คำในภาษาไทย ประเภท คำนาม
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวมคำในภาษาไทย ประเภท คำนาม
คำในภาษาไทย ประเภท คำนาม ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
- กามจาริน
หมายถึง ครุฑ, ผู้ไปตามอำเภอใจ - กามายุส
หมายถึง ครุฑ, ผู้ที่อยู่อย่างสบาย - การันต์
หมายถึง “ที่สุดอักษร”, ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่นตัว “ต์” ในคำว่า “การันต์” (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์ - กาศยป
หมายถึง ครุฑ, บุตรของฤษี กัศยป และ นางวินตา - กาศยปิ
หมายถึง ครุฑ, บุตรของฤษี กัศยป และ นางวินตา - ขเคศวร
หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นใหญ่แห่งนก - คคเนศวร
หมายถึง ครุฑ, เจ้าแห่งฟ้า, เจ้าแห่งอากาศ - ครุฑมาน
หมายถึง ครุฑ, เจ้าแห่งนก - คำพ้องความ
หมายถึง คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า - คำพ้องรูป
หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู. - คำพ้องเสียง
หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์ - คำไวพจน์
หมายถึง ดู ไวพจน์ - จิราท
หมายถึง ครุฑ, ผู้กินนาค - ตรัสวิน
หมายถึง ครุฑ, ผู้เคลื่อนที่เร็ว - ทัณฑฆาต
หมายถึง ชื่อเครื่องหมายสำหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง มีรูปดังนี้ ( ์ ) ไม้ทัณฑฆาต ก็ว่า - นาคนาศนะ
หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค - นาคานดก
หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค - นาคานตกะ
หมายถึง ครุฑ, ผู้เป็นศัตรูแห่งนาค - ภูธเรศ
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูธเรศวร
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูนาถ
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูนายก
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูบดินทร์
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูบดี
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูบาล
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูป
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูภุช
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูเนตุ
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูเบนทร์
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูเบศ
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - ภูเบศวร์
หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.) - มัณฑะเลย์
หมายถึง น. มัณฑะเลย์ เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่ารองจากนครย่างกุ้ง ตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้ามินดง โดยตั้งชื่อตามภูเขามัณฑะเลย์ที่อยู่ใกล้เคียง - รสชาติ
หมายถึง [รดชาด] น. รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย - รสายนะ
หมายถึง ครุฑ, ผู้ว่องไวดุจปรอท - รักตปักษ์
หมายถึง ครุฑ, ผู้มีปีกสีแดง - วัชรชิต
หมายถึง ครุฑ, ผู้พิชิตสายฟ้า - วิษณุรถ
หมายถึง ครุฑ, เป็นพาหนะของพระวิษณุ - สรรปาราติ
หมายถึง ครุฑ, ศัตรูแห่งงู - สิตามัน
หมายถึง ครุฑ, ผู้มีหน้าสีขาว - สิทธัตถะ
หมายถึง พระนามพระพุทธเจ้า - สิทธัตถะ
หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว - สุธาหรณ์
หมายถึง ครุฑ, ผู้ลักน้ำอมฤต - สุบรรณ
หมายถึง ครุฑ, ผู้มีปีกงาม - สุวรรณกาย
หมายถึง ครุฑ, ผู้มีกายสีทอง - สุเรนทรชิต
หมายถึง ครุฑ, ผู้ชนะพระอินทร์ - ส้มเหม็น
หมายถึง ส้มเขียวหวานอ่อน ที่ปกติแล้วหากส้มเขียวหวานเป็นลูกดก ชาวสวนต้องทำการเด็ดลูกที่อ่อนบางส่วนทิ้งเพื่อให้เหลือจำนวนหมาะสมที่จะโตสวย บางส่วนก็ทิ้งลงร่องน้ำปล่อยเป็นปุ๋ยไป แต่ก็มีบางส่วนนำมาปรุงอาหารที่ออกรสเปรี้ยวเพื่อไม่ให้เสียเปล่า - หญ้าแพรก
หมายถึง ชื่อหญ้าชนิด Cynodon dactylon (L.) Pers. ในวงศ์ Gramineae ใช้ในพิธีไหว้ครูและใช้ทำยาได้ - หญ้าแพรก
หมายถึง สามัญชน, คนธรรมดา - อนุภรรยา
หมายถึง เมียน้อย - อนุภริยา
หมายถึง เมียน้อย - อมฤตาหรณ์
หมายถึง ครุฑ, ผู้ลักน้ำอมฤต - เฌอเอม
หมายถึง ชะเอม ก็ว่า - เดือน
หมายถึง หน่วยการนับวัน เป็นส่วนของปีโดยปกติเดือนจะมี 30 วันหรือ 4 สัปดาห์โดยประมาณ และใน 1 ปีจะมีทั้งหมด 12 เดือน - เดือน
หมายถึง ส่วนของปี โดยปรกติมี ๓๐ วัน. - เดือน
หมายถึง ดวงจันทร์ - เบญจธรรม
หมายถึง ธรรมะ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. เมตตา ๒. ทาน ๓. ความสำรวมในกาม ๔. สัจจะ ๕. สติ คู่กับ เบญจศีล - เบญจธรรม
หมายถึง หลักธรรม 5 ประการที่ควรปฏิบัติ - เบญจศีล
หมายถึง ศีล ๕ ได้แก่ ๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๓. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ ๕. งดเว้นจากการเสพสุราเมรัย คู่กับ เบญจธรรม - เมียน้อย
หมายถึง หญิงที่ชายเลี้ยงดูอย่างภรรยา แต่ไม่มีศักดิ์ศรีเท่าเมียหลวงหรือไม่ได้จดทะเบียน - เวนไตย
หมายถึง ครุฑ, บุตรของนางวินตา กับ ฤษี กัศยป - เศวตโรหิต
หมายถึง ครุฑ, ผู้มีสีขาวและแดง - เหม็น
หมายถึง ส้มเขียวหวานที่ยังอ่อนอยู่ ใช้ปรุงอาหารได้ เรียกว่า ส้มเหม็น - โสตทัศนูปกรณ์
หมายถึง อุปกรณ์การสอนสำหรับฟังและดู เช่น วิทยุ โทรทัศน์, โสตทัศนอุปกรณ์ ก็ว่า - ใบอนุญาต
หมายถึง เอกสารอนุญาตให้ทำกิจหรือให้มีสิทธิตามขอ ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ - ไม้ทัณฑฆาต
หมายถึง เครื่องหมายสำหรับฆ่าอักษรตัวที่ไม่ต้องออกเสียง รูปดังนี้ ( ์ ) ทัณฑฆาต ก็ว่า - ไวพจน์
หมายถึง คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน) - ไวพจน์
หมายถึง (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง