200 คำในภาษาไทย ที่ใช้บ่อย ในชีวิตประจำวัน
พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ
รวม 200 คำในภาษาไทยที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
- กงเกวียนกำเกวียน
หมายถึง (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน. - กระต่ายตื่นตูม
หมายถึง (สํา) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสํารวจให้ถ่องแท้ก่อน. - กระเหี้ยนกระหือรือ
หมายถึง ก. แสดงความกระตือรือล้นเอาจริงเอาจังอย่างออกนอกหน้า. - กระแนะกระแหน
หมายถึง [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า. - กลับกลอก
หมายถึง ก. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดจากลับกลอก, กลอกกลับ ก็ว่า. - การันต์
หมายถึง “ที่สุดอักษร”, ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีไม้ทัณฑฆาตกํากับไว้ เช่นตัว “ต์” ในคําว่า “การันต์” (ปาก) เรียกตัวอักษรที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับ เช่น ล์ ว่า ล การันต์ ค์ ว่า ค การันต์ - กาสร
หมายถึง [-สอน] (แบบ) น. ควาย. (ส.). - กิจกรรม
หมายถึง น. การที่ผู้เรียนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้; กิจการ. - กิตติกรรมประกาศ
หมายถึง น. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements). - กินสี่ถ้วย
หมายถึง ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีนํ้ากะทิใส่ชามอยู่กลาง]. - กุรุส
หมายถึง น. มาตรานับจำนวน เท่ากับ ๑๒ โหล หรือ ๑๔๔. (อ. gross). - ขมีขมัน
หมายถึง [ขะหฺมีขะหฺมัน] ว. รีบเร่งในทันทีทันใด. (ข. ขฺมี; ต. ขมัน). - ขัดเขมร
หมายถึง ก. ถกเขมร เช่น ทะเลาะกูกําหมัดขัดเขมร. (ดึกดําบรรพ์). - คดในข้องอในกระดูก
หมายถึง (สํา) ว. มีสันดานคดโกง. - คติพจน์
หมายถึง น. ถ้อยคําที่เป็นแบบอย่าง. - คนดีผีคุ้ม
หมายถึง (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม. - คร่ำครึ
หมายถึง ว. เก่าเกินไป, ไม่ทันสมัย. - คางคกขึ้นวอ
หมายถึง (สํา) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว. - คำนำ
หมายถึง น. คําอธิบายหรือชี้แจงเหตุที่เขียนหรือพิมพ์หนังสือเรื่องนั้นขึ้น. - คำประสม
หมายถึง น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คําขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมาอีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า. - คำพ้องรูป
หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู. - คำพ้องเสียง
หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์ - คำหลวง
หมายถึง น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง. - คุณค่า
หมายถึง [คุนค่า, คุนนะค่า] น. สิ่งที่มีประโยชน์หรือมีมูลค่าสูง. - คุณสมบัติ
หมายถึง [คุนนะสมบัด, คุนสมบัด] น. คุณงามความดี, คุณลักษณะประจําตัวของบุคคล เช่น คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง. - จักรวาล
หมายถึง [-วาน] น. ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพงล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของโลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล). - จังหวะจะโคน
หมายถึง (ปาก) น. จังหวะ. - จาบัล
หมายถึง [-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว). - จูงจมูก
หมายถึง ก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดยปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนําไปโดยไม่ใช้ความคิดของตน. - ฉีกคำ
หมายถึง ก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์. - ชลนัยน์
หมายถึง (กลอน) น. นํ้าตา. - ชลาสินธุ์
หมายถึง น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย). - ตรากตรำ
หมายถึง [ตฺรากตฺรํา] ว. ทนทําอย่างไม่คิดถึงความยากลําบาก เช่น ทํางานอย่างตรากตรํา; อย่างสมบุกสมบัน, อย่างไม่ปรานีปราศรัย, เช่น ใช้อย่างตรากตรํา. - ตามใจปากมากหนี้
หมายถึง (สํา) ก. เห็นแก่กินย่อมสิ้นเปลืองมาก. - ตีวัวกระทบคราด
หมายถึง (สํา) ก. โกรธคนหนึ่งแต่ทําอะไรเขาไม่ได้ ไพล่ไปรังควานอีกคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องและตนสามารถทําได้. - ตีสองหน้า
หมายถึง ก. ทําให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดว่าเป็นพวกตน. - ถอดความ
หมายถึง ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น. - ทศกัณฐ์
หมายถึง น. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์. - ทินกร
หมายถึง [ทินนะกอน] น. พระอาทิตย์. (ป., ส.). - ทิ้งจดหมาย
หมายถึง ก. ส่งจดหมายทางไปรษณีย์. - ทุจริต
หมายถึง [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริตในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต). - ทุรกันดาร
หมายถึง ว. ที่ไปมาลําบากมาก, ที่ห่างไกลความเจริญ. - ธ
หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๔ เป็นพวกอักษรตํ่า และใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สุเมธ มคธ. - นฤคหิต
หมายถึง [นะรึคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ส. นิคฺฤหีต; ป. นิคฺคหีต). (ดู นิคหิต). - นั่งเทียน
หมายถึง น. เรียกวิธีทํานายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตรเป็นต้นแล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทํานายไปตามลักษณะของรูปที่ปรากฏในนํ้านั้น. - นาคี
หมายถึง (กลอน) น. งู เช่น นาคีมีพิษเพี้ยง สุริโย. (โลกนิติ). - นิราศ
หมายถึง [-ราด] ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก. น. เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง. (ส.). - นี่แน่ะ
หมายถึง คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. - บรรณานุกรม
หมายถึง [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ. - บรรลัย
หมายถึง [บันไล] ก. ฉิบหาย, วอดวาย, ย่อยยับ, มอดม้วย, ประลัย ก็ว่า. - บราลี
หมายถึง [บะรา-] น. ยอดเล็ก ๆ มีสัณฐานดุจยอดพระทราย ใช้เสียบราย ๆ ไปตามอกไก่หลังคา หรือเสียบหลังบันแถลงบนหลังคาเครื่องยอด. - บริบท
หมายถึง [บอริบด] (ไว) น. คําหรือข้อความแวดล้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจความหมาย, ปริบท ก็ว่า. - บาทบงสุ์
หมายถึง [บาดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป. ปาทปํสุ). - บิตุรงค์
หมายถึง (กลอน) น. พ่อ. (ป. ปิตุ + องฺค). - บิตุเรศ
หมายถึง (กลอน) น. พ่อ. - บุคลากร
หมายถึง [บุกคะลากอน] น. ตําแหน่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เช่นในการบรรจุแต่งตั้ง เลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน เป็นต้น; ผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน. - ประดิษฐาน
หมายถึง [ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺาน; ป. ปติฏฺาน). - ปรารภ
หมายถึง [ปฺรารบ] ก. กล่าวถึง; ตั้งต้น; ดําริ. (ส.). - ปริศนาอักษรไขว้
หมายถึง น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคําลงในตารางสี่เหลี่ยมที่กําหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนวยืนและแนวนอน. - ปฤษฎางค์
หมายถึง [ปฺริดสะดาง] น. อวัยวะเบื้องหลัง, ส่วนหลัง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระปฤษฎางค์, พระขนอง ก็ว่า. - ปัจเจกบุคคล
หมายถึง [ปัดเจกกะ-] น. บุคคลแต่ละคน. - ปากปราศรัยใจเชือดคอ
หมายถึง (สํา) ก. พูดดีแต่ใจคิดร้าย. - ปากว่าตาขยิบ
หมายถึง (สํา) ก. พูดอย่างหนึ่แต่ทําอีกอย่างหนึ่ง. ว. ปากกับใจไม่ตรงกัน. - ปากไม่มีหูรูด
หมายถึง ว. ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด. - ฝนตกขี้หมูไหล
หมายถึง (สํา) ก. พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน, มักใช้เข้าคู่กับ คนจัญไรมาพบกัน ว่า ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน. - พจนารถ
หมายถึง [พดจะนาด] น. เนื้อความของคําพูด. (ส.). - พจมาน
หมายถึง [พดจะมาน] น. คําพูด. - พรรณนาโวหาร
หมายถึง น. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียดเพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ. - พร่ำเพรื่อ
หมายถึง ว. เกินขอบเขต, บ่อย ๆ ไม่เป็นกิจจะลักษณะ, เช่น พูดพร่ำเพรื่อ, เพรื่อ ก็ว่า. - พฤกษา
หมายถึง [พฺรึกสา] น. ต้นไม้. - พลความ
หมายถึง [พนละ-] น. ข้อความที่ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่อง, ตรงข้ามกับ ใจความ. - พืชชั้นสูง
หมายถึง น. พืชหลายเซลล์ แต่ละเซลล์ทําหน้าที่ต่างกันและต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ ไม้ดอกและไม้ผล เช่น กล้วยตานี มะม่วง. - พูดดีเป็นศรีแก่ปาก
หมายถึง (สํา) น. พูดดีเป็นที่นิยมชมชอบ. - พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
หมายถึง (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า. - ฟันหนู
หมายถึง น. ชื่อเครื่องหมาย ๒ ขีด รูปดังนี้ " สําหรับเขียนบนสระ ิให้เป็น สระ ื ,มูสิกทันต์ ก็ว่า. - ภาษาคำโดด
หมายถึง น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language). - ภาษาปาก
หมายถึง น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า. - ภาษาระดับทางการ
หมายถึง น. ภาษาราชการ - ภาษาระดับพิธีการ
หมายถึง น. ภาษาแบบแผน. - ภาษาราชการ
หมายถึง น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ. - ภาษาแบบแผน
หมายถึง น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก. - ภิรมย์
หมายถึง ดู อภิรมย์. - ภูมิฐาน
หมายถึง [พูมถาน] ว. สง่าผ่าเผย, โก้หรู, เช่น แต่งตัวภูมิฐาน. - มณฑา
หมายถึง [มนทา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Talauma candollei Blume ในวงศ์ Magnoliaceae ใบใหญ่ ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม; มณฑารพ. - มณโฑ
หมายถึง มเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา - มฤค
หมายถึง [มะรึก] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค). - มหัพภาค
หมายถึง [มะหับพาก] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ .; ภาคใหญ่. - รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
หมายถึง (สํา) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, ยาวบั่น สั้นต่อ ก็ว่า. - รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
หมายถึง (สํา) ก. ทําไม่ดีหรือทําผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รําชั่วโทษพากย์ ก็ว่า. - รู้จักเก็บรู้จักงำ
หมายถึง (สํา) ก. รู้จักเก็บรักษาข้าวของ. - รู้จักเก็บรู้จักเขี่ย
หมายถึง (สํา) ก. รู้จักสะสม, รู้จักหา. - รู้แล้วรู้รอด
หมายถึง ก. เสร็จสิ้นกันที เช่น เรื่องนี้จะว่าอย่างไรก็ว่ากัน จะได้รู้แล้วรู้รอดไปเสียที. - ฤดี
หมายถึง [รึ-] น. รติ, ความยินดี, ใจ. (ป., ส. รติ). - ฤทธา
หมายถึง [ริด-] น. อํานาจศักดิ์สิทธิ์ เช่น รุ่งเรืองฤทธาศักดาเดช. (อิเหนา). (ส.; ป. อิทฺธา). - ลงอ่าง
หมายถึง เที่ยวสถานบริการอาบ อบ นวด ซึ่งจะประกอบด้วยการ นวดคลายเส้น อาบน้ำ แช่น้ำอุ่นในอ่าง - ลักหลับ
หมายถึง ก. ลักลอบร่วมประเวณีขณะที่ผู้หญิงนอนหลับ. - ลิงได้แก้ว
หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่, วานรได้แก้ว ก็ว่า. - ลิ้นไม่มีกระดูก
หมายถึง (สํา) ก. พูดสับปลับ กลับกลอกเอาแน่ไม่ได้. - วงเล็บปีกกา
หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควงคำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x - 5{7 - (x - 6) + 3x} - 28 = 39. - วร
หมายถึง [วะระ-, วอระ-] น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. (ป., ส.). - วัวสันหลังหวะ
หมายถึง น. คนที่มีความผิดติดตัวทําให้คอยหวาดระแวง, วัวสันหลังขาด ก็ว่า. - ศฤงคาร
หมายถึง [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่). - ศัพท์บัญญัติ
หมายถึง น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ. - สถุล
หมายถึง [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล). - สนอม
หมายถึง [สะหฺนอม] ก. ถนอม. - สมุหนาม
หมายถึง (ไว) น. คํานามที่บอกลักษณะของคน สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก เช่น กอง หมู่ คณะ ฝูง พวก. - สมเพช
หมายถึง [-เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถาแล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช). - สรวล
หมายถึง [สวน] ก. หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล. - สวยแต่รูป จูบไม่หอม
หมายถึง (สํา) ว. มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติ ท่าทีวาจา และกิริยามารยาทไม่ดี. - สวรรค์ในอก นรกในใจ
หมายถึง (สํา) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง. - สัญประกาศ
หมายถึง [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ - ใช้ขีดไว้ใต้คําหรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก. - สัมปรายภพ
หมายถึง [-ปะรายะ-, -ปะราย-] น. ภพหน้า. (ป., ส.). - สัมผัสสระ
หมายถึง น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น . (เพลงยาวถวายโอวาท), . (นิ. วัดสิงห์). - สาวแก่
หมายถึง น. หญิงที่มีอายุเลยวัยสาว แต่ยังไม่ได้แต่งงาน. - สำรวจ
หมายถึง [สำหฺรวด] ก. ตรวจสอบ เช่น สํารวจสํามะโนครัว สำรวจพฤติกรรม, ตรวจหา เช่น สํารวจแหล่งแร่. - สิงขร
หมายถึง [-ขอน] น. สิขร - สิทธัตถะ
หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว - สิทธิชัย
หมายถึง น. ผู้มีความรู้ขลังในเวทมนตร์; ใช้เรียกหัวหน้าพราหมณ์พฤฒิบาศ. - สินธุ์
หมายถึง (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี. - สินธู
หมายถึง (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น มังกรเกี่ยวเลี้ยวล่องท้องสินธู เป็นคู่คู่เคียงมาในวารี. (อภัย), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธุ์ ก็มี. - สีซอให้ควายฟัง
หมายถึง (สํา) ก. สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า. - สุนทรพจน์
หมายถึง [สุนทอนระ-, สุนทอระ-] น. คําพูดที่ประธานหรือบุคคลสําคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสําคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ. - สูจิบัตร
หมายถึง น. ใบแจ้งกำหนดการต่าง ๆ ในการประชุม การแสดงมหรสพเป็นต้น เช่น สูจิบัตรการแสดงวิพิธทัศนา. - หนูตกถังข้าวสาร
หมายถึง (สํา) น. ผู้ชายที่มีฐานะไม่ค่อยดีได้แต่งงานกับผู้หญิงที่รุ่มรวย, ตกถังข้าวสาร ก็ว่า. - หน้ากล้อ
หมายถึง น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว. - หน้าซื่อใจคด
หมายถึง (สํา) ว. มีสีหน้าดูซื่อ ๆ แต่มีนิสัยคดโกง. - หน้าตัวเมีย
หมายถึง น. ลักษณะหน้าตาท่าทางคล้ายผู้หญิง, โดยปริยายหมายความว่า ใจเสาะ, ขี้ขลาด, ไม่กล้าสู้, (มักพูดเป็นเชิงเหยียดหยามผู้ชาย). - หน้าไหว้หลังหลอก
หมายถึง (สำ) ว. ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทาหรือหาทางทำร้าย, ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก ก็ว่า. - หมากัดอย่ากัดตอบ
หมายถึง (สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า. - หยาดน้ำค้าง
หมายถึง น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ นฤคหิต ก็เรียก. (ดู นิคหิต); ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, เม็ดน้ำค้าง ก็เรียก. - หลงจู๊
หมายถึง น. ผู้จัดการ. (จ.). - หัวล้านได้หวี
หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ ตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. - หัวหน่าว
หมายถึง น. ส่วนของร่างกายอยู่ระหว่างท้องน้อยกับอวัยวะสืบพันธุ์. - หึ
หมายถึง ว. เสียงดังเช่นนั้น. - อนธการ
หมายถึง น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อันธการ ก็ว่า. (ป.). - อภินันทนาการ
หมายถึง น. ความยินดียิ่ง เช่น ด้วยอภินันทนาการ หมายถึง ให้ด้วยความยินดียิ่ง. (ป. อภินนฺทน + อาการ). - อร
หมายถึง [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ). - อักษรกลาง
หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ. - อัชฌาสัย
หมายถึง [-ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย). - อัญประกาศ
หมายถึง [อันยะ-] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ “ ” สําหรับเขียนคร่อมคําหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้นให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น. - อัญประกาศเดี่ยว
หมายถึง น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ‘ ’ สําหรับเขียนคร่อมคําหรือข้อความที่ซ้อนอยู่ภายในข้อความที่มีเครื่องหมายอัญประกาศอยู่แล้ว. - อัธยาศัย
หมายถึง [อัดทะยาไส] น. นิสัยใจคอ เช่น เขาเป็นคนมีอัธยาศัยดี; ความพอใจ, ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย; ป. อชฺฌาสย). - อัพภาส
หมายถึง [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส). - อาการนาม
หมายถึง [อาการะนาม] (ไว) น. คํานามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคํากริยาหรือคําวิเศษณ์ที่มักมีคํา “การ” หรือ “ความ” นําหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย. - อาสัญ
หมายถึง (แบบ) น. ความตาย. (วรรณ) ก. ตาย เช่น โทษลูกนี้ผิดเป็นนักหนา ดังแกล้งผลาญมารดาให้อาสัญ. (สังข์ทอง). (ป. อสญฺ ว่า ไม่มีสัญญา). - อุปมาโวหาร
หมายถึง น. สํานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ. - เก็บหอมรอมริบ
หมายถึง ก. เก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กละน้อย. - เขมา
หมายถึง [ขะเหฺมา] น. โกฐเขมา. (ดู โกฐเขมา). (ข. เขฺมา ว่า ดํา). - เข็นครกขึ้นเขา
หมายถึง (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน. - เข้าลิลิต
หมายถึง ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต." - เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม
หมายถึง (สํา) ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. - เค้ง
หมายถึง (ปาก) ก. เป็นคําบอกเด็กให้นอน เช่น เค้งเสีย, เคล้ง ก็ว่า. - เงี่ยน
หมายถึง ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ). - เซ็งแซ่
หมายถึง ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด - เฌอเอม
หมายถึง ชะเอม ก็ว่า - เทศนาโวหาร
หมายถึง น. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนาของพระ. - เทอญ
หมายถึง [เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคําลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร). - เปรมปรีดิ์
หมายถึง [-ปฺรี] ว. อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ. - เพลา
หมายถึง [เพ-ลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา). - เมฆา
หมายถึง (กลอน) น. เมฆ. - เมรุมาศ
หมายถึง [เมรุมาด] น. เมรุทอง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระเมรุมาศ. - เยาวมาลย์
หมายถึง น. หญิงสาวสวย. - เย็ด
หมายถึง (ปาก) ก. ร่วมประเวณี. - เรี่ยมเร้
หมายถึง (ปาก) ว. เรี่ยมมาก. - เลิ่กลั่ก
หมายถึง ว. แสดงอาการทําหน้าตาตื่นเพราะอัศจรรย์ใจ แปลกใจ หรือตกใจ เป็นต้น. - เลี้ยงเสียข้าวสุก
หมายถึง ก. เลี้ยงแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร. - เลี้ยงไม่เชื่อง
หมายถึง ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอามาเลี้ยงอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ. - เวี่ย
หมายถึง (กลอน) ก. คล้อง, ทัดไว้, เวี่ยว ก็ว่า. - เสนี
หมายถึง (กลอน) น. เสนา. - เสมอต้นเสมอปลาย
หมายถึง ว. สมํ่าเสมอ, คงเส้นคงวา, ไม่เปลี่ยนแปลง, มักใช้ในทางดี เช่น แม้เขาจะมีอำนาจวาสนา เขาก็ยังไปเยี่ยมเยียนครูบาอาจารย์เสมอต้นเสมอปลาย. - เสมา
หมายถึง [เส-มา] น. สีมา, เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์; เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกําแพงอย่างกําแพงเมืองว่า ใบเสมา; เครื่องประดับหรือเครื่องรางสําหรับห้อยคอ มีรูปร่างอย่างใบเสมา. (ป., ส. สีมา). - เสล
หมายถึง [-ละ-] น. ภูเขา, หิน. ว. เต็มไปด้วยหิน. (ป.; ส. ไศล). - เสสรวล
หมายถึง [-สวน] ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, สรวลเสหรือ สรวลเสเฮฮา ก็ว่า. - เสียงกระเส่า
หมายถึง น. เสียงสั่นเครือและเบา. - เสียงนกเสียงกา
หมายถึง (สำ) น. ความเห็นของคนที่ไม่มีอำนาจ เช่น เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ น่าจะฟังเสียงนกเสียงกาบ้าง. - เสือก
หมายถึง ก. ไสไป, ผลักไป; สาระแน, (เป็นคำไม่สุภาพ). - เสเพล
หมายถึง [-เพฺล] ว. ชอบประพฤติเหลวไหล, ไม่เอางานเอาการ, เช่น คนเสเพล, มีความประพฤติเหลวแหลก ในคำว่า หญิงเสเพล. - เหน็บแนม
หมายถึง ว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้กระทบกระเทียบเปรียบเปรย. - เหล้าแห้ง
หมายถึง (ปาก) น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็นยานอนหลับจําพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียมเซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็นยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น. - เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
หมายถึง (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานรัดก้น. - เห็นผิดเป็นชอบ
หมายถึง ก. เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง, เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ก็ว่า. - เอาทองไปรู่กระเบื้อง
หมายถึง (สํา) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือคนที่มีฐานะตํ่ากว่า เป็นการไม่สมควร, เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ ก็ว่า. - แกงได
หมายถึง น. รอยกากบาทหรือรอยขีดเขียน ซึ่งบุคคลทําไว้เป็นสําคัญ, ในทางกฎหมาย ถ้าทําลงในเอกสารโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง ๒ คน หรือทําต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ. - แข่งเรือแข่งแพแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้
หมายถึง (สำ) ก. รู้ประมาณความสามารถของตนไม่อาจเอื้อมเกินตัว. - แดนไตร
หมายถึง น. โลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภพ คือภพของเทวดาลงมา, รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป; หรือ สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล. - แตด
หมายถึง น. ส่วนแห่งอวัยวะเพศของหญิง อยู่ระหว่างแคมในตอนบน, เม็ดละมุด ก็ว่า. - แปรพระราชฐาน
หมายถึง [-พฺระราดชะถาน] (ราชา) ก. เปลี่ยนสถานที่ประทับไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว. - แรงหนีศูนย์กลาง
หมายถึง (ฟิสิกส์) น. แรงที่กระทําต่อเทหวัตถุในขณะที่เทหวัตถุนั้นเคลื่อนที่เป็นทางวงกลม แรงนี้มีแนวทิศออกจากจุดศูนย์กลางของทางวงกลมนั้น และมีขนาดเท่ากับแรงสู่ศูนย์กลาง. (อ. centrifugal force). - แสล้ม
หมายถึง [สะแล่ม] ว. สวย, งดงาม, แช่มช้อย, แฉล้ม หรือ แชล่ม ก็ใช้. - โกฏิ
หมายถึง [โกด] น. ชื่อมาตรานับ เท่ากับ ๑๐ ล้าน. - โกหก
หมายถึง ก. จงใจกล่าวคําที่ไม่จริง, พูดปด, พูดเท็จ, (มักใช้ในที่ไม่สุภาพ). (ป., ส. กุหก). - โขยกเขยก
หมายถึง อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน อาการที่เดินไปด้วยความลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ กะโผลกกะเผลก ก็ว่า - โตมร
หมายถึง [-มอน] น. อาวุธสําหรับซัด, หอกซัด, สามง่ามที่มีปลอกรูปเป็นใบโพสวมอยู่. (ป., ส.). - โศกเศร้า
หมายถึง ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มาก เช่น พ่อตายทำให้เขาโศกเศร้าเสียใจมาก, เศร้าโศก ก็ว่า. - โอดครวญ
หมายถึง ก. รํ่าไห้, ครํ่าครวญ; รํ่ารําพัน. - ไซร้
หมายถึง [ไซ้] ว. คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว. - ได้คืบจะเอาศอก
หมายถึง (สำ) ต้องการได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว. - ไพรสณฑ์
หมายถึง น. แนวป่า. - ไม้จัตวา
หมายถึง น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ๋ บอกเสียงสูงสุดใน ๕ เสียง. - ไอยรา
หมายถึง [-ยะ-] (กลอน) น. ช้าง.
คิดว่าน่าจะเต็มอิ่มกับคำในภาษาไทยทั้ง 200 คำกันไปแล้วเนอะ หวังว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้นำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันกัน
หากยังไม่เจอคำไหน หรือคิดว่ามีตกหล่นไป สามารถแจ้งแนะนำกันเข้ามาได้เลย