ตัวกรองผลการค้นหา
นิคหกรรม
หมายถึงน. ชื่อกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ. (ป. นิคฺคหกมฺม).
นิรโทษกรรม
หมายถึง[นิระโทดสะกำ] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมายอาญา หมายถึง การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด.
ประติมากรรม
หมายถึง[ปฺระติมากำ] น. ศิลปะสาขาหนึ่งในจำพวกวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ หินอ่อน โลหะ เป็นต้น ให้เป็นรูปหรือลวดลายต่าง ๆ. (ส. ปฺรติมา + กรฺม; ป. ปฏิมา + กมฺม).
ปริวรรตกรรม
หมายถึง[ปะริวัดตะกำ] (แบบ) น. การหมุนเวียน.
ผาติกรรม
หมายถึงน. การทำให้เจริญ, ใช้ในวินัยว่า การจำหน่ายครุภัณฑ์เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยนเอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการทดแทนที่ตนทำของสงฆ์ชำรุดไปบ้าง, รื้อของที่ไม่ดีออกเสียทำให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทำอย่างอื่นแล้วสร้างวัดถวายใหม่เป็นการชดใช้.
พินัยกรรม
หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมซึ่งบุคคลแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตน หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายแล้ว. (อ. will).
เภสัชอุตสาหกรรม
หมายถึง[เพสัดอุดสาหะกำ] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียมยาระดับอุตสาหกรรม.
มโนกรรม
หมายถึงน. การกระทำทางใจ, การคิด, ความคิด. (ป. มโนกมฺม).
โมฆียกรรม
หมายถึง(กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.
วิศวกรรม
หมายถึง[วิดสะวะกำ] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชำนาญในการช่างทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.
ศัลยกรรม
หมายถึง[สันละยะกำ] น. การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
สกรรถ
หมายถึง[สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).