ค้นเจอ 181 รายการ

ทำ

หมายถึงก. กระทำ, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทำเก้าอี้ ทำโต๊ะ ทำรองเท้า ทำรัง; ประกอบการงาน เช่น ทำนา ทำสวน ทำโป๊ะ; ดำเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทำหน้าที่ประธาน ทำตามคำสั่ง ทำตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทำผม ทำนัยน์ตา ทำจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำเลข ทำการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทำวัตร ทำศพ; แสดง เช่น ทำบท ทำเพลง ทำเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทำปริญญา ทำดอกเตอร์.

บังคับ

หมายถึงน. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อำนาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้อำนาจสั่งให้ทำหรือให้ปฏิบัติ; ให้จำต้องทำ เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.

ทักษิณาจาร

หมายถึงน. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือพระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).

เรือลาดตระเวน

หมายถึงน. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่าเรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทางอากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น.

คู่มือ

หมายถึงว. ใช้ประโยชน์ได้เหมาะใจ, สำหรับประจำตัว, เช่น อาวุธคู่มือ. น. สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการรู้เพื่อใช้ประกอบตำรา เพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง.

ศีล

หมายถึง[สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดการปฏิบัติกายและวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม); พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี; ป. สีล).

ทัณฑกรรม

หมายถึง[ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและกฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจ คือ ให้ทำงานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจำ. (ส.).

เบี้ยปรับ

หมายถึง(กฎ) น. จำนวนเงินหรือการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็นจำนวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษีอากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดไว้.

ข่มขืนใจ

หมายถึง(กฎ) ก. บังคับให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ โดยไม่สมัครใจแต่จำต้องฝืนใจปฏิบัติตาม เพราะไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๓๙.

เคร่งครัด

หมายถึง[-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน) แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้งห่อผ้าห่มหวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด; ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.

ประกาศ

หมายถึงก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. น. ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของบริษัท; (กฎ) ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือวางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศกระทรวง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).

เห่

หมายถึงน. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้ายบทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และนักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ