คำในภาษาไทย หมวด ค
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวมคำในภาษาไทย หมวด ค
คำในภาษาไทย หมวด ค ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ค
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค. - คคน,คคน-,คคนะ
หมายถึง [คะคะนะ-] (แบบ) น. ฟ้า. (ป., ส.). - คคนัมพร
หมายถึง [คะคะนำพอน] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + อมฺพร). - คคนางค์
หมายถึง [คะคะนาง] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + องฺค). - คคนานต์
หมายถึง [คะคะนาน] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + อนฺต). - คคเนศวร
หมายถึง ครุฑ, เจ้าแห่งฟ้า, เจ้าแห่งอากาศ - คง
หมายถึง ก. ยังมียังเป็นอยู่อย่างเดิม เช่น คงความเป็นไท; เป็นคำบอกลักษณะคาดคะเน เช่น คงจะเป็นเช่นนั้น คงมาแล้ว. - คงกระพัน,คงกระพันชาตรี
หมายถึง ก. ทนทานต่อศัสตราวุธ. - คงขาด
หมายถึง ว. ยังขาด. - คงคลัง
หมายถึง ว. เรียกเงินที่มีอยู่ในคลังในเวลาใดเวลาหนึ่งว่า เงินคงคลัง. - คงคา
หมายถึง น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจำนํ้า, ชื่อแม่นํ้าสำคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา. - คงคา
หมายถึง น. ชื่อหวายชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนต้นสามสิบ รากเหมือนรากละหุ่ง ใบเหมือนใบละหุ่ง หัวเป็นแง่ง ยางขาวเหมือนนม. (พจน. ๒๔๙๓). - คงคาลัย
หมายถึง (กลอน) น. แม่นํ้า, นํ้า, น่านนํ้า. - คงคาเดือด
หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Arfeuillea arborescens Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มีพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็ก สีม่วงดำ หอมมาก ผลมีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทำยาได้, ราชบุรีเรียก ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก. - คงตัว
หมายถึง ว. ไม่ผันแปร. - คงทน
หมายถึง ว. ยั่งยืน, ถาวร, ทนทาน. - คงที่
หมายถึง ว. ไม่เปลี่ยนแปลง. - คงเส้นคงวา
หมายถึง ว. เสมอต้นเสมอปลาย. - คงเหลือ
หมายถึง ว. ยังเหลือ. - คงแก่เรียน
หมายถึง ว. ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก. - คงไคย
หมายถึง น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีเหมือนสีนํ้าไหล, คังไคย ก็ว่า. (ดู กาฬาวก). (ป. คงฺเคยฺย; ส. คางฺเคย). - คช,คช-
หมายถึง [คดชะ-] (แบบ) น. ช้าง, ช้างพลาย. (ป., ส.). - คชกรรม
หมายถึง น. กิจการในทางปฏิบัติอันเกี่ยวกับช้าง เช่น การขี่ การฟันขอ, ประเภทตำราว่าด้วยทางปฏิบัติอันเกี่ยวกับช้าง. - คชนาม
หมายถึง น. นามราหู, อักษรชื่อที่ขึ้นต้นด้วย ย ร ล ว. - คชราช
หมายถึง [คดชะราด] น. คุดทะราด เช่น ประชวรพระโรคสำหรับบุรุษกลายเป็นพระโรคคชราช. (พงศ. เลขา). - คชลักษณ์
หมายถึง น. รูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว, ประเภทตำราแสดงรูปพรรณสัณฐานของช้างต่าง ๆ ซึ่งดีและชั่ว ถ้าได้ไว้จะให้คุณหรือโทษแก่เจ้าของ. - คชศาสตร์
หมายถึง น. วิชาว่าด้วยช้าง มี ๒ ประเภท คือ คชลักษณ์ และ คชกรรม. - คชสาร
หมายถึง น. ช้าง. - คชสีห์
หมายถึง น. สัตว์ในนิยายมีรูปเหมือนราชสีห์ แต่มีงวงเหมือนช้าง. - คชส่าน
หมายถึง [คดชะ-] น. ชื่อแตงโมพันธุ์หนึ่ง สีเหลือง เนื้อหวาน. - คชาชาติ
หมายถึง น. ช้าง, หมู่ช้าง. - คชาชีพ
หมายถึง น. คนเลี้ยงช้าง, หมอช้าง, ควาญช้าง. (ป. คช + อาชีว). - คชาธาร
หมายถึง น. ช้างทรง, ช้างพระที่นั่ง; เครื่องแต่งหลังช้างชนิดหนึ่ง มี ๓ อย่าง คือ ๑. พระคชาธารเครื่องมั่น สำหรับใช้ในการสงคราม. ๒. พระคชาธารพุดตานทอง สำหรับผูกช้างพระที่นั่งทรงซึ่งใช้ในกระบวนอิสริยยศ. ๓. พระคชาธารกาญจนฉันท์ สำหรับผูกหลังช้างประดิษฐานพระชัยวัฒน์. (ป. คช + อาธาร). - คชาภรณ์
หมายถึง น. เครื่องประดับช้าง. (ป. คช + อาภรณ). - คชินทร์,คเชนทร์
หมายถึง น. พญาช้าง. (ส. คช + อินฺทฺร). - คณ,คณ-,คณะ
หมายถึง [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่าซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรองแต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะ แต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.). - คณนะ,คณนา
หมายถึง [คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.). - คณบดี
หมายถึง [คะนะบอดี] น. หัวหน้าคณะในมหาวิทยาลัยหรือในสถาบันที่เทียบเท่า. (ป., ส. คณ + ปติ). - คณะกรมการจังหวัด
หมายถึง (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดกับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด. - คณะรัฐมนตรี
หมายถึง (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน. - คณะองคมนตรี
หมายถึง (กฎ) น. คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน ๑๘ คน คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ. - คณาจารย์
หมายถึง [คะนาจาน] น. คณะอาจารย์. (ส. คณ + อาจารฺย). - คณาธิการ
หมายถึง น. ผู้มีอำนาจในคณะ, ผู้ปกครองคณะ, เรียกภิกษุผู้ทำหน้าที่ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไปว่า พระคณาธิการ. (ป., ส. คณ + อธิการ). - คณาธิปไตย
หมายถึง [คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจำนวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. (ป. คณ + อธิปเตยฺย). - คณานับ
หมายถึง ก. นับ. - คณานุกรม
หมายถึง น. ฐานานุกรมของเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายพระสงฆ์จีนและพระสงฆ์ญวน. - คณิกา
หมายถึง น. หญิงงามเมือง. (ป., ส.). - คณิต,คณิต-
หมายถึง [คะนิด, คะนิดตะ-] น. การนับ, การคำนวณ, วิชาคำนวณ, มักใช้เป็นคำหลังของวิชาบางประเภท เช่น พีชคณิต เรขาคณิต. - คณิตศาสตร์
หมายถึง [คะนิดตะสาด] น. วิชาว่าด้วยการคำนวณ. (ส. คณิต + ศาสฺตฺร). - คด
หมายถึง น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสัณฐานหักมุมเป็นข้อศอก เช่น วิหารคด. ว. ลักษณะที่ไม่ตรงตลอด; ไม่ซื่อ. - คด
หมายถึง ก. ตักข้าวสุกออกจากหม้อ. - คด
หมายถึง น. วัตถุแข็งคล้ายหินที่มีในสัตว์หรือต้นไม้ นับถือกันว่าเป็นเครื่องราง. - คดกริช
หมายถึง น. ชื่อลายชนิดหนึ่งเป็นเส้นยาวคดไปมาอย่างรูปกริช, พดกริช ก็เรียก. - คดงอ
หมายถึง ก. คดจนงอ. - คดซ่าง
หมายถึง น. โรงขนาดเล็กมียกพื้นข้างใน สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรม อยู่ ๔ มุมเมรุ, คดสร้าง ซ่าง สร้าง ส้าง หรือ สำซ่าง ก็เรียก. - คดสร้าง
หมายถึง น. คดซ่าง. - คดี
หมายถึง [คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคำศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ). - คดีดำ
หมายถึง (กฎ) น. คดีหมายเลขดำ. - คดีมโนสาเร่
หมายถึง (กฎ) น. คดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่าจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมาย. - คดีหมายเลขดำ
หมายถึง (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียนคดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เรียกย่อ ๆ ว่า “คดีดำ” เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีดำที่ ๑/๒๕๔๐. - คดีหมายเลขแดง
หมายถึง (กฎ) น. คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เป็นลำดับไปจนสิ้นปี เรียกย่อ ๆ ว่า “คดีแดง” เช่น คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีแดงที่ ๑/๒๕๔๐. - คดีอนาถา
หมายถึง (กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี. - คดีอาญา
หมายถึง (กฎ) น. คดีที่เกี่ยวกับการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดและมีโทษทางอาญา. - คดีอุทลุม
หมายถึง (กฎ) น. คดีที่บุคคลฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้. - คดีแดง
หมายถึง (กฎ) น. คดีหมายเลขแดง. - คดีแพ่ง
หมายถึง (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน. - คดเคี้ยว
หมายถึง ว. คดไปคดมา, ลดเลี้ยว, วกไปวกมา. - คดโกง
หมายถึง ก. ประพฤติทุจริต, ไม่ซื่อตรง. - คดในข้องอในกระดูก
หมายถึง (สำ) ว. มีสันดานคดโกง. - คต,-คต
หมายถึง [-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.). - คติ
หมายถึง [คะติ] น. การไป; ความเป็นไป. (ป.). - คติ
หมายถึง [คะติ] น. แบบอย่าง, วิธี, แนวทาง. (ป.). - คติชาวบ้าน
หมายถึง น. เรื่องราวของชาวบ้านที่เป็นของเก่าเล่าต่อปากและประพฤติสืบ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคนในรูปคติความเชื่อ ประเพณี นิทาน เพลง ภาษิต ปริศนาคำทาย ศิลปะ สถาปัตยกรรม การละเล่นของเด็ก เป็นต้น, วิชาที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านั้น. - คติธรรม
หมายถึง น. ธรรมที่เป็นแบบอย่าง. - คตินิยม
หมายถึง น. แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกันที่เป็นลักษณะของกลุ่มชน เช่น คตินิยมของกลุ่มวิชาชีพ คตินิยมทางศาสนา คตินิยมทางการเมือง. (อ. ideology). - คติพจน์
หมายถึง น. ถ้อยคำที่เป็นแบบอย่าง. - คติสุขารมณ์
หมายถึง น. ลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิตปัจจุบัน เป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิต. (อ. hedonism). - คทา
หมายถึง [คะทา] (แบบ) น. ตะบอง. (ป.). - คน
หมายถึง ก. กิริยาที่เอามือหรือสิ่งอื่นกวนเพื่อทำสิ่งที่นอนก้นหรือที่เกาะกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อนให้กระจายขยายตัว หรือกวนสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากัน. - คน
หมายถึง น. มนุษย์. - คนกลาง
หมายถึง น. ผู้ถือเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น, ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย, ผู้ทำการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค. - คนงาม
หมายถึง สาวสวย - คนจร
หมายถึง น. คนแปลกหน้า, คนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. - คนจริง
หมายถึง น. ผู้ที่ทำอะไรทำจริงโดยไม่ท้อถอย, คนที่พูดจริงทำจริง. - คนดิบ
หมายถึง น. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ. - คนดี
หมายถึง น. คนที่มีคุณความดี, คนที่มีคุณธรรม. - คนดีผีคุ้ม
หมายถึง (สำ) น. คนทำดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม. - คนต้องขัง
หมายถึง (กฎ) น. บุคคลที่ถูกขังไว้ตามหมายขัง. - คนทรง
หมายถึง น. คนทรงเจ้าและผี. - คนทา
หมายถึง [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ในวงศ์ Simaroubaceae มักขึ้นเป็นหมู่ในป่าโปร่ง สูงได้ถึง ๘ เมตร มีหนามทั่วต้น ใบคล้ายมะขวิดแต่เขื่องกว่า ดอกสีขาว ผลกลมแป้นขนาดราวหัวแม่มือ ทุกส่วนมีรสขม ใช้ทำยาได้ กิ่งใช้ทำไม้สีฟัน, สีฟันคนทา หรือ กะลันทา ก็เรียก, พายัพเรียก จี้ หรือ หนามจี้. - คนทิสอ
หมายถึง ดู คนทีสอ. - คนทิสอทะเล
หมายถึง ดู คนที ๒. - คนที
หมายถึง [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. var. simplicifolia Cham. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามชายทะเล ลำต้นเลื้อย ใบและดอกเหมือนคนทีสอ ใช้แก้พิษแมงกะพรุน, คนทิสอทะเล ก็เรียก. - คนที
หมายถึง [คน-] น. กุณฑี, หม้อนํ้า, หม้อนํ้ามีหู, เต้านํ้า. - คนทีสอ
หมายถึง [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทำยาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย. - คนทีเขมา
หมายถึง [คนทีขะเหฺมา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex negundo L. ในวงศ์ Labiatae คล้ายต้นคนทีสอ แต่ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๕ ใบ และมีขนาดใหญ่กว่า ดอกสีขาว ปลูกไว้ตามบ้าน ใช้ทำยาได้, ปัตตานีเรียก กุโนกามอ. - คนธรรพ-
หมายถึง [คนทันพะ-, คนทับพะ-] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ). - คนธรรพ
หมายถึง [คนทันพะ-, คนทับพะ-] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ). - คนธรรพวิวาห์
หมายถึง [คนทันพะ-] น. การได้เสียเป็นผัวเมียกันเองโดยไม่แต่งงาน. (ส. คนฺธรฺววิวาห). - คนธรรพศาสตร์
หมายถึง [คนทับพะ-] น. วิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺวเวท ว่า วิชาดนตรี).