ตัวกรองผลการค้นหา
โจงกระเบน
หมายถึงก. ม้วนชายผ้านุ่งแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว, เรียกวิธีนุ่งผ้าเช่นนั้นว่า นุ่งผ้าโจงกระเบน.
ฉีก
หมายถึงก. ขาดแยกออกจากกันหรือทำให้ขาดหรือแยกออกจากกัน เช่น ผ้าฉีก ฉีกผ้า ฉีกทุเรียน, โดยปริยายหมายความว่า แยกสิ่งที่เป็นคู่หรือเป็นสำรับออกจากกัน เช่น ฉีกตองไพ่.
เชิง
หมายถึงน. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงเทียน เชิงเขา เชิงกำแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ยื่นออกมา เช่น เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่น เชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น.
บังสุกุล
หมายถึงน. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปำสุกูล).
กรองทอง
หมายถึงน. ผ้าโปร่งอันทอหรือถักด้วยเส้นลวดทองหรือไหมทอง.
เข้าถ้ำ
หมายถึงน. ชื่อตะเข็บเย็บผ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งเย็บซ่อนตะเข็บไว้ข้างใน.
บริขารโจล
หมายถึง[-โจน] (แบบ) น. ท่อนผ้าสำหรับใช้สอยเล็กน้อย, ใช้ว่า บริขารโจฬ ก็มี. (ป.).
ลายไม้
หมายถึงน. ลายอย่างลายไม้ของผ้าม่วงหรือแพรเกิดเพราะทออัดแน่น.
วัตถาภรณ์,วัตถาลังการ
หมายถึงน. เครื่องประดับคือผ้า. (ป. วตฺถ + อาภรณ, วตฺถ + อลงฺการ).
สาฎก
หมายถึง[สาดก] น. ผ้า. (ป. สาฏก; ส. ศาฏก).
จีวร,จีวร-
หมายถึง[จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสำหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคำว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้าทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคำว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).
ขึงอูด
หมายถึงก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.