ตัวกรองผลการค้นหา
ทรนาว,ทระนาว
หมายถึง[ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).
อังคุตรนิกาย
หมายถึง[-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
ครุวนา
หมายถึง[คะรุวะนา] น. อุปมา, เปรียบ.
ปัคหะ
หมายถึง[ปักคะ-] (แบบ) น. ประเคราะห์, การยกย่อง. (ป. ปคฺคห).
อุทบาตร
หมายถึง[-บาด] น. หม้อนํ้า. (ส. อุท + ปาตฺร).
อุปัฏฐานะ
หมายถึง[อุปัด-, อุบปัด-] น. การบำรุง, การรับใช้. (ป.).
อุลโลละ
หมายถึง[อุน-] น. คลื่น; ความปั่นป่วน, ความไม่ราบคาบ. (ป., ส.).
ชังฆ,ชังฆ-
หมายถึง[ชังคะ-] (แบบ) น. ชงฆ์, แข้ง. (ป., ส.).
นาคลดา
หมายถึง[นากคะ-] น. เถาวัลย์งู, เถาพลู.
ประติมากร
หมายถึง[ปฺระติมากอน] น. ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก.
อเนกรรถประโยค
หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.
คณนะ,คณนา
หมายถึง[คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).