ค้นเจอ 185 รายการ

สนับเพลา

หมายถึง[-เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้วนุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.

กบเต้น

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยร้องรำ ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทำนองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากำกับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาครํ่าครวญน้อยใจที่สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดำบรรพ์).

เลิกทัพ

หมายถึงก. ยกทัพกลับ เช่น ไพรีมิได้แจ้งแห่งยุบล ให้เลิกทัพกลับพลรีบหนีไป. (เพลงในละครเรื่องสามก๊ก).

รงค,รงค-,รงค์

หมายถึง[รงคะ-, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกำหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรำ, โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).

ลงทุน

หมายถึงก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขาลงทุนโกนหัวแสดงละคร.

ลูกบท

หมายถึงน. เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่; เรียกลิเกที่ผู้แสดงเป็นตัวพระตัวนางไม่เข้าเครื่องอย่างโขน ละครหรือลิเกทรงเครื่อง ว่า ลิเกลูกบท.

กรีดน้ำตา

หมายถึงว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยายเป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.

ย่อย

หมายถึงก. ทำเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียกละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มีราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.

กระบอก

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยทำนองเก่าสมัยอยุธยา ใช้กับบทที่ต้องการรีบด่วน ไปเร็วมาเร็วหรือต้องการให้จบเร็ว เช่นตอนท้าวเสนากุฎต้อนรับแปดกษัตริย์ ในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดำบรรพ์).

นาฏกรรม

หมายถึง[นาดตะกำ] น. การละครหรือการฟ้อนรำ; (กฎ) งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และหมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).

เพลงเสมอ

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.

ร่าย

หมายถึงน. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ; ทำนองร้องอย่างหนึ่งของละครรำ เรียกว่า ร้องร่าย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ