ค้นเจอ 182 รายการ

เสื่อมเสีย

หมายถึงก. เสียหาย เช่น เพราะถูกกล่าวหาว่าฉ้อราษฎร์บังหลวง จึงทำให้ชื่อเสียงของเขาเสื่อมเสียไปมาก. ว. ที่เสียหาย เช่น เขามีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่ควรจ้างให้มาทำงานด้วย.

อวิโรธนะ

หมายถึง[อะวิโรทะนะ] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).

อวิโรธน์

หมายถึง[อะวิโรด] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).

โทสจริต

หมายถึง[โทสะจะหฺริด] น. ความประพฤติที่มีพื้นนิสัยหนักไปในทางใจร้อน หงุดหงิด โกรธง่าย, เป็นจริต ๑ ในจริต ๖ (ป.). จริต

จริต

หมายถึง[จะหฺริด] น. ความประพฤติ, กิริยาหรืออาการ, เช่น พุทธจริต เสียจริต วิกลจริต, บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต, จริตจะก้าน ก็ว่า. (ป.).

หยำเป

หมายถึง(ปาก) ว. มีความประพฤติเละเทะหมกมุ่นในอบายมุข เช่น เขาเป็นคนหยำเป; อาการที่เมามายจนครองสติไม่อยู่ ในคำว่า เมาหยำเป.

ประเพณี

หมายถึงน. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).

สัตบุรุษ

หมายถึง[สัดบุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คนดีน่านับถือ มีคุณธรรม ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม. (ส. สตฺปุรุษ; ป. สปฺปุริส).

วต,วต-,วตะ

หมายถึง[วะตะ-] น. พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ; การจำศีล, การบำเพ็ญทางศาสนา, การปฏิบัติ; ประเพณี, ธรรมเนียม. (ป. วต; ส. วฺรต).

สหธรรมิก

หมายถึง[สะหะทำมิก] น. ผู้มีการประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ทั้งปวงเป็นเพื่อนสหธรรมิกกัน อุบาสกอุบาสิกาเป็นสหธรรมิกกัน. (ป. สหธมฺมิก).

มโนสุจริต

หมายถึง[มะโนสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความไม่พยาบาท ๑ ความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม ๑.

ธรรมิก,ธรรมิก-

หมายถึง[ทำมิก, ทำมิกกะ-] ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็นธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ