ตัวกรองผลการค้นหา
หางไหลแดง
หมายถึงน. ชื่อไม้เถาชนิด Derris elliptica (Roxb.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae รากใช้เบื่อปลาและทำยาฆ่าแมลง, ไหลนํ้า หรือ โล่ติ๊น ก็เรียก.
ซ่อม
หมายถึงก. ทำสิ่งที่ชำรุดให้คืนดี; แทง. น. เรียกช้างสำหรับใช้ฆ่าคนว่า ช้างซ่อม เช่น ช้างพลายซ่อมตัวหนึ่ง เป็นช้างเพชฌฆาต. (พงศ. เลขา).
เช็คขีดคร่อมทั่วไป
หมายถึง(กฎ) น. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้า กับมีหรือไม่มีคำว่า “และบริษัท” หรือคำย่ออย่างใด ๆ แห่งข้อความนี้อยู่ในระหว่างเส้นทั้งสองนั้น และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น.
เคี่ยว
หมายถึงก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ดีดีที
หมายถึงน. ชื่อสารประกอบเคมี มีชื่อเต็มว่า Dichloro Diphenyl Trichloroethane มีสูตร (C6H4Cl)2·CH·CCl3 ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ใช้ประโยชน์เป็นสารอย่างแรงในการฆ่าแมลง.
ทุพภิกขันดร,ทุพภิกขันดรกัป
หมายถึง[ทุบพิกขันดอน, ทุบพิกขันดะระกับ] น. ระยะเวลาที่กำหนดไว้ว่าเป็นตอนที่ขาดแคลนอาหาร, คู่กับ สัตถันดรกัป คือ ระยะเวลาที่ฆ่าฟันกันไม่หยุดหย่อน. (ป.).
ประหารชีวิต
หมายถึงก. ลงโทษฆ่า. (กฎ) น. โทษทางอาญาขั้นสูงสุดที่ลงแก่ผู้กระทำความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ วิธีประหารชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา คือ การเอาตัวผู้ต้องโทษประหารชีวิตไปยิงเสียให้ตาย.
หย่อน
หมายถึงก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกำลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.
ฆ
หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคำไทยมีบ้างเล็กน้อย คือ ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ระฆัง ตะเฆ่.
สำทับ
หมายถึงก. ยํ้า, กำชับ, เช่น เขาสั่งให้ทำงานแล้วสำทับว่าต้องเสร็จใน ๓ วัน, ซ้ำเติม เช่น ลูกถูกแม่ตีแล้วพ่อยังสำทับว่าถ้าทำอีกก็จะถูกตีอีก, ขู่ เช่น ผู้ร้ายสำทับว่า อย่าไปบอกตำรวจมิฉะนั้นจะฆ่าปิดปาก.
ฟิวส์
หมายถึงน. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นโลหะเจือที่มีขีดหลอมตัวตํ่า เช่น โลหะดีบุกเจือตะกั่ว ใช้ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าเพื่อป้องกันมิให้กระแสไฟฟ้าที่มีขนาดเกินกำหนดเคลื่อนที่เข้าวงจรไฟฟ้าได้. (อ. fuse).
อัพโพหาริก
หมายถึงว. ไม่ควรกล่าวอ้าง, ไม่ควรอ้างเป็นกฎเกณฑ์ คือ ไม่ควรนับว่าผิดวินัยหรือกฎหมาย เช่นผู้กินแกงซึ่งปรุงด้วยเหล้าบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรสการกินเหล้าในที่นี้เป็น อัพโพหาริก คือ ไม่ควรนับว่ากินเหล้า. (ป.).