ค้นเจอ 456 รายการ

คล้องจอง

หมายถึงก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.

ขัดแตะ

หมายถึงก. เรียกเรือนที่มีฝาเอาไม้ไผ่ซีกสอดขัดกับลูกตั้งว่า เรือนฝาขัดแตะ.

แร้ว

หมายถึงน. เครื่องสำหรับดักสัตว์ มี นก ไก่ เป็นต้น มีบ่วงติดอยู่กับปลายของไม้ที่เรียกว่า คันแร้ว ซึ่งเอาโคนปักไว้ที่ดินทำปลายให้โน้มลงมา มีไกที่เรียกว่า ปิ่น ขัดไว้ระหว่างหลักขัดแร้วกับคอน วางบ่วงดักไว้บนคอน เมื่อสัตว์มาจับคอนตรงที่วางบ่วงไว้ ไม้คอนจะเลื่อนลง ทำให้ปิ่นหลุด บ่วงก็จะรูดมัดขาไว้.

มะม่วง

หมายถึงน. ชื่อฝีที่โคนขาหนีบ เกิดจากต่อมนํ้าเหลืองได้รับการติดเชื้อกามโรคชนิด Lymphogranuloma venereum เรียกว่า ฝีมะม่วง.

กะโผลกกะเผลก

หมายถึง[-โผฺลก-เผฺลก] ว. อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับกับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความลำบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, โขยกเขยก ก็ว่า

เถียง

หมายถึงก. พูดโต้, พูดแย้ง, พูดโต้แย้ง; ขัดกัน เช่น เรื่องนี้ความตอนต้นกับตอนปลายเถียงกัน.

คีม

หมายถึงน. เครื่องมือชนิดหนึ่งมี ๒ ขาคล้ายกรรไตรสำหรับคีบของต่างมือ ทำด้วยเหล็กเป็นต้น.

สรภะ

หมายถึง[สะระ-] น. สัตว์ในนิยายว่ามี ๘ ขา มีกำลังยิ่งกว่าราชสีห์. (ป.; ส. ศรภ).

ตะขาบ

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ที่มีลำตัวและขาเป็นปล้อง มีหลายวงศ์ หัวและลำตัวยาวแบนหรือค่อนข้างแบน มีจำนวนปล้อง ๑๕-๒๓ ปล้อง แต่ละปล้องมีขา ๑ คู่ไปจนถึงปล้องสุดท้ายหรือเกือบสุดท้าย ขามี ๕-๗ ปล้อง ทอดออกไป ด้านข้างของลำตัวทั้ง ๒ ข้าง มีเขี้ยวซึ่งเป็นขาคู่แรก บางชนิดมีนํ้าพิษ ทำให้ผู้ถูกกัดเจ็บปวด เช่น ตะขาบไฟ (Scolopendra morsitans) ในวงศ์ Scolopendridae, กระแอบ หรือ จะขาบ ก็เรียก.

ปะกำ

หมายถึงน. ไม้ที่ทำเป็น ๒ ขาสำหรับคาบไม้อื่น, ลูกตั้งฝาที่คาบพรึง.

ยืนกระต่ายสามขา

หมายถึง(สำ) ก. พูดยืนยันอยู่คำเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว.

ทูลกระหม่อม

หมายถึงน. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Thaipotamon chulabhorn ในวงศ์ Potamidae กระดองสีม่วงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด ขาและขาก้ามสีเหลืองอมส้ม ปลายก้ามและขาสีขาว ขุดรูอยู่ พบในป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ