คำในภาษาไทย หมวด ก

คำในภาษาไทย หมวด ก ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ก

คำในภาษาไทย หมวด ก ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวต้น เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก.
  2. ก กา
    หมายถึง น. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกดว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา.
  3. ก ข
    หมายถึง [โบ อ่านว่า กอข้อ] น. พยัญชนะแต่ ก ถึง ฮ.
  4. ก ข ไม่กระดิกหู
    หมายถึง [โบ อ่านว่า กอข้อ-] (สำ) น. ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้.
  5. ก หัน
    หมายถึง น. อักษร ก คู่ ในหนังสือโบราณใช้แทนไม้หันอากาศตัวหนึ่ง เป็นตัวสะกดตัวหนึ่ง เช่น จกก = จัก หลกก = หลัก.
  6. กก
    หมายถึง น. ซอกด้านในหรือซอกด้านหลังของบานประตูหรือหน้าต่าง, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานประตู เรียกว่า กกประตู, ถ้าเป็นด้านหลังของแผ่นบานหน้าต่าง เรียกว่า กกหน้าต่าง.
  7. กก
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. ตัด, บั่น, เช่น กกกิ่ง กกยอด.
  8. กก
    หมายถึง น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกดว่า แม่กก หรือ มาตรากก.
  9. กก
    หมายถึง น. โคน เช่น กกไม้, ต้น เช่น กกขา, ลำต้น เช่น กกเสา.
  10. กก
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae เกิดในที่ชุ่มแฉะ ชนิดลำต้นกลมใช้ทอหรือสานเสื่อ เรียกว่า กกกลม หรือ กกเสื่อ (Cyperus corymbosus Rottb., C. tegetiformis Roxb.) ที่ลำต้นเป็นสามเหลี่ยม เช่น กกลังกา (C. alternifolius L.) กกสามเหลี่ยม [Schoenoplectus grossus (L.f.) Palla] กกขนาก หรือ กกกระหนาก (C. difformis L.).
  11. กก
    หมายถึง ดู กะวะ
  12. กก
    หมายถึง ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้.
  13. กกขนาก
    หมายถึง ดู กก
  14. กกช้าง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Typha angustifolia L. ในวงศ์ Typhaceae ขึ้นในนํ้า ช่อดอกคล้ายธูปขนาดใหญ่, กกธูป ธูปฤๅษี ปรือ หรือ เฟื้อ ก็เรียก.
  15. กกธูป
    หมายถึง ดู กกช้าง
  16. กกหู
    หมายถึง น. บริเวณหลังใบหู.
  17. กกุธภัณฑ์
    หมายถึง [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดีตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
  18. กง
    หมายถึง น. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ (เทียบมลายู กง, ตะเลง กง, ในความเดียวกัน); ไม้สำหรับดีดฝ้ายมีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่า ไม้กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง; พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ เรียกว่า เสลี่ยงกง.
  19. กง
    หมายถึง น. ปลามังกง. (ประถม ก กา ในจินดามณี).
  20. กง
    หมายถึง น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือ ไร่ที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้).
  21. กง
    หมายถึง ดู จงโคร่ง, โจงโคร่ง
  22. กง
    หมายถึง น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด ว่า แม่กง หรือ มาตรากง.
  23. กงกอน
    หมายถึง ดู โกงกาง
  24. กงการ
    หมายถึง (ปาก) น. กิจการ, หน้าที่, ธุระ, เช่น กงการอะไรของคุณ ไม่ใช่กงการของฉัน.
  25. กงข้าง
    หมายถึง น. กงที่ตรึงข้างไม่ถึงท้องเรือสลับกับกงวาน. (ตำนานภาษีอากร).
  26. กงค้าง
    หมายถึง น. กงที่ตรึงข้างไม่ถึงท้องเรือสลับกับกงวาน. (ตำนานภาษีอากร).
  27. กงจักร
    หมายถึง น. สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลม มีริมเป็นแฉก ๆ โดยรอบ.
  28. กงฉาก
    หมายถึง น. เครื่องยึดมุมฉาก.
  29. กงพัด
    หมายถึง น. กงสำหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่งเป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สำหรับพัดด้าย.
  30. กงพัด
    หมายถึง น. ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน ปลายทั้ง ๒ ยื่นออกมาวางอยู่บนหมอน (ซึ่งเรียกว่า งัว) ข้างละต้น, หรือถ้าไม่เจาะรู ก็ใช้เป็น ๒ อัน ตีขวางขนาบโคนเสาข้างละอันวางอยู่บนหมอนเหมือนกัน เพื่อกันทรุด.
  31. กงวาน
    หมายถึง น. กงที่มีรูสำหรับนํ้าเดินที่ท้องเรือ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  32. กงสี
    หมายถึง น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสำหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททำการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
  33. กงสุล
    หมายถึง (กฎ) น. ชื่อตำแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประจำอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมืองต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุลมี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้งซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทนฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงานฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  34. กงเกวียน
    หมายถึง น. ล้อเกวียน.
  35. กงเกวียนกำเกวียน
    หมายถึง (สำ) ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียน.
  36. กงเต๊ก
    หมายถึง น. การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น. (จ.).
  37. กงเวียน
    หมายถึง (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  38. กงโก้
    หมายถึง (ปาก) ว. โก่ง ๆ โค้ง ๆ เช่น ยืนกงโก้, หลังโกงไม่น่าดู เช่น ผอมกงโก้; เกะกะไม่เรียบร้อย เช่น กงโก้กงกก, โกงโก้ ก็ว่า.
  39. กงไฉ่
    หมายถึง น. ผักกาดเค็มชนิดหนึ่งของจีน. (จ. ก้งไฉ่ ว่า ผักดองเค็ม).
  40. กช-
    หมายถึง [กดชะ-] (กลอน; ตัดมาจาก บงกช) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคำ กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล. (อิเหนาคำฉันท์). (ป. ปงฺกช).
  41. กช
    หมายถึง [กด] (กลอน; ตัดมาจาก บงกช) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคำ กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล. (อิเหนาคำฉันท์). (ป. ปงฺกช).
  42. กชกร
    หมายถึง [กดชะกอน] (กลอน) น. “ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น กชกรต่างแต่งตั้ง ศิรสา. (หริภุญชัย).
  43. กฎ
    หมายถึง [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
  44. กฎกระทรวง
    หมายถึง (กฎ) น. บทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี.
  45. กฎข้อบังคับ
    หมายถึง (กฎ) น. บทบัญญัติที่เป็นชั้นข้อบังคับซึ่งกำหนดขึ้นไว้เป็นระเบียบในการปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย, ปัจจุบันนิยมใช้ว่า ข้อบังคับ.
  46. กฎทบวง
    หมายถึง (กฎ) น. ข้อบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเช่นเดียวกับกฎกระทรวง.
  47. กฎธรรมชาติ
    หมายถึง น. กฎในเรื่องธรรมชาติ.
  48. กฎธรรมดา
    หมายถึง น. ข้อกำหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดาวิสัยของมนุษย์และสังคม.
  49. กฎบัตร
    หมายถึง (กฎ) น. ตราสารที่จัดตั้ง จัดระเบียบ และกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์การ.
  50. กฎบัตรกฎหมาย
    หมายถึง (ปาก) น. กระบวนกฎหมาย, เชิงกฎหมาย.
  51. กฎบัตรสหประชาชาติ
    หมายถึง น. ตราสารที่สถาปนาและจัดระเบียบองค์การระหว่างประเทศที่เรียกว่า องค์การสหประชาชาติ.
  52. กฎมณเฑียรบาล
    หมายถึง (โบ) น. กฎมนเทียรบาล.
  53. กฎมณเทียรบาล
    หมายถึง (โบ) น. กฎมนเทียรบาล.
  54. กฎมนเทียรบาล
    หมายถึง (กฎ) น. ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบการปกครองในราชสำนัก, โบราณใช้ว่า กฎมณเฑียรบาล หรือ กฎมณเทียรบาล ก็มี.
  55. กฎยุทธวินัย
    หมายถึง (กฎ; เลิก) น. ชื่อย่อของกฎว่าด้วยยุทธวินัยและการลงอาญาทหารบกฐานละเมิดยุทธวินัย.
  56. กฎศีลธรรม
    หมายถึง น. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องทางศีลธรรม.
  57. กฎหมาย
    หมายถึง (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทำหนังสือเป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกำหนดเก่า); ออกหมายกำหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่ว จะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ. (พระราชกำหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้งกรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กำหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  58. กฎหมายนานาประเทศ
    หมายถึง (กฎ; โบ) น. ชื่อเดิมของกฎหมายระหว่างประเทศ. (ดู กฎหมายระหว่างประเทศ)
  59. กฎหมายปกครอง
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะรวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน. (อ. administrative law).
  60. กฎหมายปิดปาก
    หมายถึง (กฎ) น. หลักกฎหมายที่ไม่ยอมให้อ้างหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามพฤติการณ์ ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม. (อ. estoppel).
  61. กฎหมายพาณิชย์
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ ตั๋วเงิน หุ้นส่วน บริษัท. (อ. commercial law).
  62. กฎหมายมหาชน
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ในดินแดนของรัฐนั้น เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา. (อ. public law).
  63. กฎหมายระหว่างประเทศ
    หมายถึง (กฎ) น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ, เดิมเรียกว่า กฎหมายนานาประเทศ. (อ. international law).
  64. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย. (อ. constitutional law).
  65. กฎหมายอาญา
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น. (อ. criminal law).
  66. กฎหมายเหตุ
    หมายถึง น. จดหมายเหตุ. (พงศ. ประเสริฐ); (กฎ; โบ) กฎเกณฑ์การปฏิบัติที่ตราขึ้นหรือเนื่องจากประเพณีซึ่งมีค่าบังคับ.
  67. กฎหมายเอกชน
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
  68. กฎหมายแพ่ง
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
  69. กฎหมู่
    หมายถึง น. อำนาจกดดันที่บุคคลจำนวนมากนำมาใช้บีบบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำหรือเว้นกระทำสิ่งที่บุคคลจำนวนนั้นต้องการ (มักไม่เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย).
  70. กฎอัยการศึก
    หมายถึง (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
  71. กฎเกณฑ์
    หมายถึง น. ข้อกำหนดที่วางไว้เป็นหลัก, หลักเกณฑ์.
  72. กฎเสนาบดี
    หมายถึง (เลิก) ดู กฎกระทรวง
  73. กฎแห่งกรรม
    หมายถึง น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรมที่ผู้กระทำจักต้องได้รับ.
  74. กฏิ
    หมายถึง (แบบ) น. สะเอว. (ป.).
  75. กฏุก-
    หมายถึง [กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
  76. กฏุก
    หมายถึง [กะตุก] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
  77. กฏุกผล
    หมายถึง [กะตุกะผน] (แบบ) น. ผลอันเผ็ดร้อน. (ชุมนุมตำรากลอน ปาราชิตฉันท์).
  78. กฐิน-
    หมายถึง [กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  79. กฐิน
    หมายถึง [กะถิน] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  80. กฐินทาน
    หมายถึง [กะถินนะทาน] น. การทอดกฐิน.
  81. กฐินัตถารกรรม
    หมายถึง [กะถินัดถาระกำ] น. การกรานกฐิน. (ป. กิน + อตฺถาร + ส. กรฺม).
  82. กณิกนันต์
    หมายถึง [กะนิกนัน] (แบบ) ว. ละเอียดยิ่ง เช่น ลวดหลายลายกณิกนันต์. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กณิก ว่า น้อย + อนนฺต ว่า ไม่มีที่สุด).
  83. กณิการ์
    หมายถึง น. ไม้กรรณิการ์. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
  84. กด
    หมายถึง ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).
  85. กด
    หมายถึง น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น นกกดอดทนสู้ พบงูเห่าเอาปีกบัง. (ประพาสธารทองแดง).
  86. กด
    หมายถึง น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า แม่กด หรือ มาตรากด.
  87. กด
    หมายถึง น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลานํ้าจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).
  88. กด
    หมายถึง น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๗.
  89. กดขาว
    หมายถึง ดู กดเหลือง
  90. กดขี่
    หมายถึง ก. ข่มให้อยู่ในอำนาจตน, ใช้บังคับเอา, ทำอำนาจเอา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ข่มเหง เป็น กดขี่ข่มเหง.
  91. กดคอ
    หมายถึง (ปาก) ก. บังคับเอา.
  92. กดดัน
    หมายถึง ก. บีบคั้น.
  93. กดน้ำ
    หมายถึง (ปาก) ก. ใช้กำลังกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มิดลงไปในนํ้า ในความว่า จับกดน้ำ จับหัวกดน้ำ.
  94. กดหัว
    หมายถึง (ปาก) ก. ทำให้หือไม่ขึ้น.
  95. กดเหลือง
    หมายถึง น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Mystus nemurus ในวงศ์ Bagriidae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไปแม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก.
  96. กตัญชลี
    หมายถึง [กะตันชะลี] (แบบ) ก. ยกมือไหว้. (ป. กต ว่า อันเขาทำแล้ว + อญฺชลี ว่า กระพุ่มมือ).
  97. กตัญญุตา
    หมายถึง [กะตัน-] น. ความกตัญญู, ความเป็นผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ความเป็นผู้รู้คุณท่าน. (ป.).
  98. กตัญญู
    หมายถึง [กะตัน-] น. (ผู้) รู้อุปการะที่ท่านทำให้, (ผู้) รู้คุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้].
  99. กตาธิการ
    หมายถึง [กะตาทิกาน] (แบบ) น. อธิการ (บารมีอันยิ่ง) ที่ทำไว้. ว. มีอธิการที่ทำไว้, มีบารมีที่สั่งสมไว้. (ป. กต ว่า อันเขาทำแล้ว + อธิการ).
  100. กตาภินิหาร
    หมายถึง [กะตาพินิหาน] (แบบ) น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทำไว้. ว. มีอภินิหารที่ทำไว้. (ป. กต ว่า อันเขาทำแล้ว + อภินิหาร).

 แสดงความคิดเห็น