ตัวกรองผลการค้นหา
พุทธมามกะ
หมายถึง[พุดทะมามะกะ] น. ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของตน, ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา.
สัปดาห์
หมายถึง[สับดา, สับปะดา] น. รอบ ๗ วัน เริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์, ระยะ ๗ วัน เช่น สัปดาห์แห่งการส่งเสริมพระพุทธศาสนา สัปดาห์แห่งการเขียนจดหมาย. (ส. สปฺตาห).
แห่แหน
หมายถึง[-แหนฺ] ก. ห้อมล้อมระวังกันไปเป็นขบวน เช่น ประชาชนแห่แหนพระพุทธสิหิงค์ไปตามถนน; ยกพวกกันมามาก ๆ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อนฝูงแห่แหนกันมาเต็มบ้าน.
บุษบก
หมายถึง[บุดสะบก] น. มณฑปขนาดเล็กแต่ด้านข้างโปร่ง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุเช่นพระพุทธรูปเป็นต้น.
เสื่อมสูญ
หมายถึงก. ค่อย ๆ ลดน้อยลงไปจนหมดสิ้น เช่น มีผู้พยากรณ์ว่า พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมสูญไป พอครบ ๕,๐๐๐ ปีก็สูญสิ้น.
วิจิตรพิศวง
หมายถึง[-จิดพิดสะหฺวง] ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลายชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง.
วิหาร,วิหาร-
หมายถึง[วิหาน, วิหาระ-] น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์; ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์; การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อนในเวลากลางวัน. (ป., ส.).
จตุปัจจัย
หมายถึง[จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
ปฐมโพธิกาล
หมายถึง[ปะถมมะโพทิกาน] น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. (ป.).
ผ้าทิพย์
หมายถึงน. ผ้าที่ห้อยตรงหน้าฐานพระพุทธรูป (โดยมากปั้นด้วยปูนทำเป็นลายต่าง ๆ แต่ที่ไม่เป็นลายก็มี), ผ้าที่ห้อยหน้าราชอาสน์หรือพนักพลับพลา.
ทรงเครื่อง
หมายถึงก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิดประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
หีนยาน
หมายถึง[หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.