คำในภาษาไทย หมวด ย

คำในภาษาไทย หมวด ย ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ย

คำในภาษาไทย หมวด ย ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๔ เป็นพวกอักษรตํ่า เป็นได้ทั้งตัวต้นและตัวสะกดในแม่เกย.
  2. ยก
    หมายถึง น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กำหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจำนวนหนึ่ง เช่น มวยยกหนึ่งกำหนด ๒-๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษแผ่นหนึ่งขนาด ๓๑ ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กำหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.
  3. ยก
    หมายถึง ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคำสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลายเด่นขึ้นว่า ผ้ายก.
  4. ยกกระบัตร
    หมายถึง (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
  5. ยกกระเปาะ
    หมายถึง ก. ยกขอบขึ้นเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก เพื่อใช้ฝังเพชรพลอยในงานโลหะรูปพรรณ.
  6. ยกกลีบ
    หมายถึง ก. ยกกลีบผ้าโจงกระเบนข้างหลังให้โก่งขึ้น, รีดกางเกงตามแนวพับด้านหน้าและด้านหลังขาให้เป็นสันขึ้น.
  7. ยกครู
    หมายถึง ก. ทำพิธีบูชาครูเป็นประจำปี กล่าวคือ นำขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคำนับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู.
  8. ยกตนข่มท่าน
    หมายถึง (สำ) ก. ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า.
  9. ยกตัวขึ้นเหนือลม
    หมายถึง (สำ) ก. ปัดความผิดให้พ้นตัว, ยกตัวเองให้พ้นผิด, ยกตนเหนือคนอื่น.
  10. ยกทรง
    หมายถึง น. เสื้อชั้นในหญิงที่ยกเต้านมเพื่อให้ได้รูปทรง.
  11. ยกธงขาว
    หมายถึง (ปาก) ก. ยอมแพ้.
  12. ยกนะ
    หมายถึง [ยะกะนะ] น. ตับ. (ป.; ส. ยกนฺ, ยกฺฤต).
  13. ยกนิ้ว
    หมายถึง (ปาก) ก. ยอมให้เป็นเยี่ยม.
  14. ยกบัตร
    หมายถึง [ยกกะบัด] (โบ) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกกระบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก, เขียนเป็น ยกบัตร์ ก็มี.
  15. ยกพื้น
    หมายถึง น. พื้นที่สูงกว่าบริเวณโดยรอบ. ก. ทำพื้นให้สูงขึ้น.
  16. ยกฟ้อง
    หมายถึง (กฎ) ก. พิพากษาให้คดีตกไป โดยไม่บังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องของโจทก์.
  17. ยกภูเขาออกจากอก
    หมายถึง (สำ) ก. โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป.
  18. ยกมือ
    หมายถึง ก. แสดงว่าเห็นด้วย.
  19. ยกยอ
    หมายถึง ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น; ยกย่องเกินความจริง.
  20. ยกยอด
    หมายถึง ก. ทำพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทำค้างไว้ไปทำให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นในคราวเดียว; โอนจำนวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง.
  21. ยกยอปอปั้น
    หมายถึง (ปาก) ก. ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง.
  22. ยกย่อง
    หมายถึง ก. เชิดชู.
  23. ยกหยิบ
    หมายถึง (กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง).
  24. ยกหางตัวเอง
    หมายถึง (สำ) ก. ยกตนเองว่าดีว่าเก่ง.
  25. ยกเก็จ
    หมายถึง ก. ทำเก็จให้ยื่นออกมาจากฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน, คู่กับ ย่อเก็จ.
  26. ยกเครื่อง
    หมายถึง (ปาก) ก. ซ่อมใหญ่เครื่องยนต์ของรถยนต์หรือเรือยนต์เป็นต้น.
  27. ยกเค้า
    หมายถึง ก. เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; (ปาก) ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า.
  28. ยกเมฆ
    หมายถึง ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  29. ยกเลิก
    หมายถึง ก. เพิกถอน, ไม่ใช้ต่อไป.
  30. ยกเว้น
    หมายถึง ก. ไม่เกี่ยวด้วย, กันเอาออก, ยอมให้เป็นพิเศษ. บ. นอกจาก, เว้นแต่, เว้นเสียแต่.
  31. ยกเหลี่ยม
    หมายถึง ก. ยกหน้ากระดานขึ้นเป็นสันคมไปทางยาว เช่น ยกเหลี่ยมอกเลาของบานประตู.
  32. ยกใหญ่
    หมายถึง (ปาก) ว. มากมาย, เป็นการใหญ่, เช่น ร้องไห้เสียยกใหญ่.
  33. ยกไว้
    หมายถึง ก. งดไว้, พักไว้, หยุดไว้.
  34. ยง
    หมายถึง ว. กล้าหาญ เช่น ยงยุทธ์ เยี่ยมยง, เก่งกล้าสามารถ เช่น ตัวยง.
  35. ยง
    หมายถึง ว. อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง.
  36. ยง
    หมายถึง ว. ยั่งยืน, มั่นคง, คงทน, ยืนนาน, เช่น อยู่ยงคงกระพัน ยืนยง.
  37. ยงโย่
    หมายถึง ก. กิริยาที่นั่งยอง ๆ หรือยืนขยับตัวขึ้น ๆ ลง ๆ ก้ม ๆ เงย ๆ ไม่เป็นระเบียบ, โยงโย่ ก็เรียก.
  38. ยงโย่ยงหยก
    หมายถึง ก. กิริยาที่จะยืนก็ไม่ใช่จะนั่งก็ไม่เชิง.
  39. ยชุรเวท
    หมายถึง [ยะชุระ-] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่าแต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).
  40. ยติ
    หมายถึง น. ผู้สำรวมอินทรีย์, พระภิกษุ. (ป.; ส. ยติ, ยตินฺ).
  41. ยติ
    หมายถึง น. การหยุดเป็นจังหวะตามกำหนดในการอ่านฉันท์. (ป., ส.).
  42. ยติภังค์
    หมายถึง น. โทษของฉันท์อย่างหนึ่ง คือ คำไม่หมดตรงที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับ แต่เลยไปวรรคหลัง เช่น ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท- ธวิสุทธศาสดา; เครื่องหมายขีดสั้น - ใช้เป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าพยางค์หน้ากับพยางค์หลังนั้นติดกันหรือเป็นคำเดียวกัน ตัวที่เขียนแยกนั้นจะอยู่ในบรรทัดเดียวกันหรือคนละบรรทัดก็ได้, เขียนเป็น ยัติภังค์ ก็มี.
  43. ยถากรรม
    หมายถึง [ยะถากำ] ว. ตามบุญตามกรรม, ตามแต่จะเป็นไป. (ส.; ป. ยถากมฺม).
  44. ยถาภูตญาณ
    หมายถึง [ยะถาพูตะ-] น. ความรู้ตามความเป็นจริง. (ป.; ส. ยถาภูต + ชฺาน).
  45. ยนต์,ยนตร์
    หมายถึง น. เครื่องกลไก, เครื่องจักรที่ให้กำเนิดพลังงานหรือทำให้วัตถุเคลื่อนที่. (ป. ยนฺต; ส. ยนฺตฺร).
  46. ยม
    หมายถึง ก. ร้องไห้. (ข.).
  47. ยม
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Meliaceae เช่น ยมหิน (Chukrasia tabularis Juss.) ยมหอม (Toona ciliata M. Roem.).
  48. ยม,ยม,ยม-
    หมายถึง [ยม, ยมมะ-] น. เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจำโลกของคนตาย; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๙ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๕,๙๐๐ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง ๒,๕๘๐ ถึง ๓,๕๓๐ กิโลเมตร ทางโคจรเป็นวงรีมาก ทำให้ส่วนหนึ่งของทางโคจรอยู่ภายในวงโคจรของดาวเนปจูน, ดาวพลูโต ก็เรียก. (ป., ส.).
  49. ยมก
    หมายถึง [ยะมก] น. คู่, แฝด, ๒ ชั้น; เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ ว่า ไม้ยมก สำหรับอ่านซํ้าความหรือซํ้าคำข้างหน้า ๒ หน. (ป., ส.).
  50. ยมกปาฏิหาริย์
    หมายถึง น. ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ เป็นปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำที่ต้นมะม่วงซึ่งเรียกว่าคัณฑามพพฤกษ์ คือ ทรงบันดาลท่อนํ้าท่อไฟออกจากส่วนของพระกายเป็นคู่ ๆ กัน. (ป.).
  51. ยมขันธ์
    หมายถึง น. ชื่อยามที่เป็นอัปมงคล.
  52. ยมทัณฑ์
    หมายถึง น. ไม้อาญาสิทธิ์ของพระยม. (ส.).
  53. ยมทูต
    หมายถึง น. ผู้นำคนตายไปยังบัลลังก์พระยมเพื่อรอคำตัดสิน. (ป., ส.).
  54. ยมนา
    หมายถึง [ยมมะนา] น. แม่นํ้าใหญ่, ชื่อแม่นํ้าสายหนึ่งในอินเดีย คือ แม่นํ้ายมุนา ซึ่งเรียกเพี้ยนเป็น ชุมนา ก็มี. (ป., ส. ยมุนา).
  55. ยมบาล
    หมายถึง น. เจ้าพนักงานเมืองนรก มีหน้าที่ลงโทษทรมานคนที่ตกนรกตามคำสั่งของพญายม. (ป. ยมปาล ว่า ผู้รักษานรก).
  56. ยมราช
    หมายถึง น. เทพผู้เป็นใหญ่ประจำยมโลก. (ป., ส.).
  57. ยมล
    หมายถึง [ยะมน] น. คู่. (ป., ส.).
  58. ยมะ
    หมายถึง [ยะมะ] ก. สำรวม. (ป., ส.).
  59. ยมะ
    หมายถึง [ยะมะ] น. คู่, แฝด. (ป., ส.).
  60. ยมโดย
    หมายถึง น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Lycopodium squarrosum Forst. ในวงศ์ Lycopodiaceae.
  61. ยมโลก
    หมายถึง น. โลกของพระยม; โลกของคนตาย. (ป.).
  62. ยรรยง
    หมายถึง [ยัน-] ว. งามสง่า, กล้าหาญ.
  63. ยล
    หมายถึง [ยน] ก. มองดู.
  64. ยวกสา
    หมายถึง [ยะวะกะสา] น. นํ้าประสานดีบุก.
  65. ยวง
    หมายถึง น. เนื้อในของขนุนที่หุ้มเมล็ด เรียกว่า ยวงขนุน, ลักษณนามเรียกเนื้อในของขนุนว่า ขนุนยวงหนึ่ง ขนุน ๒ ยวง; เรียกลักษณะของเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็นมันปลาบ ว่า เงินยวง, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะย้อยยืดลงมาเป็นแนวยาว ๆ เช่น ฝีถอนยวง ขี้มูกเป็นยวง. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง.
  66. ยวด
    หมายถึง ว. เป็นที่สุด, มักใช้คู่กับคำอื่น เช่น ยวดยง ยวดยิ่ง ยิ่งยวด.
  67. ยวดยง
    หมายถึง ว. เชี่ยวชาญที่สุด, เก่งที่สุด.
  68. ยวดยาน
    หมายถึง น. เครื่องขับขี่มีรถและเรือเป็นต้น.
  69. ยวดยิ่ง
    หมายถึง ว. เยี่ยมที่สุด, มากที่สุด, ยิ่งยวด ก็ว่า.
  70. ยวน
    หมายถึง น. ชื่อชนชาติกรีก, ชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคำ Ionia; เรียกชาวไทยทางล้านนาว่า ไทยยวน, เพี้ยนเป็น เยาวนะ โยน หรือ โยนก ก็มี. (ส.).
  71. ยวน
    หมายถึง ก. ยั่ว, ล่อ, ชวนให้เพลิน, ชวนให้ยินดี, เช่น ยวนตา ยวนใจ; ก่อกวนให้เกิดกิเลสหรือโทสะ.
  72. ยวนยี
    หมายถึง ก. เคล้าคลึงชวนให้กำเริบรัก, คลึงเคล้าให้เป็นที่พอใจ; ก่อกวนให้เกิดกิเลสโทสะ, ยียวน ก็ว่า.
  73. ยวบ
    หมายถึง ก. อาการที่ไหวจะยุบลง เช่น นอกชานยวบ.
  74. ยวบ ๆ
    หมายถึง ว. อาการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามแนวนอน เช่น สะพานยวบ ๆ.
  75. ยวบยาบ
    หมายถึง ว. อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทำให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการที่พื้นยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ.
  76. ยวรยาตร
    หมายถึง [ยวนระยาด] (กลอน) ก. ยุรยาตร.
  77. ยวะ,ยวา
    หมายถึง [ยะวะ, ยะวา] น. ข้าว, ข้าวเหนียว. (ป., ส. ยว ว่า ข้าวบาร์เลย์ เมล็ดคล้ายลูกเดือย).
  78. ยวาคุ
    หมายถึง [ยะวา-] น. ยาคู. (ส.).
  79. ยศ
    หมายถึง [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูงต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกำหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
  80. ยศช้างขุนนางพระ
    หมายถึง (สำ) น. ยศที่ไม่สำคัญ ไม่จริงจัง และไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ใครได้.
  81. ยศอย่าง
    หมายถึง น. การทำตามแบบอย่างผู้มียศ, การถือยศ ถือศักดิ์.
  82. ยอ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Morinda citrifolia L. ในวงศ์ Rubiaceae แก่นและรากใช้ย้อมผ้า ผลและใบกินได้.
  83. ยอ
    หมายถึง ก. กล่าวคำเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้งไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด.
  84. ยอ
    หมายถึง น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง เป็นร่างแหสี่เหลี่ยมมีคันสำหรับยก.
  85. ยอก
    หมายถึง ก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมีอะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก.
  86. ยอกย้อน
    หมายถึง ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมีเงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดียอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.
  87. ยอขึ้น
    หมายถึง ก. ชอบให้ยกย่องแล้วจึงจะตั้งใจทำ เช่น เด็กคนนี้ยอขึ้น.
  88. ยอง
    หมายถึง (กลอน) น. สัตว์ในจำพวกอีเก้ง.
  89. ยอง
    หมายถึง น. เส้น, ใย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ใย เป็น ยองใย. ว. สุกใส, ยะยอง หรือ ยรรยอง ก็ใช้ แต่มักแปลว่า สุกใส.
  90. ยอง,ยอง,ยอง ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ โดยก้นไม่ถึงพื้น เช่น นั่งยองอยู่ในท้องแม่. (ไตรภูมิ), หย่อง ก็ว่า.
  91. ยองใย
    หมายถึง น. เส้นใย (แห่งแมงมุม). ว. ผุดผ่องเป็นนํ้านวล เช่น ผิวนวลเป็นยองใย; ใช้เป็นคำเปรียบเทียบว่ามีขนาดเล็กเท่าใยแมงมุม เช่น ไม่มีความผิดแม้เท่ายองใย.
  92. ยองไย่
    หมายถึง น. ใยแมงมุม.
  93. ยอด
    หมายถึง น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วนปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน; เรียกคนหรือสัตว์ที่มีคุณสมบัติยิ่งยวดเหนือผู้อื่น เช่น ยอดคน ยอดหญิง ยอดสุนัข; จำนวนรวม เช่น ยอดเงิน; ฝี (ใช้ในราชาศัพท์ว่า พระยอด). (ปาก) ว. ที่สุด เช่น ยอดเยี่ยม ยอดรัก.
  94. ยอดจาก
    หมายถึง ดู มังกร ๒.
  95. ยอดดี
    หมายถึง ว. ดีที่สุด เช่น รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี.
  96. ยอดด้วน
    หมายถึง น. เถาหัวด้วน.
  97. ยอดน้ำ
    หมายถึง (ภูมิ) น. แหล่งที่เกิดของลำนํ้า, ต้นนํ้า ก็เรียก.
  98. ยอดม่วง
    หมายถึง ดู ตาเดียว ๑.
  99. ยอดสร้อย
    หมายถึง น. นางผู้เป็นที่รักยิ่ง.
  100. ยอดอก
    หมายถึง น. บริเวณเหนือลิ้นปี่.

 แสดงความคิดเห็น