ค้นเจอ 138 รายการ

ละเอียดอ่อน

หมายถึงว. ประณีต, นิ่มนวล, เช่น การรำไทยเป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อน ศิลปะและดนตรีมีความละเอียดอ่อน; ลึกซึ้ง, สลับซับซ้อน, ยากที่จะเข้าใจได้, เช่น ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน; อ่อนไหวง่าย, สะเทือนใจง่าย, เช่น บางคนถือเรื่องส่วนตัว เรื่องการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน.

วาด

หมายถึงก. เขียนหรือลากเส้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพ เช่น วาดภาพดอกไม้ วาดภาพทิวทัศน์, เขียนเป็นลายเส้น เช่น วาดภาพลายไทย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น วาดวิมานในอากาศเสียสวยหรู วาดโครงการในอนาคต; ทอดแขนหรือกรายแขนอย่างอ่อนช้อยในการฟ้อนรำ.

ลูกคู่

หมายถึงน. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับพ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยายหมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่.

หางหงส์

หมายถึงน. ชายผ้านุ่งที่จีบโจงแล้วไปเหน็บไว้ข้างหลัง ปล่อยให้จีบคลี่ห้อยจากเอวเบื้องหลังลงมาถึงหว่างขาอย่างตัวพระแต่งในละครรำ; เรียกเครื่องประดับที่ทำเป็นรูปคล้ายหางหงส์ติดตั้งอยู่ปลายรวยระกา หรือปลายตะเข้สันหลังคาของโบสถ์และพระที่นั่งเป็นต้นตามแบบสถาปัตยกรรมไทย.

ยุบ

หมายถึงก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัวให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไลทำแหวน.

เก้อ

หมายถึงว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทำอะไรผิดพลาดไป เช่น ทำหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทำแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รำเก้อ เรือนหลังนี้ทำไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.

รำแพน

หมายถึงก. แผ่หางกระดกขึ้นหรือแผ่ปีกแล้วเดินกรีดกรายไปมา (ใช้แก่นกยูง นกหว้า และนกแว่น). น. การเล่นอย่างโบราณชนิดหนึ่งในการพระราชพิธี ผู้เล่นนุ่งผ้าหยักรั้ง สวมเสื้อคอกลม มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออกท่าต่าง ๆ เลี้ยงตัวอยู่บนราวลวด.

กระบี่ลีลา

หมายถึงน. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทำนองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็นเพลงร้องรำ ๒ ชั้น ทำนองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและกลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่นตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดำบรรพ์).

ต้อน

หมายถึงก. สกัดกั้นให้ไปตามที่ต้องการ, ไล่ไปโดยวิธีกันไม่ให้แตกฝูง, เช่น ต้อนควายเข้าคอก, ดักหน้าดักหลัง เช่น รำต้อน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ต้อนเข้ามุม ต้อนให้จนมุม. น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าตามริมฝั่งชนิดหนึ่ง ใช้เฝือกกั้นเป็นคอก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งมีประตูเปิดปิดได้ ในคอกสะด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อให้ปลาเข้าอยู่, กะตํ้า ก็ว่า.

วง

หมายถึงน. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกันเป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ในการรำ, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรำ; ลักษณนามใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คนนั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วง หรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็นชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วงประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทำเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอเขียนเป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.

หยวก

หมายถึงน. ลำต้นกล้วย เช่น หั่นหยวกต้มกับรำให้หมูกิน, บางทีก็เรียกว่า หยวกกล้วย เช่น แพหยวกกล้วย, ส่วนในหรือแกนอ่อนของลำต้นเทียมของกล้วย มีสีขาว กินได้ เช่น ต้มหยวก แกงหยวก, กาบกล้วย ในคำว่า แทงหยวก; (ปาก) ไม่แข็งแน่น เช่น มีดเล่มนี้คมมาก ตัดกิ่งไม้ได้ง่ายเหมือนฟันหยวก, ใช้เปรียบผิวที่ขาวมากว่า ขาวเหมือนหยวก.

สารถีชักรถ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทย ๒ ชั้นทำนองหนึ่ง ต่อมามีผู้แต่งขยายเป็น ๓ ชั้น แล้วตัดลงเป็นชั้นเดียว เพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา เรียกว่า เพลงสารถีเถา; วิธีรำละครท่าหนึ่งอยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา.(ฟ้อน).; ชื่อเพลงยาวกลบทแบบหนึ่ง ตัวอย่างว่า สงสารกายหมายมิตร์คิดสงสาร ประมาณจิตร์ผิดเพราะเชื่อเหลือประมาณ เสียดายการที่คิดเปล่าเศร้าเสียดาย. (จารึกวัดโพธิ์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ