ตัวกรองผลการค้นหา
พิสูจน์
หมายถึงก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริงในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).
ปฏิญญา
หมายถึง[ปะตินยา] น. การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.).
มติ
หมายถึง[มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้; ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).
นิยัตินิยม
หมายถึง[นิยัดติ-] น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทำทุกอย่างของมนุษย์หรือเหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. (อ. determinism).
อนวัช,อนวัช-
หมายถึง[อะนะวัด, อะนะวัดชะ-] ว. ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตำหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).
ขมเป็นยา
หมายถึง(สำ) น. คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด, มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา.
ปรกติ
หมายถึง[ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).
ดีพร
หมายถึง[ดีบ] (แบบ) ว. กล้า, แข็ง, มาก, เช่น ม่ายเดือดดีพรในโลกย. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ตีวฺร; ป. ติพฺพ).
ปากมาก
หมายถึงว. ชอบพูดว่าคนอื่นซํ้า ๆ ซาก ๆ, พูดมาก, (ในทางช่างว่า ช่างติ), พูดขยายเรื่องเล็กน้อยให้มากออกไป.
วิพากษ์วิจารณ์
หมายถึงก. วิจารณ์, ติชม, เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
หวานเป็นลม ขมเป็นยา
หมายถึง(สำ) น. คำชมมักไร้สาระทำให้ลืมตัวขาดสติ แต่คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด.
อนุสติ
หมายถึง[อะนุดสะติ] น. ความระลึกถึง; ชื่อธรรมหมวดหนึ่ง เรียกว่า อนุสติ ๑๐ มีพุทธานุสติเป็นต้น. (ป. อนุสฺสติ).