พจนานุกรมไทย รวม 50 คำในภาษาไทย ที่ใช้บ่อย มาทำการเรียนรู้กัน จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ ไปดูกันเลย

พจนานุกรมภาษาไทย แปลคำในภาษาไทย ค้นหาความหมายของคำศัพท์ออนไลน์ ใช้งานง่าย ๆ สะดวกรวดเร็ว พร้อมทั้งแยกตามหมวดหมู่ของคำ


รวมคำในภาษาไทยยอดนิยม 50 คำ

พจนานุกรมไทย รวม 50 คำในภาษาไทย ที่ใช้บ่อย มาทำการเรียนรู้กัน จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ ไปดูกันเลย

  1. กินสี่ถ้วย
    หมายถึง ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีนํ้ากะทิใส่ชามอยู่กลาง].
  2. เข็นครกขึ้นเขา
    หมายถึง (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  3. เข้าลิลิต
    หมายถึง ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต."
  4. โขยกเขยก
    หมายถึง อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน อาการที่เดินไปด้วยความลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ กะโผลกกะเผลก ก็ว่า
  5. คนดีผีคุ้ม
    หมายถึง (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
  6. คำพ้องรูป
    หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
  7. เค้ง
    หมายถึง (ปาก) ก. เป็นคําบอกเด็กให้นอน เช่น เค้งเสีย, เคล้ง ก็ว่า.
  8. เงี่ยน
    หมายถึง ก. อยากจัด, กระหายจัด, มีความรู้สึกอยากหรือกระหายเป็นกําลัง, (โดยมากใช้เฉพาะของเสพติดและกามคุณ).
  9. ชลาสินธุ์
    หมายถึง น. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).
  10. เซ็งแซ่
    หมายถึง ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด
  11. ไซร้
    หมายถึง [ไซ้] ว. คําสําหรับเน้นความหมายของคําหน้า มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว.
  12. ทศกัณฐ์
    หมายถึง น. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
  13. ทินกร
    หมายถึง [ทินนะกอน] น. พระอาทิตย์. (ป., ส.).
  14. เทอญ
    หมายถึง [เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคําลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).
  15. นฤคหิต
    หมายถึง [นะรึคะหิด] (โบ) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ํ, นิคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก. (ส. นิคฺฤหีต; ป. นิคฺคหีต). (ดู นิคหิต).
  16. นิราศ
    หมายถึง [-ราด] ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก. น. เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่าง ๆ เป็นต้น มักแต่งเป็นกลอนหรือโคลง เช่น นิราศนรินทร์ นิราศเมืองแกลง. (ส.).
  17. บรรณานุกรม
    หมายถึง [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบการค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใดยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือบทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.
  18. บรรลัย
    หมายถึง [บันไล] ก. ฉิบหาย, วอดวาย, ย่อยยับ, มอดม้วย, ประลัย ก็ว่า.
  19. เปรมปรีดิ์
    หมายถึง [-ปฺรี] ว. อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ.
  20. พจมาน
    หมายถึง [พดจะมาน] น. คําพูด.
  21. พฤกษา
    หมายถึง [พฺรึกสา] น. ต้นไม้.
  22. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
    หมายถึง (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
  23. เพลา
    หมายถึง [เพ-ลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา).
  24. ภาษาแบบแผน
    หมายถึง น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.
  25. ภาษาระดับทางการ
    หมายถึง น. ภาษาราชการ
  26. ภาษาระดับพิธีการ
    หมายถึง น. ภาษาแบบแผน.
  27. ภิรมย์
    หมายถึง ดู อภิรมย์.
  28. มฤค
    หมายถึง [มะรึก] น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. (ส.; ป. มิค).
  29. รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ
    หมายถึง (สํา) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาตพยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, ยาวบั่น สั้นต่อ ก็ว่า.
  30. รู้จักเก็บรู้จักเขี่ย
    หมายถึง (สํา) ก. รู้จักสะสม, รู้จักหา.
  31. ลิงได้แก้ว
    หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่, วานรได้แก้ว ก็ว่า.
  32. เลี้ยงไม่เชื่อง
    หมายถึง ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอามาเลี้ยงอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ.
  33. สถุล
    หมายถึง [สะถุน] ว. หยาบ, ตํ่าช้า, เลวทราม, (ใช้เป็นคำด่า), เช่น เลวสถุล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่สถุล. (ส. สฺถูล ว่า อ้วน, หยาบ; ป. ถูล).
  34. สิงขร
    หมายถึง [-ขอน] น. สิขร
  35. สิทธัตถะ
    หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว
  36. สินธุ์
    หมายถึง (กลอน) น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร. (สมบัติอัมรินทร์), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี.
  37. สีซอให้ควายฟัง
    หมายถึง (สํา) ก. สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า.
  38. สูจิบัตร
    หมายถึง น. ใบแจ้งกำหนดการต่าง ๆ ในการประชุม การแสดงมหรสพเป็นต้น เช่น สูจิบัตรการแสดงวิพิธทัศนา.
  39. เสมา
    หมายถึง [เส-มา] น. สีมา, เครื่องหมายบอกเขตโบสถ์; เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายใบสีมาที่เรียงกันอยู่บนกําแพงอย่างกําแพงเมืองว่า ใบเสมา; เครื่องประดับหรือเครื่องรางสําหรับห้อยคอ มีรูปร่างอย่างใบเสมา. (ป., ส. สีมา).
  40. เสสรวล
    หมายถึง [-สวน] ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, สรวลเสหรือ สรวลเสเฮฮา ก็ว่า.
  41. เสียงนกเสียงกา
    หมายถึง (สำ) น. ความเห็นของคนที่ไม่มีอำนาจ เช่น เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ น่าจะฟังเสียงนกเสียงกาบ้าง.
  42. หมากัดอย่ากัดตอบ
    หมายถึง (สำ) ก. อย่าลดตัวลงไปต่อสู้หรือต่อปากต่อคำกับคนพาลหรือคนที่มีศักดิ์ต่ำกว่า.
  43. หัวล้านได้หวี
    หมายถึง (สำ) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ ตาบอดได้แว่น เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น.
  44. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
    หมายถึง (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานรัดก้น.
  45. อนธการ
    หมายถึง น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อันธการ ก็ว่า. (ป.).
  46. อภินันทนาการ
    หมายถึง น. ความยินดียิ่ง เช่น ด้วยอภินันทนาการ หมายถึง ให้ด้วยความยินดียิ่ง. (ป. อภินนฺทน + อาการ).
  47. อักษรกลาง
    หมายถึง [อักสอน-] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คําตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.
  48. อัชฌาสัย
    หมายถึง [-ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย).
  49. อุปมาโวหาร
    หมายถึง น. สํานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ.
  50. โอดครวญ
    หมายถึง ก. รํ่าไห้, ครํ่าครวญ; รํ่ารําพัน.

คิดว่าน่าจะเต็มอิ่มกับคำในภาษาไทยทั้ง 50 คำกันไปแล้วเนอะ หวังว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้นำไปใช้ต่อในชีวิตประจำวันกัน

หากยังไม่เจอคำไหน หรือคิดว่ามีตกหล่นไป สามารถแจ้งแนะนำกันเข้ามาได้เลยค่ะ

ชอบเนื้อหาชุดนี้ กดให้คะแนน 5 ดาวกับเราได้เลยจ้า