ตัวกรองผลการค้นหา
เทวทัณฑ์
หมายถึงน. อาชญาเทวดา, เทวดาลงโทษ, บางทีประสงค์เอาฟ้าผ่า.
เทวธรรม
หมายถึงน. ธรรมสำหรับเทวดา, ธรรมสำหรับทำบุคคลให้เป็นเทวดา คือ หิริ และ โอตตัปปะ.
เทวธิดา
หมายถึงน. นางฟ้า.
เทวนิยม
หมายถึงน. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอำนาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงมีอำนาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความเป็นไปในโลก. (อ. theism).
เทวรูป
หมายถึงน. รูปเทพเจ้าหรือเทวดาที่เคารพนับถือ.
เทวโลก
หมายถึงน. ภูมิเป็นที่สถิตของเทวดา.
เทววาจิกะ
หมายถึงว. ที่ทำด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียกสรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.
เทววิทยา
หมายถึงน. วิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับโลก. (อ. theology).
เทวี
หมายถึงน. เทวดาผู้หญิง, นางพญา, นางกษัตริย์. (ป.).
เทศ,เทศ-,เทศะ
หมายถึง[เทด, เทดสะ-, เทสะ] ว. ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. น. ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
เทศกาล
หมายถึงน. คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ทำนาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).
เทศน์,เทศนา
หมายถึง[เทด, เทสะนา, เทดสะหฺนา] น. การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา. ก. แสดงธรรม เช่น พระเทศน์, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวอย่างยืดยาว เช่น วันนี้ถูกเทศน์เสียหลายกัณฑ์. (ป. เทสนา).