ค้นเจอ 245 รายการ

สมุห-

หมายถึง[สะหฺมุหะ-] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์.

ฐาน,ฐาน,ฐาน-,ฐานะ

หมายถึง[ถาน, ถานะ-] น. ตำแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลำดับความเป็นอยู่ในสังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).

เลขลำดับ

หมายถึงน. จำนวนนับที่บอกรหัสหรือตำแหน่งที่ของสิ่งที่จัดเรียงกันอย่างมีระบบ เช่น บ้านเลขที่ ๑๕๐ รถประจำทางสาย ๖๒.

กินรุก

หมายถึงก. เดินหมากเข้าไปกินหมากของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วอยู่ในตำแหน่งที่จะกินขุนของอีกฝ่ายหนึ่งทันที (ใช้ในการเล่นหมากรุก).

นักสราช

หมายถึง[นักสะราด] น. ตำแหน่งคนถือธงท้ายเรือพระที่นั่งพาย. (วชิรญาณ).

ลูกขุน ณ ศาลา

หมายถึง(โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายธุรการ ซึ่งมีตำแหน่งต่าง ๆ มีเสนาบดีเป็นต้น รวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา.

สมรรถภาพ

หมายถึง[สะมัดถะ-, สะหฺมัดถะ-] น. ความสามารถ เช่น เขาเป็นคนมีสมรรถภาพในการทำงานสูงสมควรได้เลื่อนตำแหน่ง.

จุฬาราชมนตรี

หมายถึงน. ตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง.

ตำแหน่งที่ตั้ง

หมายถึง(คณิต) น. พิกัดหรือจำนวนจริงชุดหนึ่ง ซึ่งแสดงระยะที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ห่างจากแกนอ้างอิงที่กำหนดไว้แล้ว, ตำแหน่งที่ ก็เรียก.

เสมียน

หมายถึง[สะเหฺมียน] น. เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับหนังสือ, (โบ) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับล่างที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเขียนหนังสือเป็นต้น.

ยกกระบัตร

หมายถึง(โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี.

ประดิษฐาน

หมายถึง[ปฺระดิดสะถาน] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี. (ส. ปฺรติษฺาน; ป. ปติฏฺาน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ