ค้นเจอ 317 รายการ

กระหริ่ง

หมายถึงน. บ่วงหวายสำหรับดักสัตว์ที่กระโดดเช่นเนื้อและกวาง เช่น จับกระหริ่งบ่วงข่ายถือ แบกหอกปืนลงจากเรือน. (สุบิน), กะริง ก็ว่า.

ชงโลง

หมายถึงน. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง).

น้ำอ้อย

หมายถึงน. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทำเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทำเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสำหรับต้มกลั่นสุราหรือใช้ผสมปูนสอสำหรับการก่อสร้าง.

กระบี่

หมายถึง(กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).

พะยุพยุง

หมายถึง[-พะยุง] ก. ช่วยกันพยุง เช่น ช่วยพะยุพยุงคนเจ็บ, พะยุพยุงจูงจับหิ้วปากคนละข้าง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

รังหยาว

หมายถึงก. รบกวนให้โกรธ เช่น ลางคนจับตะขาบมาเด็ดเขี้ยว เที่ยวทิ้งโรงหนังทำรังหยาว. (อิเหนา), (ถิ่น-ปักษ์ใต้) โมโห, โกรธ.

สลากภัต

หมายถึง[สะหฺลากกะพัด] น. อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดยวิธีจับฉลาก เช่น สลากภัตข้าวสาร สลากภัตทุเรียน. (ป. สลากภตฺต).

กั้นซู่

หมายถึง(โบ) น. เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง กล่าวกันว่ามีลักษณะเหมือนถุงอย่างเดียวกับโพงพาง หรือเป็นไม้ซึ่งปักเป็นปีกของเครื่องมือประจำที่ซึ่งเรียก กั้นซู่รั้วไซมาน หรือ ซู่กั้นรั้วไซมาน.

เลื่อยหางหนู

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับฉลุหรือโกรกไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาวปลายเรียวแหลม ที่โคนมีด้ามทำด้วยไม้เป็นรูปขอสำหรับจับ.

เส้นลึก

หมายถึงว. ที่ทำให้รู้สึกขันหรือหัวเราะได้ยาก เช่น เขาเป็นคนเส้นลึก แม้จะได้ยินเรื่องขำขันอย่างไรก็ไม่หัวเราะ; อาการที่เก็บความรู้สึกได้ดีจนยากที่จะสังเกตได้ว่าพอใจหรือไม่พอใจสิ่งใด เช่น เขาจับเส้นเจ้านายไม่ถูก เพราะเป็นคนเส้นลึกมาก. น. เส้นที่อยู่ในตำแหน่งลึกของร่างกาย เช่นอยู่ชิดหรือใกล้ซอกกระดูกหรือในท้อง ทำให้กดหรือจับยาก.

สามบาน

หมายถึงน. การแสดงกระบี่กระบองแบบหนึ่ง ใช้อาวุธหลายชนิดเข้าต่อสู้กันโดยไม่จับคู่กับอาวุธชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น กระบองคู่กับดาบสองมือ ง้าวคู่กับดาบดั้ง.

ลมปราณ

หมายถึงน. ลมหายใจ เช่น ทำงานเหน็ดเหนื่อยแทบจะสิ้นลมปราณ; วิธีกำหนดดูความคล่องของลมหายใจเข้าออกว่าฤกษ์ดีหรือฤกษ์ร้าย เรียกว่า จับลมปราณ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ