ตัวกรองผลการค้นหา
สวมหัวโขน
หมายถึงก. เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ.
มัสมั่น
หมายถึง[มัดสะหฺมั่น] น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง นํ้าแกงข้น เป็นแกงอย่างมุสลิม ใช้เนื้อหรือไก่เป็นต้นชิ้นโต ๆ ปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสเค็ม หวาน และออกเปรี้ยวเล็กน้อย.
เล็ก
หมายถึงว. มีขนาดย่อมกว่าเมื่อเทียบกัน เช่น ละมุดเล็กกว่าส้มโอ กล้วยไข่เล็กกว่ากล้วยหอม, มีขนาดไม่โต เช่น บ้านหลังนี้เล็ก, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สำคัญ, สำคัญน้อยกว่า, เช่น เรื่องเล็ก.
กระจาด
หมายถึงน. ภาชนะสาน รูปเตี้ย ๆ ปากกว้าง ก้นสอบ, โดยปริยายเรียกเครื่องสานที่ทำเป็นตาโต ๆ ขอบปากแบบพานปากกระจับ สำหรับใส่ของเครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ.
อ้าย
หมายถึง(โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย. (สามดวง); โดยปริยายอนุโลมเรียกพี่ชายคนโตว่า พี่อ้าย. ว. ต้น, หนึ่ง, ในคำว่า เดือนอ้าย.
ลืมตัว
หมายถึงก. ขาดสติไปชั่วคราว, เผลอตัวไปชั่วคราว, เช่น เวลาโกรธเขาลืมตัวไม่กลัวตาย; ลืมตน, ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, เช่น เมื่อเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา มีคนประจบสอพลอมาก ทำให้เขาลืมตัว.
ดิ้ว
หมายถึงน. หวายหรือไม้วงกลมสำหรับเสียบซี่กรงนก; ชื่อไม้อันเล็กประมาณเท่านิ้วมือ สำหรับเอาหวายผูกตรึงเข้ากับเซ็นฝาไม้ไผ่; ไม้ถือมีลักษณะแบนหนา ยาวราวศอกหนึ่ง ที่พวกนักเลงถือ.
ลูกกระแอม
หมายถึงน. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สำหรับอุดหรือปิดช่องไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์. (ดู กระแอม ๒).
ตกมัน
หมายถึงว. ลักษณะที่ต่อมน้ำมันที่ขมับของช้างบวมโตและมีน้ำมันใส ๆ ไหลออกมา ช้างตัวผู้จะมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ดุร้าย มีกลิ่นสาบฉุน, เรียกช้างที่มีอาการเช่นนั้นว่า ช้างตกมัน.
ปูลู
หมายถึงน. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด Platysternon megacephalum ในวงศ์ Platysternidae หัวโตมาก หางยาวกว่ากระดอง อาศัยอยู่ตามลำธารบนภูเขา พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศไทย.
ก้ามกราม
หมายถึงน. ชื่อกุ้งนํ้าจืดชนิด Macrobrachium rosenbergii ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามสีฟ้า มีหนาม วางไข่ในนํ้ากร่อย, กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง.
ไซ
หมายถึงน. ชื่องูชนิด Enhydris bocourti ในวงศ์ Colubridae ตัวอ้วนสั้น หัวโต อาศัยตามริมน้ำหรือในน้ำเพราะกินปลาเป็นอาหารหลัก มีพิษอ่อนมากและไม่ปรากฏปฏิกิริยาต่อผู้ถูกกัด.