ตัวกรองผลการค้นหา
ประเจียด
หมายถึงน. ผ้าลงเลขยันต์ถือกันว่าเป็นเครื่องป้องกันอันตรายได้ ใช้เป็นผ้าผูกคอหรือผูกต้นแขนเป็นต้น.
อังส,อังส-,อังสะ
หมายถึง[อังสะ-] น. เรียกผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ห้อยเฉวียงบ่าว่า ผ้าอังสะ; ส่วน, ภาค; ส่วนของมุม. (ป. อํส).
โขม,โขม-
หมายถึง[โขมะ-] (แบบ) น. โกษม, ผ้าใยไหม (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, ใช้เป็นศัพท์ประกอบว่า โขมพัตถ์ โขมพัสตร์ และแผลงเป็น โขษมพัสตร์ ก็มี. (ป.; ส. เกฺษาม).
ไตรจีวร
หมายถึง[-จีวอน] น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร.
กาศิกพัสตร์
หมายถึงน. ผ้าเนื้อละเอียดมาจากแคว้นกาสี. (ส.).
กำมะหยี่
หมายถึง[-หฺยี่] น. ผ้าชนิดหนึ่ง มีขนด้านเดียวอ่อนนุ่ม เป็นมัน.
เกี้ยวเกไล
หมายถึงน. วิธีนุ่งผ้าชนิดหนึ่งสำหรับขี่ช้าง.
ซับใน
หมายถึงน. ผ้าที่เย็บทาบอยู่ชั้นในของเครื่องแต่งกาย.
ท้องฉนวน
หมายถึงน. ทางเดินสำหรับฝ่ายในซึ่งกั้นด้วยผ้าหรือม่านเป็นต้น.
เทิบ,เทิบ ๆ,เทิบทาบ
หมายถึงว. ไม่รัดกุม, หย่อนยาน, เช่น สวมเสื้อผ้าเทิบทาบ.
สะพัก
หมายถึงน. ผ้าห่มเฉียงบ่า ราชาศัพท์ใช้ว่า ผ้าทรงสะพัก. ก. ห่มผ้า, ห่มคลุม, เช่น สะพักพระถันปทุเมศ. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
วากจิรพัสตร์
หมายถึงน. ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้, ผ้าป่าน. (ป. วากจิร ว่า ที่ทำด้วยเปลือกไม้ + ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).