ค้นเจอ 138 รายการ

เงือก

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ ปากใหญ่ อยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าลึก เวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กินเนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).

กบาล

หมายถึง[กะบาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกบาล เขกกบาล; แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กบาลบ้าน; เครื่องเซ่นผีที่ใส่ภาชนะกับตุ๊กตาแล้วนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง และต่อยหัวตุ๊กตาเสีย เรียกว่า เสียกบาล, เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเช่นนั้น เช่น เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก. (ขุนช้างขุนแผน), บางทีใช้ว่า กระบาล เช่น ปรุตรุเคลือบกระบาลหิน. (จารึกวัดโพธิ์). (ป., ส. กปาล ว่า กะโหลกหัว).

ปักหลัก

หมายถึงน. (๑) ชื่อนกกระเต็นชนิด Ceryle rudis ในวงศ์ Alcedinidae ตัวสีขาวลายดำ ปากหนาแหลมตรงสีดำ มักเกาะตามหัวเสาหรือตอไม้ที่ปักอยู่ในนํ้าเพื่อจ้องโฉบปลากิน, กระเต็นปักหลัก ก็เรียก. (๒) ชื่อเหยี่ยวชนิด Elanus caeruleus ในวงศ์ Accipitridae อกสีขาว หลังสีเทา โคนปีกสีดำ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กินสัตว์เล็ก ๆ, เหยี่ยวขาว ก็เรียก, นกทั้ง ๒ ชนิดมักบินอยู่กับที่ จึงเรียกว่า ปักหลัก.

สาย

หมายถึงน. สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเป็นแนวยาว เช่น สายสร้อย สายไฟฟ้า สายรุ้ง สายนาฬิกา สายเข็มขัด, ทาง, เส้นทาง, เช่น รถไฟสายเหนือ รถไฟสายใต้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ สายงาน; ญาติที่สืบมาจากต้นวงศ์หรือต้นสกุลเดียวกัน แล้วแยกเป็นสกุลย่อยออกไป; ผู้เข้าไปสืบความลับหรือความเคลื่อนไหวเป็นต้นของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ระวังคนใช้เป็นสายให้โจร; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นแนวหรือเส้นยาวว่า สาย เช่น สายสะพาย ๒ สาย ทาง ๓ สาย.

อากาศ-

หมายถึง[อากาดสะ-] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

อากาศ

หมายถึง[อากาด] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ