ค้นเจอ 190 รายการ

ไตรวิชชา

หมายถึง[-วิดชา] น. วิชชา ๓ คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ ๑ วิชชารู้ความตายความเกิดของคนและสัตว์ ๑ วิชชารู้ในทางทำให้สิ้นกิเลส ๑.

อุตพิด

หมายถึง[อุดตะ-] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Typhonium trilobatum Schott ในวงศ์ Araceae ดอกบานเวลาเย็น กลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ. (ข. อาจม์ + พิษ).

สำมะเลเทเมา

หมายถึงก. คบหากันอย่างเลอะเทอะ เช่น พอตกเย็นก็พากันไปสำมะเลเทเมา, ประพฤติเหลวไหลเช่นกินเหล้าเมายาเป็นต้น เช่น เขาชอบสำมะเลเทเมา กลางวันเล่นม้ากลางคืนกินเหล้า.

เคี่ยวเข็ญ

หมายถึงก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลำบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.

อ้วน

หมายถึงคำที่เอาไว้เรียกแฟนตัวเอง แต่คนอื่นหันมาตลอด ปีแรกเรียกขำ ๆ พอผ่านห้าปีไปแล้วอ้วนจริง เหมือนเป็นคำสาป เลี่ยงได้เลี่ยงนะ

ถ้ำชา

หมายถึงน. ภาชนะที่โดยมากทำด้วยตะกั่วชนิดหนึ่ง สำหรับใส่ใบชา รูปร่างคล้ายขวด มีฝาปิด เช่น ขมิ้นดินสอพองเอาไว้ไหน เมื่อวานกูใส่ไว้ในถํ้า. (ขุนช้างขุนแผน).

จีโบ

หมายถึงน. หมวกโบราณชนิดหนึ่ง ทำด้วยขนสัตว์ ข้าง ๆ ยาวลงมาปกหูกันความหนาว เวลาไม่ใช้ม้วนขึ้น. (ประชุมพงศ. ภาค ๕๐); ชื่อเครื่องถ้วยชาชุดชนิดหนึ่ง.

บ้าบ่น

หมายถึงน. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้มโหรีเป็นเครื่องรับ ทำตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน, กระทงลอย หรือ กระทงน้อย ก็เรียก.

โหมโรง

หมายถึงน. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการบรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.

ครึ้ม

หมายถึง[คฺรึ้ม] ว. มืดมัว เช่น อากาศครึ้ม; ร่มและเย็น เช่น ป่าครึ้ม; ดกและงาม (ใช้แก่หนวด); ทำให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม. ก. กริ่ม, กระหยิ่ม, ร่าเริงในใจ, เช่น ครึ้มใจ.

นมแมว

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Rauwenhoffia siamensis Scheff. ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีนํ้าตาลอ่อนเกือบนวล ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ บานเวลาเย็น กลิ่นหอม ผลสุกกินได้.

บ่าย

หมายถึงน. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบสเบือนบ่ายจำแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ