; อย่างสมบุกสมบัน, อย่างไม่ปรานีปราศรัย, เช่น ใช้อย่างตรากตรํา. - ตามใจปากมากหนี้
หมายถึง (สํา) ก. เห็นแก่กินย่อมสิ้นเปลืองมาก. - ตีวัวกระทบคราด
หมายถึง (สํา) ก. โกรธคนหนึ่งแต่ทําอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไปรังควานอีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและตนสามารถทําได้. - ตีสองหน้า
หมายถึง ก. ทําให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดว่าเป็นพวกตน. - ถอดความ
หมายถึง ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น. - ทศกัณฐ์
หมายถึง น. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์. - ทำคุณบูชาโทษ
หมายถึง (สํา) ก. ทําคุณแต่กลับเป็นโทษ, ทําดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป. - ทินกร
หมายถึง [ทินนะกอน] น. พระอาทิตย์. (ป., ส.). - ทุรกันดาร
หมายถึง ว. ที่ไปมาลําบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ. - ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย
หมายถึง (ราชา) ก. ถวาย (ใช้แก่ของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), ในการเขียนใช้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย หรือ ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้. - นฤคหิต
หมายถึง [นะรึคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ส. นิคฺฤหีต; ป. นิคฺคหีต). (ดู นิคหิต). - นักษัตร,นักษัตร,นักษัตร-
หมายถึง [นักสัด, นักสัดตฺระ-] น. ดาว, ดาวฤกษ์ (ส.; ป. นกฺขตฺต). - นาคี
หมายถึง (กลอน) น. งู เช่น นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย. (โลกนิติ). - น้ำขุ่นไว้ใน น้ำใสไว้นอก
หมายถึง (สํา) แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม. - น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง
หมายถึง (สํา) ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย. - บรรณานุกรม
หมายถึง [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ. - บรรลัย
หมายถึง [บันไล] ก. ฉิบหาย, วอดวาย, ย่อยยับ, มอดม้วย, ประลัย ก็ว่า. - บราลี
หมายถึง [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด. - บริบท
หมายถึง [บอริบด] (ไว) น. คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า. - บาทบงสุ์
หมายถึง [บาดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป. ปาทปํสุ). - บิตุรงค์
หมายถึง (กลอน) น. พ่อ. (ป. ปิตุ + องฺค). - บิตุเรศ
หมายถึง (กลอน) น. พ่อ. - บุษบง
หมายถึง [บุดสะ-] (กลอน) น. ดอกไม้. - ประดิษฐาน
หมายถึง [ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺาน; ป. ปติฏฺาน). - ปรารภ
หมายถึง [ปฺรารบ] ก. กล่าวถึง; ตั้งต้น; ดําริ. (ส.). - ปริศนาอักษรไขว้
หมายถึง น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคําลงในตารางสี่เหลี่ยมที่กําหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนวยืนและแนวนอน. - ปฤษฎางค์
หมายถึง [ปฺริดสะดาง] น. อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระปฤษฎางค์, พระขนอง ก็ว่า. - ปากปราศรัยใจเชือดคอ
หมายถึง (สํา) ก. พูดดีแต่ใจคิดร้าย. - ปากว่าตาขยิบ
หมายถึง (สํา) ก. พูดอย่างหนึ่แต่ทําอีกอย่างหนึ่ง. ว. ปากกับใจไม่ตรงกัน. - ปากไม่มีหูรูด
หมายถึง ว. ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด. - ผมทรงมหาดไทย,ผมมหาดไทย
หมายถึง (โบ) น. ทรงผมผู้ชายที่โกนรอบศีรษะ แต่ไว้ยาวตรงกลางกระหม่อม แล้วหวีแต่งเรือนผมตามแต่จะเห็นงาม, ผมหลักแจว ก็ว่า. - ฝนตกขี้หมูไหล
หมายถึง (สํา) ก. พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน, มักใช้เข้าคู่กับ คนจัญไรมาพบกัน ว่า ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน. - พจนารถ
หมายถึง [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.). - พจมาน
หมายถึง [พดจะมาน] น. คําพูด. - พฤตินัย
หมายถึง (กฎ) น. ความหมายตามข้อเท็จจริง (ล. de facto), ต่างกับ นิตินัย คือ ความหมายตามกฎหมาย (ล. de jure). - พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ
หมายถึง (สํา) ก. อาศัยผู้อื่นมักไม่สะดวก, ยืมจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า. - พืชชั้นสูง
หมายถึง น. พืชหลายเซลล์ แต่ละเซลล์ทําหน้าที่ต่างกันและต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ ไม้ดอกและไม้ผล เช่น กล้วยตานี มะม่วง. - พูดดีเป็นศรีแก่ปาก
หมายถึง (สํา) น. พูดดีเป็นที่นิยมชมชอบ. - พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
หมายถึง (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า. - ภาษาคำโดด
หมายถึง น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language). - ภาษาปาก
หมายถึง น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า. - ภาษาระดับทางการ
หมายถึง น. ภาษาราชการ. - ภาษาระดับพิธีการ
หมายถึง น. ภาษาแบบแผน. - ภาษาราชการ
หมายถึง น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ. - ภาษาแบบแผน
หมายถึง น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก. - ภิรมย์
หมายถึง ดู อภิรมย์. - มณโฑ
หมายถึง มเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา - มฤค,มฤค-
หมายถึง [มะรึก, มะรึกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค). - มะเหงก
หมายถึง [-เหฺงก] น. ด้านหลังของข้อนิ้วมือที่งอเข้าด้วยกัน ใช้สําหรับเขกหรือชูให้ประกอบคํากล่าวแสดงความโกรธเป็นต้น เช่น ใช้มะเหงกเขกหัว ให้มะเหงก. - มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ,มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ
หมายถึง (สํา) ก. ไม่ช่วยทําแล้วยังขัดขวางการทํางานของผู้อื่น. - ยกตนข่มท่าน
หมายถึง (สํา) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า. - ยุให้รำตำให้รั่ว
หมายถึง (สํา) ก. ยุให้แตกกัน, ยุให้ผิดใจกัน. - รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
หมายถึง (สํา) ก. ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลําบาก. - รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
หมายถึง (สํา) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, ยาวบั่น สั้นต่อ ก็ว่า. - รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
หมายถึง (สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รําชั่วโทษพากย์ ก็ว่า. - รู้จักเก็บรู้จักงำ
หมายถึง (สํา) ก. รู้จักเก็บรักษาข้าวของ. - รู้จักเก็บรู้จักเขี่ย
หมายถึง (สํา) ก. รู้จักสะสม, รู้จักหา. - รู้แล้วรู้รอด
หมายถึง ก. เสร็จสิ้นกันที เช่น เรื่องนี้จะว่าอย่างไรก็ว่ากัน จะได้รู้แล้วรู้รอดไปเสียที. - ฤทธา
หมายถึง [ริด-] น. อํานาจศักดิ์สิทธิ์ เช่น รุ่งเรืองฤทธาศักดาเดช. (อิเหนา). (ส.; ป. อิทฺธา). - ลิงได้แก้ว
หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่, วานรได้แก้ว ก็ว่า. - ลิ้นไม่มีกระดูก
หมายถึง (สํา) ก. พูดสับปลับ กลับกลอกเอาแน่ไม่ได้. - วงเล็บปีกกา
หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x - 5{7 - (x - 6) + 3x} - 28 = 39. - วร,วร-
หมายถึง [วะระ-, วอระ-] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.). - วัชร,วัชร-,วัชระ
หมายถึง [วัดชะระ-] น. วชิระ. (ส. วชฺร; ป. วชิร). - วัวสันหลังหวะ
หมายถึง น. คนที่มีความผิดติดตัวทําให้คอยหวาดระแวง, วัวสันหลังขาด ก็ว่า. - ศฤงคาร
หมายถึง [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่). - ศฤงคารรส
หมายถึง [สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของวรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมีเนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส. - ศัพท์บัญญัติ
หมายถึง น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ. - ศิษย์คิดล้างครู
หมายถึง (สำ) น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้างครูบาอาจารย์. - สถุล
หมายถึง [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล). - สนอม
หมายถึง [สะหฺนอม] ก. ถนอม. - สนับเพลา
หมายถึง [-เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้วนุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา. - สมุหกลาโหม,สมุหพระกลาโหม
หมายถึง น. ตําแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารครั้งโบราณ. - สมุหนาม
หมายถึง (ไว) น. คํานามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก. - สมเพช
หมายถึง [-เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถาแล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช). - สรวล
หมายถึง [สวน] ก. หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล. - สวยแต่รูป จูบไม่หอม
หมายถึง (สํา) ว. มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าทีวาจา และกิริยามารยาทไม่ดี. - สวรรค์ในอก นรกในใจ,สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ
หมายถึง (สํา) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง. - สัญประกาศ
หมายถึง [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ - ใช้ขีดไว้ใต้คําหรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก. - สัมปรายภพ,สัมปรายิกภพ
หมายถึง [-ปะรายะ-, -ปะราย-, -ปะรายิกะ-] น. ภพหน้า. (ป., ส.). - สัมผัสสระ
หมายถึง น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น . (เพลงยาวถวายโอวาท), . (นิ. วัดสิงห์). - สาวิตรี
หมายถึง [-วิดตฺรี] น. คําสดุดีพระอาทิตย์บทหนึ่งในฤคเวท. (ส.). - สาวแก่
หมายถึง น. หญิงที่มีอายุเลยวัยสาว แต่ยังไม่ได้แต่งงาน. - สำรวจ
หมายถึง [สำหฺรวด] ก. ตรวจสอบ เช่น สํารวจสํามะโนครัว สำรวจพฤติกรรม, ตรวจหา เช่น สํารวจแหล่งแร่. - สิงขร
หมายถึง [-ขอน] น. สิขร. - สิงสู่
หมายถึง (ปาก) ก. อยู่, มาอาศัยอยู่, เช่น โรงเรียนปิดเทอมแล้วไม่ยอมกลับบ้าน มัวสิงสู่อยู่ที่หอพัก, สิง ก็ว่า. - สิทธิชัย
หมายถึง น. ผู้มีความรู้ขลังในเวทมนตร์; ใช้เรียกหัวหน้าพราหมณ์พฤฒิบาศ. - สินธุ์
หมายถึง (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี. - สินธู
หมายถึง (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น มังกรเกี่ยวเลี้ยวล่องท้องสินธู เป็นคู่คู่เคียงมาในวารี. (อภัย), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธุ์ ก็มี. - สีซอให้ควายฟัง
หมายถึง (สํา) ก. สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า. - สีหนาท
หมายถึง น. สิงหนาท. - สุคติ
หมายถึง [สุคะติ, สุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความสุขความสบาย, สวรรค์, เช่น ขอให้วิญญาณไปสู่สุคติ. (ป., ส.). - สุนทรพจน์
หมายถึง [สุนทอนระ-, สุนทอระ-] น. คําพูดที่ประธานหรือบุคคลสําคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสําคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ. - สุร, สุร-, สุร-
หมายถึง [-ระ-] น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; พระอาทิตย์. ว. กล้าหาญ, เข้มแข็ง. (ป. สูร; ส. ศูร). - สูจิบัตร
หมายถึง น. ใบแจ้งกำหนดการต่าง ๆ ในการประชุม การแสดงมหรสพเป็นต้น เช่น สูจิบัตรการแสดงวิพิธทัศนา. - หน้าซื่อใจคด
หมายถึง (สํา) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง. - หน้าตัวเมีย
หมายถึง น. ลักษณะหน้าตาท่าทางคล้ายผู้หญิง, โดยปริยายหมายความว่า ใจเสาะ, ขี้ขลาด, ไม่กล้าสู้, (มักพูดเป็นเชิงเหยียดหยามผู้ชาย). - หน้าไหว้หลังหลอก
หมายถึง (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า. - หมากัดอย่ากัดตอบ
หมายถึง (สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า. - หยาดน้ำค้าง
หมายถึง น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ นฤคหิต ก็เรียก. (ดู นิคหิต); ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, เม็ดน้ำค้าง ก็เรียก. - หลงจู๊
หมายถึง น. ผู้จัดการ. (จ.). - หัวล้านได้หวี
หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ ตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. - หัวหน่าว
หมายถึง น. ส่วนของร่างกายอยู่ระหว่างท้องน้อยกับอวัยวะสืบพันธุ์. - หายน,หายนะ
หมายถึง [หายะนะ, หายยะนะ] น. ความเสื่อม, ความเสียหาย, ความฉิบหาย. (ป.). - หึ,หึ ๆ
หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้น. - อภินันทนาการ
หมายถึง น. ความยินดียิ่ง เช่น ด้วยอภินันทนาการ หมายถึง ให้ด้วยความยินดียิ่ง. (ป. อภินนฺทน + อาการ). - อร
หมายถึง [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ). - อสุรา,อสุรี,อสุเรศ
หมายถึง (กลอน) น. อสูร, ยักษ์. (ป.). - อักษรกลาง
หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ. - อัชฌาสัย
หมายถึง [-ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย). - อัญประกาศ
หมายถึง [อันยะ-] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ “ ” สําหรับเขียนคร่อมคําหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้นให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น. - อัญประกาศเดี่ยว
หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ‘ ’ สําหรับเขียนคร่อมคําหรือข้อความที่ซ้อนอยู่ภายในข้อความที่มีเครื่องหมายอัญประกาศอยู่แล้ว. - อัพภาส
หมายถึง [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส). - อาการนาม
หมายถึง [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยาหรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา “การ” หรือ “ความ” นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย. - อาสัญ
หมายถึง (แบบ) น. ความตาย. (วรรณ) ก. ตาย เช่น โทษลูกนี้ผิดเป็นนักหนา ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ. (สังข์ทอง). (ป. อสญฺ ว่า ไม่มีสัญญา). - อุปมาอุปไมย
หมายถึง [อุปะมาอุปะไม, อุบปะมาอุบปะไม] น. การเปรียบเทียบกัน. - อุปมาโวหาร
หมายถึง น. สํานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ. - เก็บหอมรอมริบ
หมายถึง ก. เก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กละน้อย. - เขมา
หมายถึง [ขะเหฺมา] น. โกฐเขมา. (ดู โกฐเขมา). (ข. เขฺมา ว่า ดํา). - เข็นครกขึ้นเขา
หมายถึง (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน. - เข้าลิลิต
หมายถึง ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” - เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
หมายถึง (สํา) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. - เงี่ยน
หมายถึง ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ). - เซ็งแซ่
หมายถึง ว. ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด. - เฌอเอม
หมายถึง น. ชะเอม. - เทวษ
หมายถึง [ทะเวด] น. การครํ่าครวญ, ความลําบาก. (ส.). - เทศนาโวหาร
หมายถึง น. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนาของพระ. - เทอญ
หมายถึง [เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคําลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร). - เปรมปรีดิ์
หมายถึง [-ปฺรี] ว. อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ. - เพลา
หมายถึง [เพฺลา] น. ชื่อกระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่นใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ เรียกว่า กระดาษเพลา. - เพลา
หมายถึง [เพฺลา] น. ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา, ราชาศัพท์ว่า พระเพลา. (ข. เภฺลา). - เพลา
หมายถึง [เพฺลา] น. แกนสําหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน, โดยปริยายหมายถึงแกนสําหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน; ไม้สําหรับขึงใบเรือ. - เพลา
หมายถึง [เพ-ลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา). - เมฆา,เมฆินทร์,เมฆี
หมายถึง (กลอน) น. เมฆ. - เยี่ยมเยียน,เยี่ยมเยือน
หมายถึง ก. ไปมาหาสู่ถามข่าวคราว. - เรี่ยมเร้,เรี่ยมเร้เรไร
หมายถึง (ปาก) ว. เรี่ยมมาก. - เลี้ยงเสียข้าวสุก
หมายถึง ก. เลี้ยงแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร. - เลี้ยงไม่เชื่อง
หมายถึง ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอามาเลี้ยงอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ. - เสนี
หมายถึง (กลอน) น. เสนา. - เสมา
หมายถึง [เส-มา] น. สีมา, เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์; เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกําแพงอย่างกําแพงเมืองว่า ใบเสมา; เครื่องประดับหรือเครื่องรางสําหรับห้อยคอ มีรูปร่างอย่างใบเสมา. (ป., ส. สีมา). - เสมา
หมายถึง [สะเหฺมา] น. หญ้า. (ข. เสฺมา). - เสล,เสล-,เสลา,เสลา
หมายถึง [-ละ-, -ลา] น. ภูเขา, หิน. ว. เต็มไปด้วยหิน. (ป.; ส. ไศล). - เสสรวล
หมายถึง [-สวน] ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, สรวลเสหรือ สรวลเสเฮฮา ก็ว่า. - เสสรวล
หมายถึง [-สวน] ก. หัวเราะเล่น. - เสียงนกเสียงกา
หมายถึง (สำ) น. ความเห็นของคนที่ไม่มีอำนาจ เช่น เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ น่าจะฟังเสียงนกเสียงกาบ้าง. - เสือก
หมายถึง ก. ไสไป, ผลักไป; สาระแน, (เป็นคำไม่สุภาพ). - เหน็บแนม
หมายถึง ว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้กระทบกระเทียบเปรียบเปรย. - เหล้าแห้ง
หมายถึง (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็นยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียมเซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็นยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น. - เห็นช้างเท่าหมู
หมายถึง (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจมากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว. - เอาลูกเขามาเลี้ยงเอาเมี่ยงเขามาอม
หมายถึง (สำ) ก. เอาลูกของคนอื่นมาเลี้ยงเป็นลูก เป็นภาระรับผิดชอบที่หวังผลตอบแทนแน่นอนไม่ได้. - แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้
หมายถึง (สำ) ก. รู้ประมาณความสามารถของตนไม่อาจเอื้อมเกินตัว. - แคลเซียมคาร์ไบด์
หมายถึง น. ชื่อสารประกอบ มีสูตรเคมี CaC2 ลักษณะเป็นของแข็งสีเทา เมื่อทําปฏิกิริยากับนํ้าจะได้แก๊สอะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติดให้ความสว่าง ใช้เป็นตะเกียงได้. (อ. calcium carbide). - แดนไตร
หมายถึง น. โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภพ คือภพของเทวดาลงมา, รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป; หรือ สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล. - แตด
หมายถึง น. ส่วนแห่งอวัยวะเพศของหญิง อยู่ระหว่างแคมในตอนบน, เม็ดละมุด ก็ว่า. - แปรพระราชฐาน
หมายถึง [-พฺระราดชะถาน] (ราชา) ก. เปลี่ยนสถานที่ประทับไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว. - แผลริมแข็ง
หมายถึง น. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคซิฟิลิส จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อนแล้วแตกเป็นแผล ลักษณะก้นแผลเรียบ ขอบนูนแข็ง แผลมักสะอาด ไม่รู้สึกเจ็บ. - แรงหนีศูนย์กลาง
หมายถึง (ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทําต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศออกจากจุดศูนย์กลางของทางวงกลมนั้น และมีขนาดเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง. (อ. centrifugal force). - แสล้ม
หมายถึง [สะแล่ม] ว. สวย, งดงาม, แช่มช้อย, แฉล้ม หรือ แชล่ม ก็ใช้. - โขยกเขยก
หมายถึง ว. อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, กะโผลกกะเผลก ก็ว่า. - โตมร,โตมร-
หมายถึง [-มอน, โตมะระ-] น. อาวุธสําหรับซัด, หอกซัด, สามง่ามที่มีปลอกรูปเป็นใบโพสวมอยู่. (ป., ส.). - โศกเศร้า
หมายถึง ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มาก เช่น พ่อตายทำให้เขาโศกเศร้าเสียใจมาก, เศร้าโศก ก็ว่า. - โสน
หมายถึง [สะโหฺน] ดู ด้วงโสน. - โอดครวญ
หมายถึง ก. รํ่าไห้, ครํ่าครวญ; รํ่ารําพัน. - ใกล้เกลือกินด่าง
หมายถึง (สํา) ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี. - ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
หมายถึง ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับพระเจ้าแผ่นดินและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. - ไซร้
หมายถึง [ไซ้] ว. คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว. - ได้คืบจะเอาศอก
หมายถึง (สำ) ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว. - ไพรสณฑ์,ไพรสัณฑ์,ไพรสาณฑ์
หมายถึง น. แนวป่า. - ไม้จัตวา
หมายถึง น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ๋ บอกเสียงสูงสุดใน ๕ เสียง. - ไอยรา
หมายถึง [-ยะ-] (กลอน) น. ช้าง.
รวม 50 คำในภาษาไทยที่ใช้บ่อย ๆ
กระแนะกระแหน
หมายถึง [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า.
กินสี่ถ้วย
หมายถึง ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีนํ้ากะทิใส่ชามอยู่กลาง].
คนดีผีคุ้ม
หมายถึง (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
คำพ้องรูป
หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
คำพ้องเสียง
หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์
คุณค่า
หมายถึง [คุนค่า, คุนนะค่า] น. สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง.
ชลาสินธุ์
หมายถึง น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
นฤคหิต
หมายถึง [นะรึคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ส. นิคฺฤหีต; ป. นิคฺคหีต). (ดู นิคหิต).
บราลี
หมายถึง [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด.
บิตุรงค์
หมายถึง (กลอน) น. พ่อ. (ป. ปิตุ + องฺค).
บุคลากร
หมายถึง [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน.
ปฤษฎางค์
หมายถึง [ปฺริดสะดาง] น. อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระปฤษฎางค์, พระขนอง ก็ว่า.
พจนารถ
หมายถึง [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.).
พจมาน
หมายถึง [พดจะมาน] น. คําพูด.
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
หมายถึง (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
ภาษาคำโดด
หมายถึง น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
ภาษาระดับทางการ
หมายถึง น. ภาษาราชการ
ภาษาแบบแผน
หมายถึง น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
ภิรมย์
หมายถึง ดู อภิรมย์.
มณโฑ
หมายถึง มเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา
ตัวอย่าง นางมณโฑ
มฤค
หมายถึง [มะรึก] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).
รู้จักเก็บรู้จักเขี่ย
หมายถึง (สํา) ก. รู้จักสะสม, รู้จักหา.
สถุล
หมายถึง [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล).
สัมปรายภพ
หมายถึง [-ปะรายะ-, -ปะราย-] น. ภพหน้า. (ป., ส.).
สิงขร
หมายถึง [-ขอน] น. สิขร
สิทธัตถะ
หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว
ตัวอย่าง พระพุทธเจ้ามีพระนามว่า สิทธัตถะ
สินธุ์
หมายถึง (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี.
สีซอให้ควายฟัง
หมายถึง (สํา) ก. สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า.
สูจิบัตร
หมายถึง น. ใบแจ้งกำหนดการต่าง ๆ ในการประชุม การแสดงมหรสพเป็นต้น เช่น สูจิบัตรการแสดงวิพิธทัศนา.
หน้าไหว้หลังหลอก
หมายถึง (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า.
หมากัดอย่ากัดตอบ
หมายถึง (สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า.
หัวล้านได้หวี
หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ ตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น.
อนธการ
หมายถึง น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อันธการ ก็ว่า. (ป.).
อร
หมายถึง [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
อักษรกลาง
หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
อัชฌาสัย
หมายถึง [-ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย).
เข็นครกขึ้นเขา
หมายถึง (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
หมายถึง (สํา) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน.
เค้ง
หมายถึง (ปาก) ก. เป็นคําบอกเด็กให้นอน เช่น เค้งเสีย, เคล้ง ก็ว่า.
เงี่ยน
หมายถึง ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ).
เซ็งแซ่
หมายถึง ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด
เปรมปรีดิ์
หมายถึง [-ปฺรี] ว. อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ.
เพลา
หมายถึง [เพ-ลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา).
เสมา
หมายถึง [เส-มา] น. สีมา, เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์; เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกําแพงอย่างกําแพงเมืองว่า ใบเสมา; เครื่องประดับหรือเครื่องรางสําหรับห้อยคอ มีรูปร่างอย่างใบเสมา. (ป., ส. สีมา).
เสียงนกเสียงกา
หมายถึง (สำ) น. ความเห็นของคนที่ไม่มีอำนาจ เช่น เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ น่าจะฟังเสียงนกเสียงกาบ้าง.
เหล้าแห้ง
หมายถึง (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็นยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียมเซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็นยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น.
โขยกเขยก
หมายถึง อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน อาการที่เดินไปด้วยความลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ กะโผลกกะเผลก ก็ว่า
ตัวอย่าง เจ็บขา เลยเดินโขยกเขยก
โอดครวญ
หมายถึง ก. รํ่าไห้, ครํ่าครวญ; รํ่ารําพัน.
ไซร้
หมายถึง [ไซ้] ว. คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว.
ได้คืบจะเอาศอก
หมายถึง (สำ) ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว.
คำศัพท์ในภาษาไทยมีมากเลย เรามาลองศึกษากันให้ถ่องแท้ถึงความหมายที่นิยามไว้กันดู