ตัวกรองผลการค้นหา
สยามานุสติ
หมายถึง[สะหฺยามมานุดสะติ, สะหฺยามานุดสะติ] น. การระลึกถึงประเทศสยาม, ชื่อโคลง ๔ สุภาพ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
บังอร
หมายถึงน. นาง; เด็ก ๆ ที่กำลังน่ารัก เช่น เมื่อทอดพระเนตรเห็นสองบังอรอรรคปิโยรส.
ไฉยา
หมายถึง(กลอน) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที. (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา ๒).
เสมอ
หมายถึง[สะเหฺมอ] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย เรียกว่า เพลงเสมอ เช่น เสมอบาทสกุณี (เสมอตีนนก) เสมอนาง เสมอมาร.
อุษมะ,อุษมัน
หมายถึง[อุดสะมะ, อุดสะมัน] น. ไอ, ไออุ่น. (ส.; ป. อุสุม, อุสุมา).
สวรรค,สวรรค-,สวรรค์
หมายถึง[สะหฺวันคะ-, สะหฺวัน] น. โลกของเทวดา, เมืองฟ้า. (ส. สฺวรฺค; ป. สคฺค).
เศวต,เศวต-
หมายถึง[สะเหฺวด, สะเหฺวดตะ-] น. สีขาว. (ส.; ป. เสต).
คัคนางค์
หมายถึง[คักคะนาง] (แบบ) น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + องฺค = ส่วนแห่งฟ้า).
ฉายา
หมายถึง(กลอน; ปาก) น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น ฉายามิใคร่จะจากไป. (มโนห์รา).
ตายลาภ
หมายถึง(แบบ) ว. เป็นลาภแน่ ๆ, หนีไม่พ้น, เช่น นางนี้ดีร้ายตายลาภเรา. (มณีพิชัย).
ทศม,ทศม-
หมายถึง[ทะสะมะ-, ทดสะมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน = วันที่ ๑๐. (ส.).
สมานฉันท์
หมายถึง[สะมานะ-, สะหฺมานนะ-] น. ความพอใจร่วมกัน, ความเห็นพ้องกัน, เช่น มีความเห็นเป็นสมานฉันท์. (ป. สมาน + ฉนฺท).