ตัวกรองผลการค้นหา
ปรด
หมายถึง[ปฺรด] ก. วิ่ง, วิ่งแล่น, เช่น เร่งรถปรดปรึง. (คำพากย์).
กรางเกรียง
หมายถึงว. เสียงอย่างเดียวกับกราง เช่น ก้องกงรถก้องกรางเกรียง. (พากย์; สุธน).
ขึ้นระวาง
หมายถึงก. เข้าทำเนียบ, เข้าประจำการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).
อาชญา
หมายถึง[อาดยา, อาดชะยา] น. อำนาจ; โทษ (มักใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาชญา. (ส.; ป. อาณา); (กฎ; โบ; เลิก) คดีที่เกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า คดีอาชญา หรือ ความอาชญา, คู่กับ ความแพ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยโทษหลวง เช่นความมรดก; ศาลที่ชำระความเกี่ยวกับโทษหลวง เรียกว่า ศาลอาชญา คู่กับ ศาลแพ่ง ซึ่งชำระความแพ่ง; คำ อาชญา นี้ปัจจุบันนิยมใช้คำ อาญา เป็นพื้น.
ขุน
หมายถึงน. ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา; เรียกหมากรุกตัวสำคัญที่สุด. ว. ใหญ่ เช่น ขุนเขา.
กุดัง
หมายถึง(ปาก) น. โรงเก็บสินค้าหรือสิ่งของเป็นต้น, โกดัง ก็เรียก; เรียกรถบรรทุกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งว่า รถกุดัง. (ม. gudang ว่า โรงงาน, โรงเก็บของ, ร้านขายของ).
ซ้อน
หมายถึงก. วางทับกัน เช่น เอาจานซ้อนกัน เอาหนังสือซ้อนสมุด, เรียงแทรกเสริมกัน เช่น ฟันซ้อน มะลิซ้อน; ซํ้า ๆ กัน เช่น ถูกชก ๒ ทีซ้อน เสียงปืนดัง ๓ นัดซ้อน; ว่ากันคนละทีในเชิงแข่งขัน เช่น เทศน์ซ้อน. ว. มีหรือทำอย่างเดียวกันกับที่มีหรือทำอยู่แล้ว เช่น เขามีประชุมซ้อน; ลักษณะที่จอดรถหรือเรือเรียงขนานกับอีกคันหนึ่งหรือลำหนึ่งที่จอดอยู่แล้ว เรียกว่า จอดรถหรือเรือซ้อนกัน; ลักษณะที่จอดรถขวางรถที่จอดเป็นระเบียบอยู่แล้ว เป็นการกีดขวางทางจราจร เรียกว่า จอดรถซ้อนคัน.
วรมหาวิหาร
หมายถึง[วอระ-] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดตํ่าสุดว่า ชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ วัดพระธาตุพนม, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดจักรวรรดิ วัดระฆัง.
เร่งเครื่อง
หมายถึงก. เพิ่มความเร็วของเครื่องจักรให้สูงขึ้น, เหยียบคันเร่งรถยนต์เพื่อให้รถแล่นเร็วขึ้น.
วก
หมายถึงก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอนใช้แผลงเป็น พก ก็มี.
เวชยันต์
หมายถึง[เวดชะ-] น. ชื่อวิมานหรือรถของพระอินทร์. (ป.; ส. ไวชยนฺต).
ห้ามล้อ
หมายถึงก. ยั้ง. น. กลอุปกรณ์ชนิดหนึ่งใช้สำหรับลดความเร็วแห่งการหมุนของล้อรถ.