ค้นเจอ 156 รายการ

องศา

หมายถึงน. หน่วยในการวัดขนาดของมุม โดยกำหนดให้มุมที่รองรับโค้ง ๑ ใน ๓๖๐ ส่วนของเส้นรอบวง มีขนาด ๑ องศา และ ๙๐ องศา เป็น ๑ มุมฉาก; หน่วยในการวัดอุณหภูมิตามชนิดของเครื่องวัด; (โหร) น. ส่วนหนึ่งของจักรราศี คือ วงกลมในท้องฟ้า แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒ ราศี และแบ่ง ๑ ราศีออกเป็น ๓๐ องศา ฉะนั้นวงกลมจึงเท่ากับ ๓๖๐ องศา. (ส. อํศ).

ซุ้ม

หมายถึงน. สิ่งที่สร้างขึ้นในการรับเสด็จเป็นต้น มีรูปลักษณะอย่างซุ้มไม้, ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝนชั่วคราว ส่วนบนมักโค้ง เช่น ซุ้มดอกเห็ด, สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับเป็นเครื่องประดับส่วนบนของประตูหน้าต่างพระที่นั่ง โบสถ์ วิหาร เป็นต้น มีรูปต่าง ๆ กัน เช่นมีรูปคล้ายหน้าจั่ว เรียกว่า ซุ้มบันแถลง ซุ้มหน้านาง หรือ ซุ้มรังไก่.

กางเวียน

หมายถึง(โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคลทำกางเวียน. (กฎหมายเก่า).

ละองละมั่ง

หมายถึงน. ชื่อกวางขนาดกลางชนิด Cervus eldi ในวงศ์ Cervidae ตัวสีนํ้าตาลอ่อน คอยาวกว่ากวางชนิดอื่น ตัวผู้เขาโค้งปลายชี้ไปด้านหน้า ตัวเมียไม่มีเขา ลูกเกิดใหม่มีจุดขาว กินหญ้าและใบไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, บ้างเรียกเพศผู้ว่า ละอง เรียกเพศเมียว่า ละมั่ง.

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

เขี้ยวตะขาบ

หมายถึงน. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก; ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง.

ช้อนหอย

หมายถึงน. ชื่อนกหลายชนิดในวงศ์ Threskiornithidae ปากยาวโค้ง ปลายแหลม หากินในนํ้าตื้น กินปลา ปู และสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ช้อนหอยขาว หรือ กุลาขาว (Threskiornis melanocephalus) ช้อนหอยดำ หรือ กุลาดำ (Pseudibis davisoni) ช้อนหอยใหญ่ หรือ กุลาใหญ่ (P. gigantea) และ ช้อนหอยดำเหลือบ (Plegadis falci ellus), กุลา หรือ ค้อนหอย ก็เรียก.

มีดบังตอ

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดมีดแบนเรียว ปลายแหลมคล้ายใบข้าว มีคม ๒ ด้าน ด้ามสั้นพอกำ ใช้แทงหรือฉลุหยวกกล้วยทำเป็นลวดลายในงานเครื่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันหนาและแอ่นโค้ง ด้ามทำด้วยไม้ขนาดสั้นพอมือกำ ใช้สับเนื้อและกระดูกหมูเป็นต้น.

ตรง,ตรง ๆ

หมายถึง[ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสาให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกำหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบังอำพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรงเข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.

ควัก

หมายถึง[คฺวัก] ก. ดึงหรือล้วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา, เอามือล้วงลงไปในที่ใดที่หนึ่ง แล้วเอาสิ่งที่อยู่ในนั้นออกมา, ใช้เครื่องมือปลายโค้งหรืองอทำอาการเช่นนั้น เช่น ควักหู, ใช้เข็มควักถักด้ายให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า ควักลูกไม้, เอาเครื่องมือรูปพายขนาดเล็กตักสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น ควักปูน ควักกะปิ, (ปาก) ดึงเอาตัวออกมา เช่น ควักเอาตัวมาจากที่นอน.

เต่าทอง

หมายถึงน. ชื่อด้วงปีกแข็งขนาดเล็กในวงศ์ Chrysomelidae ตัวป้อม ๆ ลำตัวส่วนหลังมีสีเงินหรือสีทอง ปีกแข็งใส โค้งนูน เมื่อหุบปีกเข้าหากันจะจดกับด้านหลังทำให้มองคล้ายหลังเต่า พวกที่อยู่ในสกุล Aspidomorpha ส่วนใหญ่มีสีทอง เรียก เต่าทอง เช่น ชนิด A. sanctaecrucis พวกที่มีสีเงิน เรียก เต่าเงิน เช่น ชนิด Cassida circumdata.

ราหู

หมายถึงน. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลากระเบนนก มีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลายสุดของหัวข้างละอันใช้โบกพัดอาหารเข้าปาก ด้านบนลำตัวสีดำ เช่น ชนิด M. japonicus, M. diabolus เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้านซ้ายของส่วนหัว.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ