ตัวกรองผลการค้นหา
ฉพีสติม,ฉพีสติม-
หมายถึง[ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่งเดือนสุริยคติ). (ป.).
เรียวหนาม
หมายถึงน. แขนงไม้ไผ่ที่มีหนาม มักแตกออกจากบริเวณโคนไผ่บางชนิด เช่น ไผ่ป่า.
ไก่บ้าน
หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม การคัดและผสมพันธุ์ทำให้มีสายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้ตามบ้านเพื่อเป็นอาหาร.
เปรียะ,เปรี๊ยะ
หมายถึง[เปฺรียะ, เปฺรี๊ยะ] ว. เสียงที่เกิดจากสิ่งของที่แตกหรือขาดเป็นต้นซึ่งมีเสียงดังเช่นนั้นอย่างแก้วแตก; อาการที่แก้วหูลั่นเพราะขึ้นไปบนที่สูง ๆ เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า คล่องไม่ติดขัด เช่น พูดเปรี๊ยะ, มากเกินไป เช่น ตึงเปรี๊ยะ.
ร้าว
หมายถึงว. มีรอยแตกลึกเป็นทางลงไปในเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น แก้วร้าว จานร้าว ผนังร้าว.
สัมปชัญญะ
หมายถึง[สำปะชันยะ] น. ความรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ สติ เป็น สติสัมปชัญญะ. (ป.).
สามสลึงเฟื้อง
หมายถึง(ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.
หวานเป็นลม ขมเป็นยา
หมายถึง(สำ) น. คำชมมักไร้สาระทำให้ลืมตัวขาดสติ แต่คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด.
กระเจิง
หมายถึงว. เลยไป, หลงไป, แตกจากหมู่ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระเจอะ กระเจิด เป็น กระเจอะกระเจิง กระเจิดกระเจิง.
แยะ
หมายถึงก. แยก, แบะออก, แตกออก. ว. มากมาย เช่น ข้าวของมีแยะไป, มักใช้เข้าคู่กับคำ เยอะ เป็น เยอะแยะ.
เบญจธรรม
หมายถึงธรรมะ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. เมตตา ๒. ทาน ๓. ความสำรวมในกาม ๔. สัจจะ ๕. สติ คู่กับ เบญจศีล
หยำเป
หมายถึง(ปาก) ว. มีความประพฤติเละเทะหมกมุ่นในอบายมุข เช่น เขาเป็นคนหยำเป; อาการที่เมามายจนครองสติไม่อยู่ ในคำว่า เมาหยำเป.