ค้นเจอ 232 รายการ

สุก

หมายถึงก. พ้นจากห่าม เช่น ผลไม้สุก, เปลี่ยนสภาพจากดิบด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อย่างต้ม ผัด ย่าง เป็นต้น เช่น ต้มไก่สุกแล้ว ย่างเนื้อให้สุก, ถึงระยะที่ได้ที่หรือแก่จัดแล้ว เช่น ข้าวในนาสุกเกี่ยวได้แล้ว ฝีสุกจนแตก ต้อสุกผ่าได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร้อนจนเนื้อตัวจะสุกแล้ว ถูกเขาต้มจนสุก, เรียกชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้วว่า คนสุก; ปลั่งเป็นมันแวววาว เช่น ทองเนื้อสุกดี.

สุก,สุก-,สุก-

หมายถึง[สุกกะ-] ว. ขาว, สว่าง, สะอาด, ดี, เช่น สุกธรรม. (ป. สุกฺก).

สุก

หมายถึงก. เดินจบพ้นกระดานไปแล้ว (ใช้แก่การเล่นดวด).

สุก ๆ ดิบ ๆ

หมายถึงว. ยังไม่สุกทั่วกัน เช่น หุงข้าวสุก ๆ ดิบ ๆ.

สุกดิบ

หมายถึงว. เรียกวันเตรียมงาน ซึ่งเป็นวันก่อนถึงกำหนดวันงานพิธี ๑ วันว่า วันสุกดิบ.

สุกปลั่ง

หมายถึงว. สุกใสเป็นมันแวววาว เช่น ทองสุกปลั่ง ขัดถาดทองเหลืองเสียสุกปลั่ง.

สุกรม

หมายถึง[สุกฺรม] น. ชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ ใบรี ผลเมื่อสุกสีแดง ใช้ทำยา. (พจน. ๒๔๙๓).

สุขนาฏกรรม

หมายถึง[สุกขะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.

สุขลักษณะ

หมายถึงน. ลักษณะที่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติเพื่อความปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น สร้างบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ส้วมที่ถูกสุขลักษณะย่อมไม่แพร่กระจายเชื้อโรค.

สุขวิทยา

หมายถึงน. วิชาวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับสุขศึกษา.

สุขศึกษา

หมายถึง[สุกขะ-, สุก-] น. การศึกษาที่ว่าด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับสุขภาพ.

สุขา

หมายถึง[สุ-] (ปาก) น. ห้องนํ้าห้องส้วม, เป็นคำที่มักใช้เรียกตามสถานที่บางแห่ง เช่นโรงภาพยนตร์ สถานีรถไฟ, ห้องสุขา ก็เรียก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ