ค้นเจอ 687 รายการ

ผ้าป่า

หมายถึงน. ผ้า (พร้อมทั้งเครื่องบริวาร ถ้ามี) ที่นำเอาไปวางทอดไว้เสมือนว่าเป็นผ้าที่ทิ้งอยู่ในป่า เพื่อให้พระชักเอาไป เป็นทำนองผ้าบังสุกุล มักทำเป็นปรกติต่อท้ายทอดกฐิน เรียกว่า ทอดผ้าป่า.

ยักคิ้ว

หมายถึงก. ลักษณะของสิ่งซึ่ง ๒ ข้างไม่เท่ากันอย่างนุ่งผ้าโจงกระเบนสูงข้างต่ำข้าง เรียกว่า นุ่งผ้ายักคิ้ว.

ลงคราม

หมายถึงก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.

บงสุกูลิก

หมายถึงน. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม คือ ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).

บังสุกูลิก

หมายถึง(แบบ) น. ผู้ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร, เป็นชื่อธุดงค์ประการหนึ่งของภิกษุผู้ใช้ผ้าเฉพาะที่เก็บได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อมาทำเครื่องนุ่งห่ม คือไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย. (ป. ปํสุกูลิก).

เสื้อกล้าม

หมายถึงน. เสื้อชั้นในมักทำด้วยผ้ายืด ไม่มีแขน ไม่มีปก.

โมรี

หมายถึงน. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น ผ้าแดงโมรีสิบพับ. (ราชาธิราช). (ฮินดูสตานี morii ว่า ผ้าเขียวชนิดหนึ่ง, มลายู moiri ว่า แพรมีลาย).

กันแสง

หมายถึง(ราชา) ก. ร้องไห้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ ทรงกันแสง. (ข. กนฺแสง ว่า ผ้าเช็ดปาก, ผ้าเช็ดมือ, ผ้าเช็ดหน้า).

ผ้าใบ

หมายถึงน. ผ้าชนิดหนึ่ง เนื้อหนา ทนทาน ใช้ทำใบเรือ กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น, ผ้าที่ใช้เขียนรูปสีนํ้ามัน.

ผ้าอาบ

หมายถึงน. ผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ผลัดอาบนํ้า.

วสนะ

หมายถึง[วะสะ-] (แบบ) น. เสื้อผ้า, เครื่องนุ่งห่ม. (ป., ส.).

ศาฎก

หมายถึง[-ดก] น. ผ้า. (ส. ศาฏก; ป. สาฏก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ