ตัวกรองผลการค้นหา
เสียงเกรี้ยว
หมายถึงว. อาการที่เปล่งเสียงอย่างโกรธจัด เช่น เขาคงกำลังโกรธอยู่ เราพูดด้วยดี ๆ กลับตวาดเสียงเกรี้ยว, เสียงเขียว ก็ว่า.
เรียกตัว
หมายถึงก. สั่งให้มาปรากฏตัว, สั่งให้มารายงานตัว, เช่น พ่อเรียกตัวให้กลับจากต่างประเทศ ศาลเรียกตัวให้ไปเป็นพยาน.
ถอยหลังเข้าคลอง
หมายถึง(สำ) ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. น. ชื่อกลอักษร; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์; บทแผ่นเสียง).
ลอยนวล
หมายถึงว. ตามสบาย, ไม่มีผู้ขัดขวางจับกุม, เช่น ผู้ร้ายหนีไปอย่างลอยนวล; กรีดกราย เช่น แทนที่จะไปโรงเรียน กลับไปเดินลอยนวลอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า.
ฟ้องกลับ
หมายถึง(ปาก) ก. ฟ้องให้โจทก์กลับตกเป็นจำเลยในคดีอาญาด้วยเรื่องที่โจทก์ฟ้องมาก่อน เช่น ฟ้องกลับว่าฟ้องเท็จหรือเบิกความเท็จ.
รับขวัญ
หมายถึงก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรี ผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.
มีดพับ
หมายถึงน. มีดขนาดเล็ก ใบมีดพับกลับเข้าไปซ่อนอยู่ในฝักซึ่งทำหน้าที่เป็นด้ามมีดอยู่ในตัวได้.
ตีงูให้กากิน
หมายถึง(สำ) ก. ทำสิ่งใด ๆ ไว้แล้ว แต่ผลไปตกแก่ผู้อื่น, ทำสิ่งที่ตนควรจะได้รับประโยชน์ แต่กลับไม่ได้.
ไม้กำมะลอ
หมายถึงน. ไม้เนื้ออ่อนที่ไม่ใช่ไม้แก่น เช่น ไม้ฉำฉา ไม้จามจุรี; ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นวนเวียนลงพื้นดินโดยไม่กลับหุ่นขึ้น.
ซ้ำซ้อน
หมายถึงน. งานที่ควรทำในหน่วยงานเดียว แต่กลับทำในหลายหน่วยงาน เข้าลักษณะงานซ้อนงาน เรียกว่า งานซํ้าซ้อน.
แย็บ
หมายถึงก. ชกออกไปตรง ๆ และชักหมัดกลับโดยเร็ว; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ลองเชิง, หยั่งดูท่าที. (อ. jab).
รำชั่วโทษพากย์
หมายถึง(สำ) ก. ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น, รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ก็ว่า.