ค้นเจอ 153 รายการ

เม่า

หมายถึงน. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตำให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่ารางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าวขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสมน้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรยด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.

ระนาดแก้ว

หมายถึงน. ระนาดที่ลูกทำด้วยแก้ววางเรียงบนรางระนาดซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานกับพื้น มีไม้ประกับหัวท้าย มีทั้งระนาดแก้วทุ้มและระนาดแก้วเอก ระนาดแก้วทุ้มไม้ตีใช้ไม้นวม ระนาดแก้วเอกใช้ไม้ตีที่มีลูกทำด้วยหนัง.

รถยนต์

หมายถึงน. ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ตามปรกติมี ๔ ล้อ มีหลายแบบหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามความมุ่งหมายที่ใช้เป็นต้น เช่น รถเก๋ง รถบรรทุก รถโดยสาร; (กฎ) รถที่มีล้อตั้งแต่ ๓ ล้อ และเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ยกเว้นที่เดินบนราง.

ระนาดทุ้ม

หมายถึงน. ระนาดที่มีเสียงต่ำกว่าและมีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอก ลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่ใหญ่และยาวกว่า มี ๑๗ ลูก ปากรางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวน ด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้น มีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว.

ปี่ไฉน

หมายถึง[-ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งขนาดเล็กมาก ยาวราว ๑๙ เซนติเมตร นิยมทำด้วยไม้หรืองา แบ่งออกเป็น ๒ ท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่างเรียกว่า ลำโพง มีลิ้นทำด้วยใบตาลผูกติดกับปลายท่อลมเล็กที่เรียกว่า กำพวด.

ลื่น

หมายถึงก. เคลื่อนที่ไปได้คล่องบนพื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น เขาลื่นหกล้ม ลูกแก้วลื่นไปตามราง. ว. มีลักษณะทำให้เคลื่อนที่ไปได้คล่องบนพื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น ถนนลื่น กระดานลื่น ทาน้ำมันเสียตัวลื่น, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลเม็ดแพรวพราวจนจับไม่ติด.

แข็ง

หมายถึงว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทำงานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.

ตะกวด

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis ในวงศ์ Varanidae ตัวสีนํ้าตาลเหลือง ปากแหลม ลิ้นยาวแยกเป็น ๒ แฉก หางยาวใช้ฟาดเพื่อต่อสู้ป้องกันตัว อาศัยตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ หากินตามพื้นดิน ขึ้นต้นไม้เก่ง พาดตัวนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก.

คับ

หมายถึงว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทำให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะหรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.

ซาง

หมายถึงน. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค.

อ่อน

หมายถึงว. ไม่กระด้าง เช่น ลิ้นอ่อน; นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน; ไม่จัด เช่น แดดอ่อน; ไม่แข็ง, ยอมง่าย ๆ, รู้สึกสงสาร, เช่น ใจอ่อน; ไม่แก่ เช่น มะพร้าวอ่อน; หย่อน เช่น อ่อนเค็ม, น้อย เช่น เหลืองอ่อน, ไม่แรง เช่น ไฟอ่อน, อายุยังน้อย เช่น ไก่อ่อน, ยังเล็กอยู่ เช่น เด็กอ่อน; ละมุนละม่อม, ดัดง่าย, เปลี่ยนแปลงง่าย.

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ