ตัวกรองผลการค้นหา
ธนิต
หมายถึงว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).
โว้ย
หมายถึงว. คำลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ในลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า.
เว้ย
หมายถึงว. คำลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ในลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
สิถิล
หมายถึงว. เบา, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงโดยไม่มีกลุ่มลมออกมาด้วย ในภาษาไทยได้แก่เสียง ป ต ก จ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเบาว่า พยัญชนะสิถิล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรค. (ป.; ส. ศิถิล).
กัด
หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens ในวงศ์ Anabantidae ทำรังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัวให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด.
พรายน้ำ
หมายถึงน. แสงเรืองในที่มืด ปรากฏที่ตัวเลขหน้าปัดนาฬิกาหรือที่สวิตช์ไฟฟ้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เพราะสิ่งเหล่านั้นฉาบหรือผสมด้วยสารเคมีที่มีสมบัติเปล่งแสงเรืองออกมาได้หลังจากที่ถูกแสงสว่างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สารเคมีประเภทนี้ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์ (CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) ที่มีโลหะบางชนิดเจือปน.
สาธุการ
หมายถึงน. การเปล่งวาจาว่าชอบแล้วเมื่อเวลาเห็นควรหรือยกย่องสรรเสริญ เช่น แซ่ซ้องสาธุการ กล่าวสาธุการขึ้นพร้อม ๆ กัน; ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่สำคัญยิ่ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมเมื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยาน้อมไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกของชุดโหมโรงเช้าโหมโรงเย็น. (ป., ส.).
หิงห้อย,หิ่งห้อย
หมายถึงน. ชื่อแมลงปีกแข็งขนาดเล็กหรือขนาดกลางหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae สามารถเปล่งแสงกะพริบเห็นได้ชัดเจนในเวลากลางคืน ความถี่และช่วงของแสงนั้นแตกต่างไปแล้วแต่ชนิด ลำตัวยาวเป็นรูปทรงกระบอก สันหลังปล้องอกมักจะขยายเป็นขอบออกไปคลุมหัว, ทิ้งถ่วง ก็เรียก.
สระ
หมายถึง[สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).
พยัญชนะ
หมายถึง[พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับเสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ; กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.
โฆษะ
หมายถึงว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
เรียก
หมายถึงก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็งเรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.