ตัวกรองผลการค้นหา
โมฆกรรม
หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างก็ได้, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.
หินโสโครก
หมายถึงน. แนวพืดหินหรือโขดหินใต้น้ำใกล้ ๆ ผิวพื้นน้ำทะเล อาจมีบางส่วนโผล่พ้นน้ำหรือปริ่มน้ำก็ได้ เป็นอันตรายแก่การเดินเรือ.
เงินรายปี
หมายถึงน. จำนวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายให้แก่ผู้รับเงินรายปีตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบเงินรายปี ซึ่งผู้รับประกันภัยสัญญาว่า ตราบใดที่ผู้เอาประกันชีวิตยังทรงชีพอยู่ บริษัทจะจ่ายเงินให้ตลอดไปจนกว่าจะเสียชีวิต หรือจะจ่ายให้ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามที่ตกลงไว้ เงินรายปีนี้อาจจะจ่ายเป็นงวด รายปี รายครึ่งปี หรือรายเดือนก็ได้ จำนวนเงินที่จ่ายอาจจะคงที่ เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงก็ได้. (อ. annuity).
สาคูเปียก
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ต้มสาคูเม็ดเล็กจนบานใส แล้วใส่น้ำตาล จะใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนหรือแห้วเป็นต้นก็ได้ เมื่อจะกินจึงหยอดหน้าด้วยกะทิ.
อะไร
หมายถึงส. คำใช้แทนนาม แสดงคำถาม เช่น อะไรอยู่ในตู้, คำใช้แทนนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ. ว. ไร, ไหน, เช่น เขาห่มผ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น ท่านไปซื้อของอะไรมา.
เสียงสระ
หมายถึงน. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก.
ทรัพย,ทรัพย-,ทรัพย์
หมายถึง[ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ถือว่ามีค่า อาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).
บาทบูรณ์
หมายถึง[บาดทะบูน] น. คำที่ทำบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์ ๑๑ มีคำที่ได้ใจความ ๑๐ คำ แล้วอีกคำหนึ่งไม่ต้องมีความหมายอย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คำเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).
กลม
หมายถึง[กฺลม] น. ชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ทำตอนตัวละครรำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้, และใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์สักบรรพในเวลามีเทศน์มหาชาติ.
โรตี
หมายถึงน. ชื่ออาหารแขกชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีนวดแล้วแผ่เป็นแผ่น ทอดในกระทะแบน ๆ กินเป็นอาหารคาวอย่างขนมปัง หรือกินเป็นอาหารหวานก็ได้โดยโรยน้ำตาลทราย นม เป็นต้น.
เสียหลาย
หมายถึงก. เสียทรัพย์สินเงินทองเป็นต้นไปมาก เช่น งานนี้เสียหลายแล้ว ยังไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย; เสียเปล่า (ใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็กกำพร้าคนนี้ เลี้ยงไว้จนโตก็พึ่งได้ ไม่เสียหลาย งานวิจัยชิ้นนี้ทำไปก็ได้ประโยชน์ ไม่เสียหลาย.
ยำใหญ่
หมายถึงน. ยำที่ใส่แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาดขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือหวานด้วยก็ได้.