คำในภาษาไทย หมวด ฆ
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวมคำในภาษาไทย หมวด ฆ
คำในภาษาไทย หมวด ฆ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ฆ
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคำไทยมีบ้างเล็กน้อย คือ ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่. - ฆน
หมายถึง [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคำฉันท์). (ป., ส.). - ฆน-
หมายถึง [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคำฉันท์). (ป., ส.). - ฆนะ
หมายถึง [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับอันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคำฉันท์). (ป., ส.). - ฆร,ฆร-,ฆระ
หมายถึง [คะระ-] น. เรือน. (ส. คฺฤห). - ฆรณี
หมายถึง [คอระนี] น. แม่เรือน, เมีย. (ป., ส.). - ฆราวาส
หมายถึง [คะราวาด] น. คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช. (ป.). - ฆาฏ
หมายถึง (โบ; เลิก) น. การฆ่า, การทำลาย. ก. ตี. - ฆาต,ฆาต-
หมายถึง [คาด, คาดตะ-] น. การฆ่า, การทำลาย. ก. ตี เช่น เจ้าวิลาสฆาตกลองเร่งกองรบ. (อภัย). - ฆาตกร
หมายถึง น. ผู้ที่ฆ่าคน. - ฆาตกรรม
หมายถึง น. การฆ่าคน. (ป. ฆาต + ส. กรฺมนฺ). - ฆาน
หมายถึง [คาน] (แบบ) น. จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น. (ป.). - ฆาน-
หมายถึง [คานะ-] (แบบ) น. จมูก, ประสาทที่รับรู้กลิ่น. (ป.). - ฆานประสาท
หมายถึง น. ประสาทที่รับรู้กลิ่น. - ฆานินทรีย์
หมายถึง น. จมูกซึ่งเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น. (ป. ฆาน + อินฺทฺริย). - ฆ่า
หมายถึง ก. ทำให้ตาย เช่น ฆ่าคน ฆ่าสัตว์; ทำให้หมดไป, ทำให้สิ้นไป, เช่น ฆ่าเวลา ฆ่ากลิ่น ฆ่าข้อความ. - ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
หมายถึง (สำ) ก. ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่. - ฆ่าควายเสียดายเกลือ
หมายถึง (สำ) ก. ทำการใหญ่ไม่ควรตระหนี่. - ฆ่าช้างเอางา
หมายถึง (สำ) ก. ทำลายของใหญ่เพื่อให้ได้ของเล็กน้อยซึ่งไม่คุ้มค่ากัน. - ฆ่าฟัน
หมายถึง ก. ใช้อาวุธฆ่ากัน. - ฆ่าแกง
หมายถึง (ปาก) ก. ทำให้ตาย. - ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด
หมายถึง (สำ) ก. ตัดเยื่อใยไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ที่รักลูกมากถึงจะโกรธจะเกลียดอย่างไรก็ตัดไม่ขาด). - ฆ้อง
หมายถึง น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลมตรงกลางสำหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง. - ฆ้องกระแต
หมายถึง น. ฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดยทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้สำหรับถือตีเป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ. - ฆ้องคู่
หมายถึง น. ฆ้องที่ใช้บรรเลงในการเชิดหนังตะลุงและละครโนราชาตรี ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก, ปักษ์ใต้เรียก โหม่ง. - ฆ้องชัย
หมายถึง น. ฆ้องขนาดใหญ่ สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ในปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก. - ฆ้องปากแตก
หมายถึง (สำ) ว. ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนำความลับของผู้อื่นไปโพนทะนา. - ฆ้องวง
หมายถึง น. ฆ้องที่ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยหนังตีเกลียวผูกโยงกับวงที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๙ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด คือ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี. - ฆ้องสามย่าน
หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Kalanchoe วงศ์ Crassulaceae ใบอวบนํ้า ใช้ทำยาได้ เช่น ชนิด K. laciniata DC. ดอกสีเหลือง. - ฆ้องหุ่ย
หมายถึง ดู ฆ้องชัย. - ฆ้องเหม่ง
หมายถึง น. ฆ้องขนาดเขื่องกว่าฆ้องกระแต หนามาก มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สำหรับถือตีประกอบจังหวะ. - ฆ้องโหม่ง
หมายถึง น. ฆ้องขนาดใหญ่กว่าฆ้องเหม่ง มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยทางตั้งกับขาหยั่งหรือคานไม้ ตรงหัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้ากับเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย หรือวงมโหรี, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอก “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอก “ทุ่ม”. - เฆี่ยน
หมายถึง ก. ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ; (ปาก) เร่งความเร็ว เช่น เฆี่ยนมาด้วยความเร็ว ๑๘๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง, เอาชนะคู่แข่งขันอย่างขาดลอย เช่น เฆี่ยนฝ่ายตรงข้าม ๓ เกมรวด. - โฆรวิส
หมายถึง [โคระวิด] น. งูพิษ. ว. มีพิษร้าย. (ป.). - โฆษก
หมายถึง [โคสก] น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ; ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง. (ส.; ป. โฆสก ว่า ผู้ป่าวร้อง, ผู้โฆษณา). - โฆษณา
หมายถึง [โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทำการไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า. (ส.; ป. โฆสนา). - โฆษณาการ
หมายถึง น. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ). - โฆษณาชวนเชื่อ
หมายถึง ก. เผยแพร่อุดมการณ์หรือความคิดเห็น ด้วยกลอุบายต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้เห็นคล้อยตาม. - โฆษะ
หมายถึง ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส). - โฆษิต
หมายถึง ก. กึกก้อง, ป่าวร้อง. (ส.; ป. โฆสิต).