ค้นเจอ 211 รายการ

สะดุดหู

หมายถึงก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.

ทิพย,ทิพย-,ทิพย์

หมายถึง[ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่างเทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).

เสียง

หมายถึงน. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยหู เช่น เสียงฟ้าร้อง เสียงเพลง เสียงพูด; ความเห็น เช่น เรื่องนี้ฉันไม่ออกเสียง, ความนิยม เช่น คนนี้เสียงดี มีหวังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, คะแนนเสียง เช่น ลงมติกันแล้วเขาชนะเพราะได้เสียงข้างมาก.

หมูตั้ง

หมายถึงน. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยหัวหมู หูหมู หนังหมู แล่เป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมเครื่องปรุงแล้วเคี่ยวให้เข้ากัน อัดเป็นแท่งแข็ง เวลากินหั่นเป็นชิ้น ๆ จิ้มนํ้าจิ้มหรือยำเป็นต้น.

วิ่น

หมายถึงว. ลักษณะอาการที่หลุด ขาด หรือลุ่ยออกกะรุ่งกะริ่ง เช่น จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว. (สังข์ทอง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ขาด เป็น ขาดวิ่น เช่น เสื้อผ้าขาดวิ่น.

ไก่ป่า

หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาว อาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว (G. g. gallus) และไก่ป่าติ่งหูแดง (G. g. spadiceus) ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.

กรอก

หมายถึง[กฺรอก] ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู; ลงข้อความหรือจำนวนเลข เช่น กรอกบัญชี. ว. แห้งจนคลอน, ใช้แก่หมากและฝักมะขาม ว่า หมากกรอกมะขามกรอก.

กระรอก

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) พญากระรอกดำ (Ratufa bicolor).

ลา

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus asinus ในวงศ์ Equidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้า รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหางเป็นพู่ ขนแผงคอสั้นตั้งตรง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.

สาแหรก

หมายถึง[-แหฺรก] น. เครื่องใส่ของสำหรับหิ้วหรือหาบเป็นต้น ปรกติทำด้วยหวาย มี ๔ สาย ตอนบนทำเป็นหูสำหรับหิ้วหรือสอดไม้คาน ตอนล่างขัดกันเป็นสี่เหลี่ยมสำหรับวางกระจาดเป็นต้น. (เทียบ ข. สงฺแรก).

เสนาะ

หมายถึง[สะเหฺนาะ] ว. น่าฟัง, เพราะ, เช่น เพลงนี้ไพเราะเสนาะหู; (กลอน) วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น แถลงปางบำราศห้อง โหยครวญ เสนาะเสน่ห์กำสรวล สั่งแก้ว. (นิ. นรินทร์). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง).

อารมณ์

หมายถึงน. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่งมักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มีอัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ