ตัวกรองผลการค้นหา
กฤด,กฤด-
หมายถึง[กฺริดะ-] (แบบ) ว. อันกระทำแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. (ส. กฺฤต; ป. กต).
กฤดา,กฤดาการ
หมายถึง[กฺริดา, กฺริดากาน] (โบ; กลอน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น. (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ. (เสภาสุนทรภู่).
กฤษฎีกา
หมายถึง[กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย.
คฤหปัตนี
หมายถึง[คะรึหะปัดตะนี] (แบบ) น. หญิงที่เป็นเจ้าบ้าน, ภรรยาของคฤหบดี, คหปตานี ก็ว่า. (ส. คฺฤหปตฺนี; ป. คหปตานี).
ชัยพฤกษ์
หมายถึง[ไชยะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia javanica L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝักเกลี้ยง ใช้ทำยาได้.
ดำฤษณา
หมายถึง[ดำริดสะหฺนา] น. ความปรารถนา, ความดิ้นรน, ความอยาก, ความเสน่หา. (ส. ตฺฤษฺณา; ป. ตณฺหา).
ตฤณมัย
หมายถึงว. แล้วไปด้วยหญ้า, ทำด้วยหญ้า. น. สนามหญ้า. (ส.).
ทฤษฎี
หมายถึง[ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺิ). (อ. theory).
ทองสัมฤทธิ์
หมายถึงน. โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, สัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก.
นฤตยศาลา
หมายถึงน. ห้องเต้นรำ. (ส.).
นฤตยศาสตร์
หมายถึงน. วิทยาหรือศิลปะแห่งการระบำ. (ส.).
นฤเบศ
หมายถึงน. พระราชา.