ตัวกรองผลการค้นหา
สัมภาระ
หมายถึง[สำพาระ] น. สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และเสบียงซึ่งสะสมรวบรวมหรือจัดเตรียมไว้เพื่อภาระต่าง ๆ เช่น เตรียมสัมภาระสำหรับไปต่างจังหวัด; การเกื้อหนุน, การเลี้ยงดู. (ป., ส.).
มหันต,มหันต-,มหันต์
หมายถึง[มะหันตะ-, มะหัน] ว. ใหญ่, มาก, เช่น โทษมหันต์. (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์อื่น เป็น มห บ้าง มหา บ้าง เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก, มหาชน คือ ชนจำนวนมาก). (ป.).
เสียโฉม
หมายถึงก. มีตำหนิตามร่างกายโดยเฉพาะที่ใบหน้า ทำให้ความงามลดลง เช่น เธอประสบอุบัติเหตุ ถูกกระจกบาดหน้า เลยเสียโฉม, โดยปริยายใช้แก่สิ่งของที่มีตำหนิ เช่น แจกันใบนี้ปากบิ่นไปหน่อย เลยเสียโฉม.
โฉบ
หมายถึงก. โผลงมาคว้าเอาสิ่งของไป (ใช้แก่นก) เช่น กาโฉบลูกไก่, ฉวยเอาไปอย่างรวดเร็ว เช่น เด็กโฉบมะม่วงนอกรั้วไปเสียแล้ว; เจตนาไปที่ใดที่หนึ่ง เช่น โฉบไปหน้าโรงเรียน.
ดักษณะ
หมายถึง[ดักสะนะ] (แบบ) น. เครื่องตัดและกรางสิ่งของ มีมีด พร้า บุ้ง ตะไบ เป็นต้น; การตัด, การปอก, การทอน; ตัวหารเฉพาะ (วิชาเลข). (ส. ตกฺษณ; ป. ตจฺฉน).
อม
หมายถึงก. เอาสิ่งของใส่ปากแล้วหุบปากไว้ไม่กลืนลงไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่แสดงออกมา เช่น อมภูมิ; กลมกลืน, ปนกัน, เช่น อมเปรี้ยวอมหวาน เขียวอมเหลือง; (ปาก) เม้ม, ขมิบ, ยักเอาไว้.
เงี่ยง
หมายถึงน. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร.
หุง
หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทำให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.
ทัด
หมายถึงก. เอาสิ่งของหรือดอกไม้เหน็บหูตรงบริเวณที่เรียกว่า ทัดดอกไม้. น. เรียกทรงผมผู้หญิงที่มีผมยื่นยาวทั้ง ๒ ข้างจอนผมสำหรับทัดหูว่า ผมทัด.
กล่อง
หมายถึง[กฺล่อง] น. ภาชนะใส่สิ่งของรูปกลมหรือเหลี่ยมมีฝาปิด, สิ่งที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สำหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กล่องไม้ขีดไฟ, กลักไม้ขีดไฟ ก็เรียก.
ด่าง
หมายถึงน. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สำหรับทำยาและกัดสิ่งของ; (วิทยา) สารประกอบจำพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลายนํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.
หัว
หมายถึงน. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์; ส่วนของพืชพันธุ์บางอย่างตอนที่อยู่ใต้ดิน เช่น หัวหอม หัวผักกาด, ส่วนที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เป็นที่เกิดต้นอ่อน; ส่วนเริ่มต้นที่เป็นวงของตัวหนังสือ; ส่วนแห่งสิ่งของบางอย่างที่อยู่ข้างหน้า หรือข้างต้น หรือแรกเริ่ม เรียกว่า หัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น หัวเรือ หัวถนน หัวที; ช่วงแรกเริ่มของเวลา เช่น หัวปี หัววัน หัวคํ่า หัวดึก; ส่วนแห่งสิ่งของที่เป็นยอด เช่น หัวฝี, ส่วนแห่งสิ่งของที่ยื่นเด่นออกไป เช่น หัวแหลม หัวสะพาน; ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย; ส่วนที่ตรงข้ามกับหางหรือท้าย เช่น หัวแถวหางแถว หัวเรือ, ส่วนที่ตรงข้ามกับ ก้น ในความว่า หัวหวานก้นเปรี้ยว; ส่วนที่เป็นแก่นสาร เช่น หัวยา หัวเหล้า.