คำในภาษาไทย หมวด ม
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวมคำในภาษาไทย หมวด ม
คำในภาษาไทย หมวด ม ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ม
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กม. - มก
หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลากระบอก. (ดู กระบอก ๒). - มกร,มกร-
หมายถึง [มะกอน, มะกอระ-, มะกะระ-] น. มังกร, ชื่อดาวราศีที่ ๑๐. (ป., ส.). - มกรกุณฑล
หมายถึง [มะกอระ-] น. เครื่องประดับหูมีรูปคล้ายมังกร. - มกราคม
หมายถึง [มะกะรา-, มกกะรา-] น. ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. มกร + อาคม). - มกสะ
หมายถึง [มะกะสะ] น. ยุง. (ป.; ส. มศก). - มกุฎ
หมายถึง [มะกุด] น. มงกุฎ. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม. (ป., ส.). - มกุฎราชกุมาร
หมายถึง [มะกุดราดชะ-] น. อิสริยยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป. - มกุละ
หมายถึง น. กลุ่ม, พวง. ว. ตูม. (ป., ส.). - มคธ
หมายถึง [มะคด] น. ชื่อแคว้นใหญ่ในอินเดียครั้งพุทธกาล ในบัดนี้เรียกว่า พิหาร. (ป., ส.). - มฆวัน,มัฆวา,มัฆวาน
หมายถึง [มะคะ-, มักคะ-] น. พระอินทร์. (ส. มฆวนฺ; ป. มฆวา). - มฆะ,มฆา,มาฆะ
หมายถึง [มะคะ, มะคา, มาคะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร หรือ งอนไถ, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.). - มงกุฎ
หมายถึง น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่องสวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม. - มงกุฎไทย
หมายถึง น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. - มงคล,มงคล-
หมายถึง [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.). - มงคลจักร
หมายถึง [มงคนละจัก] น. ด้ายมงคลแฝดสำหรับบ่าวสาวสวมศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลแฝด ก็เรียก. - มงคลวาท
หมายถึง [มงคนละวาด] น. คำให้พร, คำแสดงความยินดี. - มงคลวาร
หมายถึง [มงคนละวาน] น. วันดี, วันอังคาร. - มงคลสมรส
หมายถึง [มงคน-] น. งานแต่งงาน. - มงคลสูตร
หมายถึง [มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ. - มงคลหัตถี
หมายถึง [มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม. (ดู กาฬาวก). - มงคลแฝด
หมายถึง [มงคน-] (ปาก) น. ด้ายมงคลแฝดสำหรับบ่าวสาวสวมศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลจักร ก็เรียก. - มงคล่อ
หมายถึง ดู มองคร่อ. - มงโกรย
หมายถึง น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee ในวงศ์ Clupeidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนมากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลำตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดำ ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tenualosa thibaudeaui ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลำตัวยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก. - มณฑก
หมายถึง [-ทก] น. กบ (สัตว์), ใช้ว่า มัณฑุก หรือ มณฑุก ก็มี. (ป., ส. มณฺฑูก). - มณฑก
หมายถึง [-ทก] (โบ) น. เรียกปืนเล็กยาวชนิดหนึ่งว่า ปืนมณฑก. (อ. bundook). - มณฑนะ
หมายถึง [มนทะนะ] น. เครื่องประดับ, อาภรณ์; การแต่ง. (ป., ส.). - มณฑป
หมายถึง [มนดบ] น. เรือนยอดขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัดมุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห, ใช้ว่า มรฑป ก็มี. (ป., ส.); ขันนํ้าเย็นของพระเจ้าแผ่นดินที่มีฝาเป็นรูปอย่างมณฑป เรียกว่า พระมณฑป. - มณฑล
หมายถึง [มนทน] น. วง เช่น สุริยมณฑล คือ วงรอบดวงอาทิตย์ จันทรมณฑล คือ วงรอบดวงจันทร์, บริเวณ เช่น มณฑลพิธี, เขตปกครองที่แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ; พระแท่นที่วงด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า พระแท่นมณฑล. (ป., ส.). - มณฑา
หมายถึง [มนทา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Talauma candollei Blume ในวงศ์ Magnoliaceae ใบใหญ่ ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม; มณฑารพ. - มณฑารพ
หมายถึง [มนทารบ] น. ชื่อต้นไม้ในเมืองสวรรค์, มณฑา ก็ใช้. (ป. มณฺฑารว). - มณฑิระ,มณเฑียร
หมายถึง [มนทิระ, มนเทียน] (โบ) น. มนเทียร. (ป., ส. มนฺทิร). - มณฑ์
หมายถึง น. ของมัน ๆ; นํ้าเมา, สุรา. (ป.; ส. มณฺฑา). - มณี
หมายถึง น. แก้วหินมีค่าสีแดง ในจำพวกนพรัตน์ มักหมายถึงทับทิม. (ป., ส. มณิ). - มณีการ
หมายถึง น. ช่างเจียระไนเพชรพลอย. (ส.). - มณีพืช
หมายถึง น. ต้นทับทิม. (ส. มณิพีช). - มณีรัตน์
หมายถึง น. แก้วมณี. (ป. มณิรตน; ส. มณิรตฺน). - มณีราค
หมายถึง [-ราก] น. สีแดงเสน. (ส.). - มณีศิลา
หมายถึง น. หินแก้ว. (ส.). - มณเฑียรบาล
หมายถึง [มนเทียนบาน] (โบ) น. มนเทียรบาล. - มณโฑ
หมายถึง มเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา - มด
หมายถึง น. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า แม่มด; ใช้เป็นคำประกอบกับคำ หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป. - มด
หมายถึง น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ซึ่งติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังปล้องท้องดังกล่าวมีโหนกสูงขึ้น ซึ่งอาจจะโค้งมนหรือเป็นแผ่นแบน ลักษณะนี้ทำให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และปลวก. - มดดำ
หมายถึง น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae สีดำเป็นมันตลอดทั้งตัว ยาว ๕-๖ มิลลิเมตร ทำรังอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะตามซอกของต้นไม้และพวกผลไม้ต่าง ๆ เมื่อถูกจับต้องจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนออกมาป้องกันตัว ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dolichoderus bituberculatus, Cataulacus granulatus. - มดยอบ
หมายถึง น. ยางหอมสีแดงอมเหลืองหรือนํ้าตาลอมแดงได้จากรอยแตกของเปลือกหรือจากการกรีดเปลือกไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Commiphora วงศ์ Burseraceae เช่น ชนิด C. abyssinica (Berg) Engl., C. molmol Engl. ใช้ทำยา แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง และใช้ในพิธีทางศาสนา. - มดลูก
หมายถึง น. อวัยวะภายในอันเป็นที่ตั้งครรภ์. - มดสัง
หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อีเห็น. (ดู อีเห็น). - มดส้ม
หมายถึง ดู มดแดง. - มดหมอ
หมายถึง (ปาก) น. หมอทั่วไป. - มดาย
หมายถึง [มะ-] น. แม่. (ข.). - มดี
หมายถึง [มะ-] คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนามในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระ อิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง. (ป., ส. มตี). - มดเท็จ
หมายถึง ว. โกหกหลอกลวง, มักใช้เข้าคู่กับคำ โป้ปด เป็น โป้ปดมดเท็จ. - มดแดง
หมายถึง น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina ในวงศ์ Formicidae ลูกรังลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอดรวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทำรังอยู่ตามต้นไม้โดยใช้ใบไม้มาห่อกันเข้า เวลาถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยปล่อยกรดออกมาแล้วกัดให้เกิดแผลทำให้เกิดอาการแสบร้อน, มดส้ม ก็เรียก. - มดแดงเฝ้ามะม่วง
หมายถึง (สำ) น. ชายที่ปองรักหญิงบ้านใกล้หรือที่อยู่ใกล้กัน และคอยกีดกันไม่ให้ชายอื่นมารัก, มดแดงแฝงพวงมะม่วง ก็ว่า. - มต,มต-,มตะ
หมายถึง [มะตะ-] ก. ตายแล้ว. (ป.; ส. มฺฤต). - มตกภัต
หมายถึง [มะตะกะพัด] น. ข้าวที่ทำบุญอุทิศให้คนตาย. (ป. มตกภตฺต). - มตกะ
หมายถึง [มะตะกะ] น. คนตายแล้ว, ผู้ตายแล้ว. ว. ของผู้ตายแล้ว. (ป.; ส. มฺฤตก). - มติ
หมายถึง [มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้; ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.). - มติมหาชน
หมายถึง น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง. - มทนะ
หมายถึง [มะทะ-] น. กามเทพ. (ส.). - มทนียะ
หมายถึง [มะทะ-] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ควรเมา. (ป.). - มทะ
หมายถึง [มะทะ] น. ความเมา; นํ้ามันช้างที่ตกมัน; สภาพช้างที่ตกมัน. (ป., ส.). - มธุ
หมายถึง [มะ-] น. นํ้าหวาน, นํ้าผึ้ง. (ป., ส.). - มธุกร
หมายถึง [-กอน] น. ผู้ทำนํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป., ส.). - มธุกรี
หมายถึง [-กะรี] น. แมลงผึ้งตัวเมีย. (ป.; ส. มธุกรินฺ). - มธุการี
หมายถึง น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุการินฺ). - มธุตฤณ
หมายถึง [-ตฺริน] น. อ้อย. (ส.). - มธุปฎล
หมายถึง [-ปะดน] น. รวงผึ้ง. (ป., ส. มธุปฏล). - มธุปะ
หมายถึง น. ผู้ดื่มนํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป., ส.). - มธุปายาส
หมายถึง น. ข้าวปายาสเจือนํ้าผึ้ง ใช้เป็นของหวานในงานรื่นเริง. (ป.). - มธุพรต
หมายถึง [-พฺรด] น. แมลงผึ้ง. (ส. มธุวฺรต). - มธุมักขิกา
หมายถึง น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุมกฺษิกา). - มธุมิศร
หมายถึง [-มิด] ว. เจือนํ้าหวาน. (ส.). - มธุร,มธุร-,มธุระ
หมายถึง [มะทุระ-] น. อ้อยแดง; ความหวาน, ความไพเราะ. ว. หวาน, ไพเราะ. (ป., ส.). - มธุรตรัย
หมายถึง น. ของอร่อยทั้ง ๓ คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง เนย. (ส. มธุรตฺรย). - มธุรพจน์
หมายถึง น. ถ้อยคำไพเราะ; ผู้มีถ้อยคำไพเราะ. (ส. มธุรวจน). - มธุรส
หมายถึง น. นํ้าผึ้ง, รสหวาน, อ้อย. ว. ไพเราะ เช่น มธุรสวาจา. (ป., ส.). - มธุลีห์
หมายถึง น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุลิห). - มธุสร
หมายถึง [-สอน] น. เสียงหวาน. (ป.; ส. มธุสฺวร). - มธุเศษ
หมายถึง น. ขี้ผึ้ง. (ส.). - มธุโกศ
หมายถึง น. รวงผึ้ง. (ส.). - มน-
หมายถึง [มะนะ-] น. ใจ. (ป.). - มน
หมายถึง ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือ เสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่). - มน
หมายถึง ว. กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน ขอบโต๊ะมน ปกเสื้อมน. - มน
หมายถึง [มะนะ, มน] น. ใจ. (ป.). - มนตรี
หมายถึง น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี. (ส.; ป. มนฺตี). - มนต์,มนตร์
หมายถึง น. คำศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์, คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์. (ป. มนฺต; ส. มนฺตฺร). - มนท,มนท-,มนท์
หมายถึง [มนทะ-] น. ดาวพระเสาร์. ว. เฉื่อย,ช้า; อ่อนแอ; โง่เขลา; ขี้เกียจ. (ป., ส.). - มนทกานติ
หมายถึง น. “ผู้มีรัศมีอ่อน” คือ ดวงเดือน. (ส.). - มนทาทร
หมายถึง [-ทอน] ว. ไม่เอาใจใส่, ทอดธุระ. (ส.). - มนทิระ,มนทิราลัย
หมายถึง [มนทิระ] (แบบ) น. เรือนหลวง. (ป., ส.). - มนสิการ
หมายถึง [มะนะสิกาน] น. การกำหนดไว้ในใจ. (ป., ส.). - มนัส,มนัส-
หมายถึง [มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.). - มนัสดาป
หมายถึง [มะนัดสะดาบ] น. ความร้อนใจ. (ส.). - มนัสวี
หมายถึง [มะนัดสะ-] น. ผู้เป็นปราชญ์, ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว, ผู้มีความคิดสูง. (ส.). - มนินทรีย์
หมายถึง น. ใจซึ่งเป็นใหญ่ในการรับรู้ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. มน + อินฺทฺริย). - มนิมนา,มนีมนา
หมายถึง [มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน. (ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา). - มนิลา
หมายถึง น. เรียกเชือกเกลียวสีขาว ๆ ค่อนข้างใหญ่ เหนียวมาก ว่า เชือกมนิลา, มักเรียกว่า เชือกมลิลา; เรียกเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่หักหน้าจั่ว เหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือนฝากระดาน ว่า เรือนทรงมนิลา, เรือนทรงมลิลา ก็เรียก. - มนุ
หมายถึง น. มนู. (ป., ส.). - มนุช
หมายถึง น. “ผู้เกิดจากมนู” คือ คน. (ส.).