ตัวกรองผลการค้นหา
ศุภร,ศุภร-
หมายถึง[สุบพฺระ-] ว. ส่องแสง, สว่าง; งาม, สดใส; ขาว, ผ่อง; บริสุทธิ์ไม่มีตำหนิ เช่น ศุภรทนต์ คือฟันงาม. (ส. ศุภฺร).
สลากภัต
หมายถึง[สะหฺลากกะพัด] น. อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดยวิธีจับฉลาก เช่น สลากภัตข้าวสาร สลากภัตทุเรียน. (ป. สลากภตฺต).
ทิพยจักษุ
หมายถึง[ทิบพะยะจักสุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยจกฺษุ; ป. ทิพฺพจกฺขุ).
สุขา
หมายถึง[สุ-] (ปาก) น. ห้องนํ้าห้องส้วม, เป็นคำที่มักใช้เรียกตามสถานที่บางแห่ง เช่นโรงภาพยนตร์ สถานีรถไฟ, ห้องสุขา ก็เรียก.
ศาสนสมบัติของวัด
หมายถึงน. ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่งรวมทั้งปูชนียสถานที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด เช่น พระปฐมเจดีย์เป็นศาสนสมบัติของวัดพระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนมเป็นศาสนสมบัติของวัดธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพเป็นศาสนสมบัติของวัดพระธาตุดอยสุเทพ.
ทวาทศม,ทวาทศม-
หมายถึง[ทะวาทะสะมะ-] ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศมสุรทิน = วันที่ ๑๒. (ส.; ป. ทฺวาทสม).
สุพรรณภาชน์
หมายถึง[สุพันนะพาด] (ราชา) น. ภาชนะสำหรับใส่พระกระยาหาร ทำด้วยทองคำทั้งชุด, ใช้ว่า พระสุพรรณภาชน์; โต๊ะเท้าช้าง.
ศุลกากร
หมายถึง[สุนละกากอน] (กฎ) น. อากรที่เรียกเก็บจากสินค้าเข้าและสินค้าออก ได้แก่ อากรขาเข้าและอากรขาออก.
ข่า
หมายถึงน. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคำหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน).
จรอก
หมายถึง[จะหฺรอก] (กลอน) น. จอก, ขันเล็ก ๆ ที่ใช้ตักนํ้าจากขันใหญ่, เช่น จับจรอกคันธรสจุณจันทน์. (สุธนู).
กำสรด
หมายถึง[-สด] (แบบ) ก. สลด, แห้ง, เศร้า, เช่น จักคอยเห็นข้าโหยหา แต่องคเอกา จะแสนกำสรดลำเค็ญ. (สุธนู).
เสาว,เสาว-
หมายถึง[-วะ-] ว. ดี, งาม. (แผลงมาจาก สว สุ โส เช่น เสาวภาพ แผลงมาจาก สวภาพ, เสาวคนธ์ แผลงมาจาก สุคนธ์, เสาวภา แผลงมาจาก โสภา).