ค้นเจอ 224 รายการ

หัฏฐะ

หมายถึง[หัดถะ] ว. ร่าเริง, ยินดี, สบายใจ. (ป.; ส. หฺฤษฺฏ).

หัสตะ,หัฏฐะ,หัฏฐะ

หมายถึง[หัดสะตะ, หัดถะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็น รูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก.

หัสนาฏกรรม

หมายถึงน. ละครหรือเรื่องราวที่ตลกขบขัน.

อัฏฐ,อัฏฐ-,อัฏฐะ

หมายถึง[อัดถะ-] (แบบ) ว. แปด. (ป.).

อัฏฐังสะ

หมายถึงว. มี ๘ เหลี่ยม. (ป.).

อุตราวัฏ

หมายถึง[อุดตะรา-] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือเวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต. (ป. อุตฺตราวฏฺฏ; ส. อุตฺตราวรฺต).

กบฏ

หมายถึง[กะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, ขบถ ก็ว่า; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร หรือยึดอำนาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร เรียกว่า ความผิดฐานเป็นกบฏ. (ส. กปฏ ว่า ความคด, ความโกง).

กัณฏกะ,กัณฐกะ

หมายถึง[กันตะกะ, กันถะกะ] (แบบ) น. หนาม. (ป., ส. กณฺฏก).

กัมมัฏฐาน

หมายถึงดู กรรมฐาน.

เกวัฏ

หมายถึง[เกวัด] (แบบ) น. ชาวประมง, พรานเบ็ด, พรานแห, พรานปลา. (ป. เกวฏฺฏ).

จังโกฏก์

หมายถึง(แบบ) น. ผอบ. (ป.).

ธรรมปฏิสัมภิทา

หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ