ตัวกรองผลการค้นหา
อักษรลักษณ์
หมายถึง[อักสอระลัก, อักสอนลัก] น. จดหมาย, ในบทกลอนมักใช้ว่า ลักษณ์.
อักษรสาส์น
หมายถึง[อักสอระสาน, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.
โค
หมายถึงน. วัว (มักใช้เป็นทางการ) เช่น สั่งซื้อแม่โคพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ. (ป., ส.).
ประศาสน์
หมายถึง[ปฺระสาด] น. การแนะนำ, การสั่งสอน; การปกครอง, การงำเมือง, การสั่ง. (ส. ปฺรศาสน; ป. ปสาสน).
อุปเทศ
หมายถึง[อุปะเทด, อุบปะเทด] น. การชี้แจง, การสั่งสอน, การแนะนำ; คำสั่งสอน, คำชี้แจง, คำแนะนำ. ก. สอน, ชี้แจง, แนะนำ. (ส., ป. อุปเทส).
เสี้ยมสอน
หมายถึงก. สอนโดยยุยงให้ใช้เล่ห์กล เช่น เขาถูกเสี้ยมสอนให้กระด้างกระเดื่องต่อฝ่ายปกครอง เขาเสี้ยมสอนลูกให้เป็นโจร.
อักษรศาสตร์
หมายถึง[อักสอระสาด, อักสอนสาน] น. วิชาการหนังสือ เน้นในด้านภาษาและวรรณคดี.
ชังคา
หมายถึง(กลอน) น. ราชโองการ เช่น อย่าหมอบมัวคอยฟังพระชังคา. (พาลีสอนน้อง).
ปิฎก
หมายถึงน. ตะกร้า; หมวดแห่งคำสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก). (ดู ไตรปิฎก).
ภาคเรียน
หมายถึงน. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทำการสอนติดต่อกัน ตามปรกติปีการศึกษาหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกเป็น ๒-๓ ภาคเรียน.
นักเทศ
หมายถึงน. คนต่างประเทศที่สำหรับใช้ในราชสำนัก เช่น นักเทศจงไปสั่งการ พนักงานของใครให้ขวายขวน. (สังข์ทอง).
ธนาณัติ
หมายถึงน. การส่งเงินทางไปรษณีย์ โดยวิธีผู้ส่งมอบเงินไว้ยังที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ออกตราสารสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ; (กฎ) ตราสารซึ่งที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน. (ป. ธน + อาณตฺติ).