ค้นเจอ 182 รายการ

เส้นแผลง

หมายถึง[-แผฺลง] น. เส้นที่เยื้องไปเยื้องมามีลักษณะเหมือนฟันปลา ใช้เขียนแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนัง.

หวัด,หวัด,หวัด ๆ

หมายถึงว. ไม่บรรจง เช่น เขียนหวัด, คร่าว ๆ เช่น ร่างภาพอย่างหวัด ๆ, สะเพร่า, ไม่ตั้งใจทำให้เรียบร้อย, เช่น ทำงานหวัด ๆ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต เช่น ภพ ภาพ สรรพ ผลลัพธ์.

ถ่ายทอด

หมายถึงก. กระจายเสียงหรือแพร่ภาพรายการที่รับจากสถานีอื่นหรือสถานที่อื่น (ใช้แก่วิทยุและโทรทัศน์), โดยปริยายหมายความว่า นำเรื่องที่รู้ไปเล่าต่อ.

ลายฮ่อ

หมายถึงน. ลายเส้นเขียนเป็นไพรคิ้วไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบด้วยเส้นสีแดง ดินแดงและสีทอง, เส้นฮ่อ ก็เรียก; ลายที่เขียนเป็นอย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ.

ประมวล

หมายถึง[ปฺระมวน] ก. รวบรวมให้เข้าระเบียบเป็นหมวดหมู่, โบราณเขียนเป็น ประมวญ ก็มี. น. หนังสือที่รวบรวมสิ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ประมวลกฎหมาย ประมวลภาพ.

ตยาคี

หมายถึง[ตะยา-] น. ผู้บริจาค, วีรบุรุษ, นักพรต, เช่น พระศรีศรีสรศาสดา มีพระมหิมา นุภาพพ้นตยาคี. (สมุทรโฆษ). (ส.).

ลายเส้น

หมายถึงน. รูปภาพที่เขียนขึ้นด้วยเส้นดินสอหรือเส้นปากกา จะเป็นสีหรือขาวดำก็ได้, วิธีเขียนภาพโดยใช้เส้นดินสอหรือเส้นปากกา.

ฉิน

หมายถึงว. ฉัน, มีแสงกล้า, มีแสงที่พุ่งออกไป; งาม, มักใช้เข้าคู่กับคำ โฉม เป็น ฉินโฉม หรือ โฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

ร่าง

หมายถึงน. รูปทรง, โครง, ตัว, เช่น เอวบางร่างน้อย ร่างเล็ก ร่างล่ำสัน. ก. ทำรูปโครงขึ้นเพื่อลอก คัด หรือแต่งเป็นต้นในภายหลัง เช่น ร่างพระราชบัญญัติ ร่างภาพ. ว. ที่ทำรูปโครงขึ้นเพื่อลอก คัด หรือแต่งเป็นต้นในภายหลัง เช่น ฉบับร่าง ต้นร่าง ภาพร่าง โครงร่าง.

สินเทา

หมายถึงน. พื้นที่ว่างซึ่งกันไว้เป็นพื้นหลังของรูปภาพเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ โดยเขียนล้อมด้วยเส้นแผลงหรือด้วยเส้นฮ่อเป็นต้น มักเขียนในงานจิตรกรรมฝาผนัง.

เหรียญ

หมายถึงน. โลหะที่มีลักษณะกลมแบนหรือรูปเหลี่ยมเป็นต้น มีภาพนูนหรือตัวอักษรอยู่บนพื้น เช่น เหรียญกระษาปณ์ เหรียญความดีความชอบ เหรียญที่ระลึก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ