ค้นเจอ 240 รายการ

ปรางค์

หมายถึง[ปฺราง] น. สิ่งก่อสร้างมียอดสูงขึ้นไปมีรูปทรงคล้ายฝักข้าวโพดและมีฝักเพกาปักอยู่ข้างบน, ถ้าเป็นเจดีย์มียอดเช่นนั้น เรียกว่า เจดีย์ยอดปรางค์.

ไข่ข้าว

หมายถึงน. ไข่ที่ฟักไม่เป็นตัวต้มแล้วแข็งและเหนียวผิดปรกติ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ขวัญ ก็เรียก. (ดู ขวัญ).

ศิลปหัตถกรรม

หมายถึงน. ศิลปวัตถุที่เป็นผลงานประเภทศิลปะประยุกต์ มีจุดประสงค์และความต้องการในด้านประโยชน์ใช้สอย เช่น งานโลหะ งานถักทอ งานเย็บปักถักร้อย.

สถลทิน

หมายถึงน. ชื่อสถานที่สำหรับทำพิธีเกี่ยวกับรับช้างเผือก ทำเป็นเนินดินมีเสาโครงเพดานผ้าขาวเป็นที่หุงข้าวเภาและปักต้นอ้อย.

ไข่ขวัญ

หมายถึงน. ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ข้าว ก็เรียก. (ดู ขวัญ); ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ลูกยอด ก็เรียก.

เสื้อ

หมายถึงน. เชื้อสาย; ผีหรืออมนุษย์จำพวกหนึ่ง เรียกเต็มว่า ผีเสื้อ, ถ้าอยู่ในนํ้า เรียกว่า ผีเสื้อนํ้า หรือ เสื้อนํ้า, ถ้าเป็นยักษ์ เรียกว่า ผีเสื้อยักษ์, ถ้าอยู่รักษาเมือง เรียกว่า ผีเสื้อเมือง เสื้อเมือง หรือ พระเสื้อเมือง.

หัวโขน

หมายถึงน. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยายหมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.

ตอ

หมายถึงน. โคนของต้นไม้ที่ลำต้นถูกตัดหรือหักลงแล้ว, สิ่งบางอย่างเช่นเสาหรือหลักที่ปักไว้หรือที่ยังเหลืออยู่แต่โคนเมื่อบางส่วนถูกตัด หัก หรือกร่อนไป, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.

ประตูป่า

หมายถึงน. ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า, ประตูที่สะด้วยใบไม้กิ่งไม้สำหรับพิธีเทศน์มหาชาติ, ประตูเรือนที่ปักกิ่งไม้ไว้เวลานำศพออกจากบ้าน.

เสาตะลุง

หมายถึงน. ไม้ท่อนกลม หัวเสากลึงเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ปักเป็นหลักคู่หนึ่ง สำหรับล่ามช้างหรือผูกช้างเครื่องยืนแท่น, ตะลุง ก็ว่า.

ติ้ว

หมายถึงน. ไม้ซี่เล็ก ๆ ใช้สำหรับเป็นคะแนน เช่น ปักติ้ว นับติ้ว สำหรับเสี่ยงทาย เช่น สั่นติ้วเซียมซี หรือสำหรับใช้แทนสลาก เช่น เอาติ้วไปขึ้นของ.

กุมภัณฑ,กุมภัณฑ-,กุมภัณฑ์

หมายถึง[-พันทะ-] น. ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ); ฟักเขียว เช่น ป่าเอลาลุอลาพุกุมภัณฑอคร้าวอนันต์. (สมุทรโฆษ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ