ตัวกรองผลการค้นหา
กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-
หมายถึง[กำ, กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกกระทำ เช่น คนกินข้าว ข้าว เป็นกรรมของกริยา กิน.
สรรพนาม
หมายถึง(ไว) น. คำที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.
อกรรมกริยา
หมายถึง[อะกำกฺริยา, อะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน. (ส.).
อจินไตย
หมายถึง[-จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).
กริยาวิเศษณ์
หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.
เสียหัว
หมายถึงก. สูญเสียหัวไป; สิ้นเปลืองความคิด เช่น ปัญหาโลกแตกอย่างนี้ อย่าคิดให้เสียหัวเลย เลขข้อนี้กว่าจะทำได้ก็เสียหัวไปหลายชั่วโมง, เสียสมอง ก็ว่า; (ถิ่น-อีสาน) เสียภาษี.
นำสมัย
หมายถึงว. มีความคิดริเริ่มในการแต่งกายเป็นต้นก่อนสมัยนิยม.
บ้าบิ่น
หมายถึงว. มุทะลุ, หุนหันพลันแล่น, อวดกล้าทำการอย่างไม่มีสติยั้งคิด, บิ่น ก็ว่า.
มัวแต่
หมายถึงว. อาการที่ทำติดพันอยู่ ไม่ละไปได้ เช่น มัวแต่พูด มัวแต่คิด, มัว ก็ว่า.
สมใจ
หมายถึงก. เป็นไปดังที่คิดไว้ เช่น เขาอยากได้หนังสือเล่มนี้มานานแล้ว วันนี้มีคนเอามาให้ ก็เลยได้ไว้สมใจ.
สมบัติผู้ดี
หมายถึงน. มารยาทของผู้ที่มีความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และความคิด.
ลาภ
หมายถึง[ลาบ] น. สิ่งที่มักจะได้มาโดยไม่คาดคิด. (ป., ส. ลาภ ว่า ของที่ได้, การได้, กำไร).