ตัวกรองผลการค้นหา
โสตทัศนอุปกรณ์
หมายถึง[โสตะทัดสะนะอุปะกอน, โสดทัดสะนะอุบปะกอน] น. อุปกรณ์การสอนสำหรับฟังและดู เช่น วิทยุ โทรทัศน์, ใช้ว่า โสตทัศนูปกรณ์ ก็มี.
สะดุดหู
หมายถึงก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.
กวี
หมายถึง[กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จำแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).
งาแซง
หมายถึงน. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปักตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น สำหรับตั้งกีดขวางทางเข้าประตูค่ายเป็นต้น.
ลัก
หมายถึงก. เอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ไปด้วยอาการซ่อนเร้น, ขโมย, เช่น ลักทรัพย์, แอบทำ, ลอบทำ, เช่น ลักกินขนมในห้องเรียน ลักสูบบุหรี่ในห้องน้ำ. ว. เว้นข้ามไปทำให้เสียระเบียบ เช่น รถไฟลักหลีก ทำให้รถ ๒ ขบวนชนกัน.
ศาลากลางย่าน
หมายถึงน. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยมสร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
ความรู้
หมายถึงน. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
เสนาะ
หมายถึง[สะเหฺนาะ] ว. น่าฟัง, เพราะ, เช่น เพลงนี้ไพเราะเสนาะหู; (กลอน) วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น แถลงปางบำราศห้อง โหยครวญ เสนาะเสน่ห์กำสรวล สั่งแก้ว. (นิ. นรินทร์). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง).
สดับ
หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).
สาระแน
หมายถึงว. ชอบเข้าไปยุ่งในเรื่องของคนอื่น, ชอบเข้าไปยุ่งในเรื่องที่มิใช่หน้าที่ของตน, เช่น เขากำลังทำงานกันอยู่ดี ๆ ก็สาระแนเข้าไปทำงานเขาเสีย; ยุแหย่ให้เขาผิดใจกัน, ยุยงให้เขาแตกกัน, เช่น พูดอะไรให้ฟัง ก็สาระแนไปบอกเขาหมด.
พอ
หมายถึงว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตามต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทำได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง; เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
ลุ่น,ลุ่น ๆ
หมายถึงว. ด้วน, กุด, เช่น ไก่หางลุ่นเพราะถูกถอนขนหางหมด; ห้วน เช่น พูดลุ่น ๆ ไม่น่าฟัง; ควรมีประดับตกแต่ง แต่ไม่มี เช่น ตะพดหัวลุ่น คือ ตะพดไม่ได้เลี่ยมหัว ชกด้วยหมัดลุ่น ๆ คือ ชกด้วยหมัดล้วน ๆ ไม่ได้ใส่นวมเป็นต้น.