ตัวกรองผลการค้นหา
พินัยกรรม
หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมซึ่งบุคคลแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).
เภสัชอุตสาหกรรม
หมายถึง[เพสัดอุดสาหะกำ] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียมยาระดับอุตสาหกรรม.
มโนกรรม
หมายถึงน. การกระทำทางใจ, การคิด, ความคิด. (ป. มโนกมฺม).
กฐินัตถารกรรม
หมายถึง[กะถินัดถาระกำ] น. การกรานกฐิน. (ป. กิน + อตฺถาร + ส. กรฺม).
กรร
หมายถึง[กัน] (โบ) ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).
กรรไกร
หมายถึง[กันไกฺร] น. ตะไกร. (เลือนมาจาก กรรไตร). (ดู ตะไกร).
กรรเชอ
หมายถึง[กัน-] (โบ) น. กระเชอ.
กรรเชียง
หมายถึง[กัน-] น. เครื่องพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสำหรับพาด ใช้เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกรรเชียง, ใช้ว่า กระเชียง ก็มี.
กรรโชก
หมายถึง[กัน-] ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว, เขียนเป็น กันโชก หรือ กำโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น เรียกว่า ความผิดฐานกรรโชก.
กรรณยุคล
หมายถึง[กันนะ-] น. หูทั้ง ๒ ข้าง เช่น ในพระกรรณยุคลท่านนั้น. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. ยุคล ว่า คู่).
กรรตุวาจก
หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทำ) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทำ). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).
กรรทบ
หมายถึง[กัน-] (กลอน) ก. กระทบ เช่น ฟองฟัดซัดดล กรรทบนาวี. (สรรพสิทธิ์).