ตัวกรองผลการค้นหา
หยาบ,หยาบ ๆ
หมายถึงว. ไม่ละเอียด เช่น ทรายหยาบ แป้งหยาบ; ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ.
โซงโขดง
หมายถึง[-ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).
ข้าวเกรียบอ่อน
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสมกับนํ้าตาลโตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทำด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงา.
วรรณคดี
หมายถึงน. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.
ฝุ่น
หมายถึงน. ดินแห้งหรือสิ่งอื่นที่ละเอียดเป็นผง เช่น ฝุ่นละออง ฝุ่นชอล์ก; ผงขาว ๆ คล้ายแป้ง ใช้ผัดหน้าหรือทาสิ่งของต่าง ๆ เช่น ฝุ่นผัดหน้า.
ต้ม
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลม ๆ ถ้าใส่ไส้นํ้าตาลปึกตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือไส้หน้ากระฉีกแล้วคลุกมะพร้าวข้างนอก เรียกว่า ขนมต้มขาว, ถ้าต้มเคี่ยวกับนํ้าตาลปึกและมะพร้าวอย่างหน้ากระฉีก เรียกว่า ขนมต้มแดง.
คันฉ่อง
หมายถึงน. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับส่องหน้า; ปัจจุบันเรียกกระจกเงามีกรอบ ๒ ชั้น สำหรับเอนเข้าออกได้ ตั้งบนโต๊ะเครื่องแป้ง.
ด้วง
หมายถึงน. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นตัวเล็ก ๆ คล้ายตัวด้วง กินกับงาคั่วผสมนํ้าตาล เหยาะเกลือนิดหน่อย และมะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้น.
วอก
หมายถึงน. ชื่อปีที่ ๙ ของรอบปีนักษัตร มีลิงเป็นเครื่องหมาย; (ปาก) ลิง เช่น ซนเป็นอ้ายวอก; เรียกหน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไปว่า หน้าวอก.
ทศ,ทศ,ทศ-
หมายถึง[ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.
คงคา
หมายถึงน. ชื่อหวายชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนต้นสามสิบ รากเหมือนรากละหุ่ง ใบเหมือนใบละหุ่ง หัวเป็นแง่ง ยางขาวเหมือนนม. (พจน. ๒๔๙๓).
ครองแครง
หมายถึง[คฺรองแคฺรง] น. ชื่อขนมทำด้วยแป้งกดบนพิมพ์ที่เป็นรอยริ้ว ๆ คล้ายฝาหอยแครง ต้มกับกะทิ, ถ้าทอดกรอบเคล้านํ้าตาลเคี่ยว เรียกว่า ครองแครงกรอบ.