คำในภาษาไทย หมวด ล
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวมคำในภาษาไทย หมวด ล
คำในภาษาไทย หมวด ล ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- ล
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนอย่างตัว น ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล. - ลก
หมายถึง ว. หก; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลก, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า อก. - ลการ
หมายถึง [ละกาน] น. ใบเรือ. (ป.). - ลกุจ
หมายถึง [ละกุด] น. มะหาด. (ส.). - ลคุฑ,ลคุฬ
หมายถึง [ละคุด, ละคุน] น. ไม้ตะบอง. (ส. ลคุฑ; ป. ลคุฬ). - ลฆุ
หมายถึง ว. เบา, เร็ว. (ส.; ป. ลหุ). - ลฆุจิต
หมายถึง ว. มีใจเบา. (ส. ลฆุจิตฺต). - ลฆุภาพ
หมายถึง น. ความเบา, ความสะดวก, ความง่ายดาย. (ส. ลฆุภาว). - ลฆุโภชน์
หมายถึง น. เครื่องว่าง, อาหารว่าง. (ส.). - ลง
หมายถึง ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง. - ลงกระหม่อม
หมายถึง ก. ลงยันต์บนกระหม่อม แล้วเสกเป่าให้อยู่ยงคงกระพันเป็นต้น. - ลงกลอน
หมายถึง ก. ใส่กลอน, เดิมหมายถึงใส่กลอนล่าง. - ลงกา
หมายถึง น. ชื่อเมืองของทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์. - ลงขัน
หมายถึง ก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก, ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็นไว้ใช้เป็นส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง. - ลงข่าว
หมายถึง ก. ตีพิมพ์ข่าวออกเผยแพร่. - ลงคราม
หมายถึง ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว. - ลงความเห็น
หมายถึง ก. มีความเห็นร่วมกัน. - ลงคอ
หมายถึง ว. อาการที่ทำสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้นโดยไม่ตะขิดตะขวง เช่น แม่หาเงินมาด้วยความยากลำบากลูกยังขโมยได้ลงคอ เด็กตัวเท่านี้แม่ยังตีได้ลงคอ. - ลงคะแนน
หมายถึง ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน. - ลงจอบ
หมายถึง ก. ใช้จอบขุดดิน, ลงจอบลงเสียม ก็ว่า. - ลงชื่อ
หมายถึง ก. เขียนชื่อ, ลงลายมือชื่อ, ลงนาม ก็ว่า. - ลงดาบ
หมายถึง ก. ประหารชีวิตด้วยการใช้ดาบฟันคอให้ขาด เช่น เพชฌฆาตลงดาบนักโทษ. - ลงตัว
หมายถึง ว. ไม่มีเศษ ในคำว่า หารลงตัว. ก. พอดี เช่น เรื่องนี้ลงตัวแล้ว. - ลงถม
หมายถึง ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ถมยา ก็เรียก. - ลงถมยาสี
หมายถึง ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีต่าง ๆ, เรียกสั้น ๆ ว่า ลงยา. - ลงทอง
หมายถึง ก. ปิดทองตามลวดลาย เช่น ลวดลายแกะไม้ลงทอง. - ลงทะเบียน
หมายถึง ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อรายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อแสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑. - ลงทัณฑ์
หมายถึง (กฎ) ก. ลงโทษผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือวินัยตำรวจ. - ลงทุน
หมายถึง ก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขาลงทุนโกนหัวแสดงละคร. - ลงท่า
หมายถึง น. พระราชพิธีลงสรงในแม่น้ำของเจ้าฟ้า ทางราชการเรียกว่า พระราชพิธีสระสนาน; พิธีนำช้างลงสรงสนานที่ท่า. - ลงท้อง
หมายถึง ก. ท้องเดิน. - ลงท้าย
หมายถึง ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้ายก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย. - ลงนะหน้าทอง
หมายถึง ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและปิดทอง แล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม. - ลงนา
หมายถึง ก. เริ่มทำนา, ยกออกจากบ้านไปอยู่นาเพื่อทำนา. - ลงนาม
หมายถึง ก. ลงชื่อ. - ลงปฏัก,ลงประตัก
หมายถึง ก. แทงด้วยประตัก (ใช้แก่วัวควาย), โดยปริยายหมายความว่า ทำโทษหรือดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นเพื่อให้หลาบจำ. - ลงผี
หมายถึง ก. เชิญผีมาสิงอยู่ในคนแล้วถามเหตุร้ายดี, เข้าผี หรือ ทรงเจ้าเข้าผี ก็ว่า. - ลงฝัก
หมายถึง น. โรคเกิดเพราะเส้นเลื่อนลงสู่ถุงอัณฑะทำให้ถุงอัณฑะโต เรียกว่า กระษัยลงฝัก. - ลงพระบังคน
หมายถึง (ราชา) ก. ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ, ถ้าถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า ลงพระบังคนเบา, ถ้าถ่ายอุจจาระ เรียกว่า ลงพระบังคนหนัก. - ลงพื้น
หมายถึง ก. เอาวัตถุเช่นดินสอพองหรือรักสมุกทาลงบนพื้นเพื่อให้ผิวเรียบก่อนที่จะทาน้ำมัน ทาสี หรือ เขียนลวดลาย. - ลงพุง
หมายถึง ว. มีพุงพลุ้ยหรือยื่นออกมา. - ลงมติ
หมายถึง ก. ลงความเห็นร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง. - ลงมีด
หมายถึง ก. จดมีด คือ เริ่มฟัน. - ลงมีดลงไม้
หมายถึง ก. ตีรันฟันแทง. - ลงมือ
หมายถึง ก. เริ่มทำ, ตั้งต้นทำ, เช่น ลงมือกินได้, ทำ เช่น กับข้าววันนี้ฉันลงมือเอง งานนี้เธอลงมือเองเชียวหรือ. - ลงยา
หมายถึง ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้ว ใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาติดและให้พื้นเป็นสีต่าง ๆ, เรียกเต็มว่า ลงถมยาสี. - ลงรอย,ลงรอยกัน
หมายถึง ก. เข้ากันได้. - ลงรัก
หมายถึง ก. เอารักทาลงบนผิวสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้ผิวเรียบ เกลี้ยง ดำ เป็นมัน. - ลงราก
หมายถึง ก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้างส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลงรากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก. - ลงล่าง
หมายถึง เกี่ยวกับเรื่องใต้สะดือ - ลงศอก
หมายถึง ก. เอาศอกกระทุ้งลง เช่น นักมวยลงศอกคู่ต่อสู้; ใช้ศอกยันลงกับพื้นเพื่อพยุงตัวขณะหมอบ. - ลงสนาม
หมายถึง ก. ลงแข่งขัน, ลงประลองความสามารถ, เช่น ฟุตบอลรอบนี้ไทยลงสนามกับเกาหลี ลงสนามบอกสักวา. - ลงสมุก
หมายถึง [ลงสะหฺมุก] ก. ใช้ดินหรือถ่านใบตองแห้งเป็นต้นป่นเป็นผงผสมกับยางรักให้เหนียว ทาทับบนพื้นวัตถุเพื่อเตรียมผิวให้แน่นและเรียบ. - ลงสิ่ว
หมายถึง ก. แกะสลักไม้โดยใช้สิ่วกัดผิวไม้ออกให้เหลือส่วนที่ต้องการ. - ลงสี
หมายถึง ก. ระบายสีเป็นรูปภาพ. - ลงส้น
หมายถึง ก. อาการที่เดินกระแทกส้นเท้าแสดงความไม่พอใจเป็นต้น. - ลงหญ้าช้าง
หมายถึง น. การลงโทษในสมัยก่อน คือ เอาตัวไปเป็นคนเลี้ยงช้าง. - ลงหลักปักฐาน
หมายถึง (สำ) ก. ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง. - ลงหัว
หมายถึง ก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ยอมลงหัวให้ใคร. - ลงหิน
หมายถึง ว. เรียกเครื่องใช้ประเภทหนึ่ง เช่น ขัน พาน ทัพพี ที่ทำด้วยทองแดงเจือดีบุก เนื้อเปราะ ว่า เครื่องลงหิน หรือ ทองลงหิน. - ลงอาญา,ลงอาชญา
หมายถึง ก. ลงโทษหรือทำโทษด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน. - ลงอุโบสถ
หมายถึง ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า. - ลงอ่าง
หมายถึง เที่ยวสถานบริการอาบ อบ นวด ซึ่งจะประกอบด้วยการ นวดคลายเส้น อาบน้ำ แช่น้ำอุ่นในอ่าง - ลงเข็ม
หมายถึง ก. ตอกเสาเข็มเพื่อฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, ตอกเข็ม ก็ว่า. - ลงเงิน
หมายถึง ก. เอาเงินมารวมกันเพื่อทำกิจการต่าง ๆ เช่น ลงเงินกันจัดรถไปทัศนาจร. - ลงเนื้อเห็นด้วย
หมายถึง ก. เห็นพ้องด้วย. - ลงเรือลำเดียวกัน
หมายถึง (สำ) ก. ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำด้วยกัน. - ลงเลขลงยันต์
หมายถึง ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง. - ลงเวลา
หมายถึง ก. บันทึกเวลาที่มาทำงานและกลับบ้าน. - ลงเส้น
หมายถึง ก. เขียนเส้นให้เห็นเป็นรูปภาพ. - ลงเอย
หมายถึง ก. จบ, เลิก, สิ้นสุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ลงเอยเสียที. - ลงแขก
หมายถึง ก. ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน; (ปาก) รุมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิง. - ลงแดง
หมายถึง ก. ท้องเดินและถ่ายเป็นเลือดออกมามาก (มักใช้แก่คนอดฝิ่น). - ลงแป้ง
หมายถึง ก. เอาผ้าชุบลงในนํ้าผสมแป้งมันที่กวนสุกแล้ว เพื่อให้ผ้าแข็งอยู่ตัว. - ลงแรง
หมายถึง ก. ออกแรงทำงาน. - ลงโกศ
หมายถึง ก. บรรจุศพลงในโกศ, เข้าโกศ ก็ว่า. - ลงโทษ
หมายถึง ก. ทำโทษเช่นเฆี่ยน จำขัง ปรับเอาเงิน เป็นต้น. - ลงโบสถ์
หมายถึง ก. ลงอุโบสถ; โดยปริยายหมายความว่า เข้ากันได้ (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น นาย ก กับ นาย ข ไม่ลงโบสถ์กัน. - ลงโรง
หมายถึง ก. เริ่มการแสดงมหรสพเช่นโขน ละคร ลิเก; เข้าสู่โรงพิธีซัดนํ้า. - ลงไม้
หมายถึง ก. เฆี่ยนด้วยไม้; เอาไปใส่คาหรือใส่ขื่อไว้. - ลด
หมายถึง ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทำให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือนอน เช่น ลดตัวลงนั่ง. - ลดชั้น
หมายถึง ก. เข้าเรียนชั้นต่ำกว่าเดิม เช่น นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้นประถมปีที่ ๓ ถูกลดชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒. - ลดตัว
หมายถึง ก. ถ่อมตัว, ไม่ถือตัว, เช่น ลูกจ้างนิยมนายจ้างที่ลดตัวมาเล่นหัวกับตน, ไม่ไว้ตัว เช่น เป็นผู้ใหญ่แล้วยังลดตัวไปทะเลาะกับเด็ก. - ลดราวาศอก
หมายถึง ก. อ่อนข้อ, ยอมผ่อนปรนให้, เช่น เถียงกันไม่ลดราวาศอก เขาเป็นพี่ก็ต้องยอมลดราวาศอกให้เขาบ้าง. - ลดรูป
หมายถึง ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียงสระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง. - ลดละ
หมายถึง ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้ายอย่างไม่ลดละ, ละลด ก็ว่า. - ลดหย่อน
หมายถึง ก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อนดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ. - ลดหลั่น
หมายถึง ว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได, ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่นกันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น. - ลดา
หมายถึง [ละ-] น. เครือเถา, เครือวัลย์; สาย. (ป., ส. ลตา). - ลดาวัลย์
หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Porana volubilis Burm. ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอมเย็น. - ลดเขื่อน
หมายถึง ก. ลงเขื่อน, ทำเขื่อน. - ลดเพดานบิน
หมายถึง ก. ลดระดับความสูงในการบิน. - ลดเลี้ยว
หมายถึง ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า. - ลดเลี้ยวเกี้ยวพา
หมายถึง ก. พูดจาหว่านล้อมเป็นเชิงเกี้ยว. - ลน
หมายถึง ก. อังไฟเพื่อให้ร้อนแต่ผิว ๆ หรือให้อ่อนเป็นต้น เช่น เอาขี้ผึ้งลนไฟ เอาไม้ลนไฟให้อ่อน; วิ่ง, อยู่นิ่งไม่ได้, มักใช้ประกอบคำอื่นว่า ลนลาน ลุกลน ลุกลี้ลุกลน. ว. อาการที่รีบร้อนจนไม่เป็นระเบียบ, สับสน, เช่น ทำอะไรลนไปหมด พูดลนจนฟังไม่รู้เรื่อง. - ลนควัน
หมายถึง ก. ทำให้อ่อนหรือให้แห้งด้วยควันร้อน. - ลนลาน
หมายถึง ว. อาการที่กลัว ตกใจ หรือรีบร้อนเป็นต้นจนทำอะไรไม่ถูก เช่น ไฟไหม้ข้างบ้านเขาวิ่งหนีไฟลนลานเลยไม่ได้หยิบอะไรมา. - ลบ
หมายถึง ก. ทำให้หายไปด้วยอาการเช็ดหรือถู, ทำให้หายไป เช่น น้ำลบฝั่ง; หักออก, ชักออก, (ใช้แก่วิธีเลข). ว. ที่เป็นไปในทางร้าย ทางไม่ดี หรือทางทำลาย เช่น มองในทางลบ. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ - ว่า เครื่องหมายลบ. - ลบม
หมายถึง [ละบม] (แบบ) ก. ระบม เช่น นางก็ถวายบังคม ลบมพิลาลศกำสรดไปมา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). - ลบรอย
หมายถึง ก. สบประมาท.